เรื่อง: การเพิ่มประสิทธิภาพในการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการแก้ไขปัญหาบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ ตามหลักมนุษยชน,(วปอ.10290)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พันตำรวจตรี สุริยา สิงหกมล,(วปอ. 10290)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
เร่ือง การเพิ่มประสิทธิภาพในการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
ในการแก้ปัญหาบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ ตามหลักสิทธิมนุษยชน
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย พันตำรวจตรี สุริยา สิงหกมล หลักสูตร วปอ. รุน่ที่ ๖๖
แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566 - 2570) ประกอบด้วย แผน
สิทธิมนุษยชนรายด้าน 5 ด้าน และแผนสิทธิมนุษยชนรายกลุ่ม เปราะบาง จำนวน 11 กลุ่ม โดย
เป้าหมาย คือ “การละเมิดสิทธิมนุษยชนลดลงทุกด้านและทุกกลุ่ม” และมีวัตถุประสงค์ของแผน
“เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิของประชาชนโดยไม่เลือกปฏิบัติ คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สร้าง
สังคมที่ตระหนักถึงการเคารพสิทธิมนุษยชน อย่างยั่งยืน” สำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแผนปฏิบัติ
การของกรมสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2566 – 2570 สรุปสาระสำคัญพอสังเขปดังต่อไปนี้ แผนสิทธิ
มนุษยชนด้านกระบวนการยุติธรรม กำหนดให้มีการส่งเสริมธรรมาภิบาลให้กับหน่วยงานใน
กระบวนการยุติธรรม ให้ความรู้ด้านกระบวนการยุติธรรมแก่เจ้าหน้าที่และประชาชน แผนสิทธิ
มนุษยชนกลุ่มผู้เสียหาย พยาน และเหยื่อของกระบวนการยุติธรรม มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาการเข้าถึง
สิทธิการช่วยเหลือการไม่ได้รับสัญชาติไทยหรือได้รับการพิจารณาสัญชาติไทยล่าช้า ทำให้คนไร้รัฐไร้
สัญชาติ ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน อันเป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำให้เกิดขึ้น การละเลยต่อ
สิทธิของคนไร้รัฐไร้สัญชาติไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อตัวบุคคลเท่านั้น ยังส่งผลกระทบต่อสภาพ
สังคมโดยรวม จึงเป็นที่มาของการดำเนินโครงการวิจัย เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในการบูรณาการ
ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการแก้ปัญหาบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ ตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยมี
วัตถุประสงค์ ๑) เพ่ือศึกษาสภาพปัญหาในการแก้ปัญหาบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติให้ได้รับความช่วยเหลือ
ตามหลักสิทธิมนุษยชน ๒) เพ่ือวิเคราะห์แนวทางการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการ
แก้ปัญหาบุคคลไร้ร ัฐไร้สัญชาติให้ได้ร ับความช่วยเหลือตามหลักสิทธิมนุษยชน ๓) เพื ่อเพ่ิม
ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติและสำรวจความพึงพอใจของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ในการแก้ปัญหาบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติให้ได้รับความช่วยเหลือตามหลักสิทธิมนุษยชน ๔) เพื่อเสนอ
แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติและสำรวจความพึงพอใจของผู้มี
ส่วนได้ส่วนเสียในการแก้ปัญหาบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติให้ได้รับความช่วยเหลือตามหลักสิทธิมนุษยชน
ซึ่งผลการวิจัย สามารถดำเนินการได้ตามกรอบระยะเวลากระบวนการพิจารณาสัญชาติให้เสร็จสิ้น
ภายในระยะเวลารวม 97 วัน ติดตามผลลัพธ์จากการดำเนินการได้ เนื่องจาก สำนักทะเบียน กรมการ
ปกครอง กรมสอบสวนคดีพิเศษ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ NGOs มีการปรึกษาหารือ ประสานงาน ติดตาม
ผลการดำเนินการอยู่ตลอดเวลา การตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรม (DNA) เพื่อพิสูจน์ความสัมพันธ์
เกี่ยวข้องทางหลักสายโลหิต มีความถูกต้องน่าเชื่อ ร้อยละ 100 และผลการประเมินระดับความพึง
พอใจและความเชื่อมั่นของผู้รับบริการต่อการดำเนินงานของโครงการอำนวยความเป็นธรรมด้านความ
มั่นคง กรมสอบสวนคดีพิเศษโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 96.40
ก
abstract:
Abstract
Title Increasing the Efficiency of Integrating Cooperation between Agencies
in solving the problem of stateless individuals in accordance with
the principles of human rights.
Field Social - Psychology
Name Police Lieutenant Colonel Suriya Singhakamol Course NDC Class 66
The 5th National Human Rights Plan (2023 - 2027) includes 5 aspects of Human Rights plans and
11 vulnerable groups plans. The goal is "to reduce human rights violations in all aspects and groups" and
the objective of the plan is "to protect the rights of the people without discrimination, taking human dignity
into account, create a society that is aware of and respect for human rights in a sustainable way. For issues
related to the action plan of the Department of Special Investigation 2023 – 2027, the following is a brief
summary: The Human Rights Plan on Justice stipulates that good governance should be promoted for all
agencies in the judicial process and providing knowledge about the justice process to officials and the
public on human rights for victims, witnesses, and victims of the justice process. Another focus is on solving
the problem of having access to the right to get assisted for seeking Thai’s citizenship or even a prolong
delay in Thai’s citizenship application, resulting in stateless status, which give no access to basic rights, which
in turn creates inequality. Neglect of the rights of stateless people does not only affect individuals, but also
affects the overall social condition, hence, the start of this research project on increasing efficiency in
integrating cooperation between agencies in solving the problem of stateless persons in line with human
rights principles. The objectives are 1) To study the problem of stateless persons in receiving assistance in
accordance with human rights principles. 2) To analyze approaches in integrating cooperation between
agencies for stateless persons in receiving assistance in accordance with human rights principles. 3) To
increase the efficiency in solving the problem of stateless persons and to survey the satisfaction of
stakeholders in this matters according to human rights principles. 4) To propose ways to increase efficiency
in solving the problem of stateless persons and to survey the satisfaction of stakeholders in this matters in
accordance with human rights principles. The results were: the citizenship process can be completed within
a total period of 97 days, the process can be track down because Department of Administrative Affairs, The
Department of Special Investigation, Institute of Forensic Sciences and NGOs, have corroborated and
coordinated among themselves. DNA testing to prove relationships is 100% accurate. And the results of the
assessment of the level of satisfaction and confidence of service received in this DSI’s project as a whole
and in each field was at the highest interval of 96.40%.
ข