เรื่อง: แนวทางการพัฒนาหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายของประเทศไทยเพื่อรองรับภัยก่อการร้ายรูปแบบใหม่,(วปอ.10281)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทหาร/Military
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พันเอก สุเทพ เขียวภักดี,(วปอ. 10281)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เร่ือง แนวทางการพัฒนาหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายของประเทศไทย เพื่อรองรับ
ภัยก่อการร้ายรูปแบบใหม่
ลักษณะวิชา การทหาร
ผู้วิจัย พลตรี สุเทพ เขียวภักดี หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
จากความก้าวหน้าอาวุธยุทโธปกรณ์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และการคมนาคม ทำให้ภัยก่อ
การร้ายนอกจากจะมีความรุนแรงสร้างความเสียหายได้มากขึ้นแล้ว ยังทำให้การการบ่มเพาะแนวคิด
สุดโต่งสามารถแพร่กระจายได้เป็นวงกว้างมากขึ้น ส่งผลให้การก่อการร้ายมิได้เป็นเรื่องของกลุ่ม หรือ
องค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่คนทั่วไปภายในประเทศ ก็สามารถกระทำการก่อการร้ายได้เช่นกัน ซึ่งเป็นสิ่ง
ที่ยากต่อการควบคุมและป้องกัน สำหรับประเทศไทยแม้จะมีความเสี่ยงจากภัยก่อการร้ายในระดับ
ปานกลาง แต่ด้วยลักษณะภัยก่อการร้ายที่มีลักษณะไร้พรมแดน สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายถึงกันด้วย
เทคโนโลยีการสื่อสารและการคมนาคม จึงเป็นสิ่งที่หน่วยต่อต้านการก่อการร้ายของประเทศไทย
ต้องเตรียมความพร้อมรองรับภัยก่อการร้ายรูปแบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา
ผลการศึกษาพบว่าแนวทางการพัฒนาหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายของประเทศไทย
ประกอบด้วย 1) การพัฒนากำลังพลและงานด้านการบริหารกำลังพล ทั้งด้านร่างกาย องค์ความรู้
และสุขภาพจิต 2) การพัฒนาแผนงานและงบประมาณควรเป็นสิ่งที่หน่วยต้องคิดใหม่ ทำใหม่ ให้
สอดคล้องกับสถานการณ์ 3) การจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ ระบบเทคโนโลยี และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
ให้ทันสมัยและเพียงพอ รวมทั้งบูรณาการจัดหาร่วมกันระหว่างหน่วยงาน 4) การบริหารจัดการองค์กรให้
มีแผนงานที่ชัดเจน มีการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถ
เปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้เท่าที ่จำเป็น และสลายวัฒนธรรมหน่วยงานราชการแบบเดิม ๆ ที่เป็น
อุปสรรคต่อการพัฒนาหน่วย 5) การพัฒนางานด้านการฝึกที่ตอบสนองต่อภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เน้น
การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และขยายกรอบความร่วมมือในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง
ใต้พลัส 6) ผลักดันให้มีการพัฒนาและปรับปรุงแผนที่เกี ่ยวข้องกับการต่อต้านการก่อการร้ายใน
ระดับชาติ กองทัพไทย และระดับจังหวัด สำหรับในส่วนของรัฐบาลและหน่วยงานด้านความมั่นคง
ควรส่งเสริมลงทุนในการพัฒนาการสร้างนวัตกรรมการป้องกันและการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย
และควรผลักดันร่างพระราชบัญญัติต่อต้านการก่อการร้ายให้เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อให้เกิดความ
ชัดเจนและเป็นรูปธรรมในการรับมือกับการก่อการร้าย และควรผลักดันให้เกิดการปฏิรูปหน่วยงาน
ด้านความมั่นคงที่เกี ่ยวข้องกับการต่อต้านการก่อการร้ายทั้งทหาร ตำรวจ พลเรือน เพื่อให้เกิด
ศูนย์กลางของงานด้านการรับมือกับภัยก่อการร้ายรูปแบบใหม่
abstract:
ข
Abstract
Title Development Guidelines for Thailand’s Counter-Terrorism Units
in Preparation for New Forms of Terrorism Threats
Field Military
Researcher Major General Suthep Khiewpakdee Course NDC Class 66
Modernized arms and materiel, advanced communication technology and
improved transportation not only intensify the level of damage caused by terrorism,
but also help spread extremism at broader scale as well. With those mentioned factors,
terrorism is not the act of one single group or organization. Indeed, anyone can carry
out the act of terrorism, making the threat even more difficult to control and prevent.
Thailand may be placed at moderate risk from terrorism, but the country’s counter-
terrorism units need to be aware of the borderless nature of terrorism and the
connection between networks made possible by communication technology and
transportation. Therefore, they need to be on alert to tackle new types of terrorism
treats with efficient measures.
The research finds that development guidelines for Thailand’s counter-
terrorism units consist of: 1) Manpower development and management in regards to
physical form, knowledge, and mental health; 2) Improvement of work plans and
budget that requires the unit’s fresh, new outlook corresponding to circumstances; 3)
Adequate procurement of modern arms, materiel, technology and system, and related
devices as well as integrated sourcing among units; 4) Organizational management that
generates clear work plans, cooperation with domestic and international agencies
along with information-sharing when necessary and removal of stale culture in
governmental agencies that obstructs development; 5) Improved trainings that
respond to new forms of threats and focus on contribution from all sectors as well as
expanded cooperation at ASEAN plus, and 6) Promoted development and
improvement of counter-terrorism plans at national, Armed Forces, and provincial
levels. The Government and security agencies meanwhile should promote and invest
in advanced innovation to prevent and solve terrorism issues. Also, Counter-Terrorism
ค
Act should be considered and implemented, which will bring clarity and integrity when
dealing with terrorism. Moreover, reform needs to be put in place for military, police,
and civilian security agencies tasked with counter-terrorism to generate centrality when
facing new forms of terrorism threats.