Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการทหารตามนโยบายรัฐบาล กรณีศึกษาข้าราชการในสังกัดกองทัพอากาศ,(วปอ.10289)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาวาอากาศเอก สุรัตน์ มณีวงศ์วิจิตร,(วปอ. 10289)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการทหาร กรณีศึกษาข้าราชการ ในสังกัดกองทัพอากาศ ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลอากาศตรี สุรัตน์ มณีวงศ์วิจิตร หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๖ การวิจัยเรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการทหาร กรณีศึกษาข้าราชการ ในสังกัดกองทัพอากาศเพ่ือศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนข้าราชการที่มีหนี้สินจำแนกตามประเภทต่าง ๆ เช่น ปริมาณหนี้สิน ระดับชั้นยศรายได้ ประเภทเจ้าหนี้ ศึกษาสาเหตุของหนี้สินแต่ละบุคคล แต่ละ ประเภท ศึกษาการใช้หลักธรรมอริยสัจ ๔ ในการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ศึกษาการนำหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการให้ความรู้และอบรมเพื่อการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน และเสนอแนะแนวทาง สำหรับใช้ในการแก้ปัญหาหนี้สินของข้าราชการทหารอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน กลุ่มตัวอย่างท่ีใช้ใน งานวิจัยคือข้าราชการสังกัดกองทัพอากาศจำแนกเป็นผู้ที่มีเงินเดือนคงรับสุทธิต่อเดือนต่ำกว่าร้อยละ ๓๐ จำนวน ๘,๖๙๖ คน และผู้ที่เงินเดือนคงรับสุทธิต่ำกว่า ๙,๐๐๐ บาท จำนวน ๑๒,๕๗๖ คน โดยใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดแนวทางในการหาแนวทางแก้ไขปัญหา หนี้สินข้าราชการ โดยใช้เกณฑ์การรับเงินเดือนสุทธิของข้าราชการและการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้ แนวคำถามท่ีกำหนด ข้อมูลที่ผู้วิจัยรวบรวมได้นั้นจะนำมาวิเคราะห์แบบเชิงคุณภาพ โดยการนำเสนอ แบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าข้าราชการสังกัดกองทัพอากาศได้รับเงินเดือนสุทธิต่ำกว่าร้อยละ ๓๐ ร้อยละ ๒๓.๕๖ ของข้าราชการทั้งหมด และไม่เกิน ๙,๐๐๐ บาท ร้อยละ ๓๔.๐๘ ของข้าราชการทั้งหมด ซึ ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการชั ้นต่ำกว่าสัญญาบัตรทั ้งสองประเภท มีปัจจัยด้านชั ้นยศ ตำแหน่ง สถานภาพและรายรับเฉลี่ยต่อเดือนที่เป็นปัจจัยในการมีภาระหนี้สินของข้าราชการ โดยมีเจ้าหนี้ คือ หนี้นอกระบบ หนี้สหกรณ์ หนี้สถาบันการเงิน และหนี้กองทุนต่าง ๆ ซึ่งสามารถวิเคราะห์หาแนวทาง การแก้ไขปัญหาหนี้สินด้วยความจำเป็นต้องให้รัฐบาลเป็นคนกลางเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ให้เป็นไป ตามเป้าหมายที่รัฐบาลได้วางไว้ ทั้งนี้ให้ผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่กำกับดูแลสนับสนุนการประกอบ อาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้พร้อมทั้งให้ความรู้ด้านบริหารเงินและปลูกฝังวินัยการออม และเพิ่มช่อง ทางการทำธุรกรรมการกู้ผ่านแอปพลิเคชั่นเพื่อลดอัตราค่าธรรมเนียมและเพ่ิมความน่าเชื่อถือ

abstract:

ข Abstract Title Guidelines for Solving Military Personnel Debt Issues: A Case Study of Royal Thai Air Force Personnel Field Militaly Name Air Vice Marshal Surat Maneewongwijitr Course NDC Class 66 This research addresses guidelines for solving the debt issues of military personnel according to government policies, focusing on a case study of personnel within the Royal Thai Air Force (RTAF). The study aims to investigate the number of indebted personnel, categorized by various factors such as debt amount, rank, income, and type of creditor. It also examines the causes of individual debts, the application of the Four Noble Truths in debt resolution, and the utilization of the Sufficiency Economy Philosophy to educate and train for sustainable living. Furthermore, the research proposes practical and sustainable solutions for addressing military personnel debt issues. The research sample comprises RTAF personnel, devided into two groups: those with a net monthly salary below 30% of their gross salary (8,696 individuals) and those with a net salary below 9,000 THB (12,576 individuals). Data collection was conducted using questionnaires. The determination of debt resolution strategies involved criteria based on personnel’s net salary and in-depth interviews guided by predetermined questions. The collected data were qualitatively analyzed and presented descriptively. The findings reveal that 23.56% of RTAF personnel have a net salary below 30% of their gross salary, while 34.08% have a net salary not exceeding 9,000 THB. The majority of these individuals are non-commissioned officers in both salary categories. Additionally, factors such as rank, position, status, and average monthly income significantly influence debt burdens. The types of debt among these personnel include informal debt, cooperative loans, financial institution loans, and various fund loans. The analysis suggests that debt resolution strategies could involve the government acting as an intermediary to negotiate with creditors, in alignment with government- set objectives. Moreover, supervisors should oversee and support supplementary occupations to increase income, provide financial management education, instill saving discipline, and enhance loan transaction processes via applications to reduce fees and increase reliability.