Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการบริหารจัดการต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ,(วปอ.10283)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาง สุพร ตรีนรินทร์,(วปอ. 10283)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง แนวทางการบริหารจัดการโครงการต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นางสุพร ตรีนรินทร์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๖ การศึกษาครั้งนี้มุ่งนำเสนอให้เห็นความสำคัญของแนวทางการบริหารจัดการโครงการต่อ ยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อเป็นตัวแบบต่อยอดการพัฒนาด้านอื่น ๆ ตามแนว พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครอบคลุมตั้งแต่ “ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ” โดยมีโครงการต่อยอดจากโครงการร่องสักร่องขุยอันเนื ่องมาจากพระราชดำริ ตำบลบ้านปิน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา เป็นโครงการนำร่องในพ้ืนที่ภาคเหนือ ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนในพื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่กลางน้ำ มีความพอใจมากขึ้น เมื่อ เปรียบเทียบกับก่อนมีโครงการ มีค่าเฉลี่ย ๓.๖๒ ส่วนพื้นที่ปลายน้ำ พบว่า โครงการฯ ยังไม่ได้รับ ประโยชน์โดยตรงจากการต่อยอดอาชีพสร้างรายได้ เนื่องจากเป็นโครงการฯ พัฒนาในระยะแรก ๆ การบริหารจัดการน้ำในแต่ละฤดูกาลที่ส่งผลโดยตรงต่อพื้นที่ปลายน้ำซึ่งมีบริเวณกว้างกว่าขอบเขต พื้นที่โครงการฯ อีกทั้งส่วนใหญ่เป็นการฝึกอบรม ถ่ายทอดองค์ความรู้เป็นหลัก แต่ยังไม่มุ่งเน้นการสร้าง ทางเลือกและรายได้ให้กับประชาชนโดยตรง ซึ่งต้องมีการสนับสนุนด้านการส่งเสริมอาชีพและสามารถ สร้างโอกาสให้สอดคล้องกับลักษณะทางภูมิสังคมของชุมชน นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาด การมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการฯ ส่วนด้านนโยบายและการกำหนดทิศทางการขับเคลื ่อน โครงการฯ ต้องเพิ่มมิติความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการพัฒนาโครงการ โดยประชาชน ชุมชนมีความพร้อมที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการฯ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งทั้งพื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่กลางน้ำ และพื้นที่ปลายน้ำ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ แก่ประชาชนได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน และทำให้มีกลุ่มอาชีพมีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการพัฒนาให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น มีช่องทางในการจำหนา่ย ผลิตภัณฑ์ทั้งในชุมชนและนอกชุมชน แต่อย่างไรก็ตาม ควรนำหลักวงจรบริหารคุณภาพ (PDCA) มาใช้ ทบทวนแผนงานและกระบวนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งควรกำหนดขอบเขตการ พัฒนาให้มีความชัดเจน เพ่ือนำไปสู่การสร้างประโยชน์อย่างกว้างขวางมากขึ้นตามแนวพระราชดำริ ต่อไป คำสำคัญ : พระราชดำริ , โครงการต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ , วงจรบริหาร คุณภาพ (PDCA) , ต้นน้ำ , กลางน้ำ , ปลายน้ำ

abstract:

ข Abstract Title Management Guidelines for Further Development Projects from Royal Initiatives Feild Economics Name Suporn Treenarin Course NDC Class 66 This study aims to present the importance of project management guidelines for further development projects from Royal Initiatives. These serve as models for further development in various sectors following the Royal Initiatives of His Majesty King Bhumibol Adulyadej ( King Rama IX), and His Majesty King Maha Vajiralongkorn Bodindradebayavarangkun ( King Rama X), covering from "headwaters, midstream, to downstream" the projects have expanded from the original Rongsak- Rong Khui Reservoir projects initiated from royal inspiration in Ban Pin Subdistrict, Dok Khamtai District, Phayao Province. The results of this study have shown that communities in the headwaters and midstream areas are increasingly satisfied compared to pre - projects, averaging 3.62. In the downstream areas, since the projects have just derived, they have not yet directly led to significantly improved livelihoods and incomes. Water resource management in each season has a direct impact on the downstream areas, which is wider than the project areas. The projects mostly are trainings and knowledge transfers, which not yet directly led to alternative ways to generate incomes. Alternative careers should be promoted and opportunities created in accordance with social landscape and context. A majority of residents still lack participation in project implementation. In terms of policy and direction-setting for these projects, there is a need to enhance cooperation across all sectors including government, private, and public parties in project development. Communities are ready to participate in project development to strengthen headwaters, midstream, and downstream areas, in order to maximize benefits for residents. This includes sustaining natural resources and developing community products with added value, facilitating both local and external distribution. Nevertheless, it's crucial to apply the Plan-Do-Check-Act (PDCA) cycle to review plans and processes according to current circumstances and clearly define development boundaries for broader benefits aligned with the Royal Initiatives in the future. Keywords : Royal Initiatives; Further Development Projects; Plan-Do-Check-Act (PDCA); Headwaters; Midstream; Downstream