Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางรางของประเทศไทยเพื่อรองรับผลกระทบจากรถไฟความเร็วสูง ไทย-ลาว-จีน,(วปอ.10285)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย สุเมธ บุญบรรดารสุข,(วปอ. 10285)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง แนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางรางของประเทศไทยเพื่อรองรับ ผลกระทบจากรถไฟความเร็วสูงไทย-ลาว-จีน ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นายสุเมธ บุญบรรดารสุข หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66 งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพ่ือศึกษาที่มาและความสำคัญ ของรถไฟความเร็วสูงไทย-ลาว-จีน และความเชื่อมโยงของข้อริเริ่ม หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง กับการพัฒนา รถไฟความเร็วสูง รวมถึง ความเชื่อมโยงของนโยบายและการตอบสนองของประเทศไทย 2) ศึกษา เปรียบเทียบ ผลกระทบ/ความเสี่ยง/ภัยคุกคาม ที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมรถไฟความเร็วสูง ไทย-ลาว- จีน ในประเทศอ่ืน ๆ ในภูมิภาคและในประเทศไทย รวมถึงแนวทางของต่างประเทศในการรับมือ ผลกระทบต่าง ๆ ที่สามารถนำมาปรับใช้ในประเทศไทย และ 3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาระบบ โลจิสติกส์ทางรางของประเทศไทยเพื่อรองรับผลกระทบจากรถไฟความเร็วสูงไทย-ลาว-จีน การวิจัยนี้เป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมุ่งเน้นศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 ท่าน โดยใช้เครื่องมือคือ แบบสัมภาษณ์ ซึ่งผลการวิจัย พบว่า 1) ความเชื่อมโยงของข้อริเริ่ม หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง และรถไฟความเร็วสูงไทย-ลาว-จีน มีที่มาจากความพยายามของจีนในการใช้เส้นทางสาย ไหมในอดีตมาเป็นยุทธศาสตร์การดำเนินนโยบายระหว่างประเทศเพ่ือทำให้จีนกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง โดย ความเชื่อมโยงของนโยบายดังกล่าวกับนโยบายของอาเซียน คือ แผนความเชื่อมโยงอาเซียน และ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติของไทยในด้านการสร้างความขีดสามารถในการแข่งขัน 2) จากการศึกษา บทเรียนของต่างประเทศและแนวทางการปรับใช้ในประเทศไทย มีปัจจัยสนับสนุนการดำเนินการ ได้แก่ นโยบายภายในประเทศของไทยที่ส่งเสริมการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและคมนาคม โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมทางรางให้เป็นระบบขนส่งหลักและสอดคล้องกับนโยบาย ระหว่างประเทศในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ โดยเฉพาะในเรื่องของ ข้อตกลงความเชื่อมโยงระหว่างประเทศ กฎหมายและพิธีการตรวจปล่อยสินค้า การบูรณาการระบบ การขนส่ง รวมถึงการลดความเสี่ยงจากการลงทุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 3) แนวทางการพัฒนา ระบบโลจิสติกส์ทางรางของประเทศไทย เพ่ือรองรับผลกระทบจากรถไฟความเร็วสูงไทย -ลาว-จีน ได้แก่ แผนเร่งด่วน ควรมีการดำเนินการเจรจาระดับรัฐบาลระหว่างไทย ลาว และจีน เพ่ือทำข้อตกลงในการ เชื่อมโยงระบบการขนส่งทางรางที่ชัดเจน การเร่งการศึกษารูปแบบสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ให้แล้ว เสร็จ การพัฒนาย่านสถานีหนองคายเป็นพ้ืนที่เปลี่ยนถ่ายสินค้าให้รองรับการขนส่งผ่านสะพานและเป็น พ้ืนที่ตรวจปล่อยสินค้าระหว่างประเทศและการเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่ราง การพัฒนาสถานีรถไฟนาทา รองรับการขนส่งทางรางจังหวัดหนองคาย สำหรับแผนระยะกลางและระยะยาว ควรลดระยะเวลาการ พัฒนาการเชื่อมโยงการขนส่งทางราง ระหว่างไทย -ลาว-จีน เร่งรัดพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ ช่วง ขอนแก่น – หนองคาย พัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานสำหรับการขนส่งสินค้าหรือการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้า ภูมิภาค พัฒนาท่าเรือบก รวมถึงบูรณาการพัฒนาและเชื่อมต่อการขนส่งทางรางภายในประเทศ เชื่อมโยง การขนส่งผู้โดยสารและสินค้าแบบไร้รอยต่อ เพ่ือส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว

abstract:

ข Abstract Title The Guidelines for Developing Rail Logistics System to Accommodate the Impact of the Thai-Laos-China High-Speed Rail Field Economics Name Mr. Sumet Boonbandansook Course NDC Class 66 This research has 3 primary purposes: 1) to study the origin and significance of the Thailand-Laos-China high-speed rail project and its connection to the Belt and Road Initiative (BRI), as well as examining the policy linkages and responses of Thailand; 2) to compare the impacts, risks, and threats arising from the activities of the Thailand-Laos- China high-speed rail project in other countries in the region and in Thailand, as well as exploring international approaches for managing these impacts and how they can be adapted for use in Thailand; and 3) to provide recommendation for developing Thailand’s rail logistics system to mitigate the impacts of the high-speed rail project. This qualitative research focuses on the study of relevant concepts. In-depth interviews were conducted with 5 key informants using interview questionnaires as tools. The results revealed that 1) the linkage between the BRI and the Thailand-Laos-China high-speed rail originated from the Chinese attempt to revive the ancient Silk Road route as a strategic policy to enhance China’s influence in becoming a global superpower. The BRI aligns with ASEAN’s Connectivity Plan and Thailand’s National Strategy for enhancing competitiveness. 2) From the study on foreign lessons and possibility of adaptation in Thailand, key supporting factors are Thailand’s domestic policies which promote investment in transportation infrastructure, aligning with international regional policies. However, there are still challenges and obstacles especially international agreements on connectivity; laws, and customs clearance procedures; integration of transport systems; and the mitigation of investment risks on infrastructure. 3) Recommended approaches in developing Thailand’s rail logistics system: for a short-term plan, government-level negotiations among Thailand, Laos, and China should be established to achieve clear agreements on rail transport connectivity. The study of the new Mekong River bridge model should be accelerated. The Nong Khai station area should be developed as a transshipment hub for cross-border freight and customs clearance. The Na Tha station in Nong Khai province should be developed to support rail transport. For mid-term and long-term plans, the timeline for rail transport connectivity between Thailand, Laos, and China should be reduced. The double-track railway project from Khon Kaen to Nong Khai should be accelerated. Freight transport infrastructure, including regional freight stations and dry ports should be developed. In addition, domestic rail transport development for seamless passenger and freight connectivity should be integrated to promote trade, investment, and tourism.