เรื่อง: การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณของกองทัพอากาศ,(วปอ.10275)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทหาร/Military
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลอากาศตรี สีฆโชค ชาญนำสิน,(วปอ. 10275)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เร่ือง การเพ่ิมประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณของกองทัพอากาศ
ลักษณะวิชา การทหาร
ผู้วิจัย พลอากาศตรี สีฆโชค ชาญนำสิน หลักสูตร วปอ. รุน่ที่ ๖๖
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือรวบรวมข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการบริหาร
งบประมาณของกองทัพอากาศ และนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาข้อขัดข้องและส่งผล
กระทบต่อประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณ เพ่ือเสนอแนะแนวทางการเพ่ิมประสิทธิภาพ
การบริหารงบประมาณของกองทัพอากาศ โดยศึกษาตามกรอบแนวทางของระบบประมาณ
แบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ เพ่ือจัดทำเป็นข้อเสนอแนะแนวทางการเพ่ิมประสิทธิภาพ
การบริหารงบประมาณเฉพาะที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการภายในของกองทัพอากาศ ทั้งนี้ได้กำหนด
ขอบเขตของการวิจัยเป็นการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากสถิติที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหาร
งบประมาณของกองทัพอากาศ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๖๕ จากระบบ New GFMIS Thai
การวิจัยนี้ใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาและรวบรวมข้อมูล
จากแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร และหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตาม
ยุทธศาสตร์ ควบคู่กับการศึกษากระบวนการบริหารจัดการงบประมาณของกองทัพอากาศ กฎหมาย
ระเบียบ และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนการรวบรวมข้อมูลสถิติที่เก่ียวกับประสิทธิภาพการบริหาร
งบประมาณ ทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนเปรียบเทียบกับมาตรการเพ่ิมประสิทธิภาพการใช้จ่าย
งบประมาณที่รัฐบาลกำหนด อีกทั้งการสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ
กองทัพอากาศเพ่ือจะนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุและเสนอแนะแนวทางการเพ่ิมประสิทธิภาพการบริหาร
งบประมาณของกองทัพอากาศ ผลการวิจัยพบว่ากองทัพอากาศมีผลการเบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมาย
ที่ภาครัฐกำหนดทุกปีงบประมาณ ส่งผลให้มีการขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีในแต่ละปีงบประมาณเป็น
จำนวนมาก อีกทั้งไม่สามารถเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณดังกล่าวได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ทำให้
งบประมาณถูกพับไป และเนื่องจากยังมีภาระผูกพันที่ต้องจ่ายชำระให้แก่บริษัทคู่สัญญาจึงต้องใช้
งบประมาณปีถัดไปในการแก้ปัญหาซึ่งเป็นการสูญเสียงบประมาณที่ซ้ำซ้อนและไม่มีประสิทธิภาพ
โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากการลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างที่ล่าช้าและต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการนาน
และจากผลการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องสรุปว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นการเตรียมการ ขั้นการจัดซื้อจัดจ้าง
และขั้นการบริหารสัญญาท้ายที่สุด ผู้วิจัยได้สรุปผลการวิจัยเพ่ือเสนอแนะแนวทางการเพ่ิมประสิทธิภาพ
การบริหารงบประมาณของกองทัพอากาศ ทั้งประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างจากผลการสัมภาษณ์
ผู้เกี่ยวข้องและประเด็นสำคัญอ่ืนจากการใช้หลักวิชาการตามแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์
ความสัมพันธ์ของกระบวนการงบประมาณ และระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์
พร้อมทั้งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ และข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
abstract:
ข
Abstract
Title Optimizing the RTAF’s budget management
Field Military
Name Air Vice Marshal Sikhachok Channumsin Course NDC Class 66
The purpose of this research is to collect statistical data related to the
efficiency of the RTAF's budget management and analyze the causes of problems that
affect budget management efficiency. The study follows the framework of the
Strategic Performance - Based Budgeting System (SPBB). To prepare recommendations for
optimizing the RTAF’s budget management. Specific area related to the internal management
of the RTAF. The scope of the research has been determined to study and analyze
data from statistics related to the efficiency of the RTAF's budget management during
the fiscal year 2018 - 2022 from the New GFMIS Thai system. This research uses the
method of conducting qualitative research by studying and collecting data from concepts,
theories, documents, and evidence related to the SPBB. Along with studying the budget
management process of the RTAF, laws, regulations, and related research results,
as well as the collection of statistical data related to the efficiency of budget management,
both recurrent and investment expenditure, compared with the measures to increase the
efficiency of budget expenditure set by the government. In addition, interviews with
experienced officers from relevant agencies of the RTAF will be used to analyze the
causes and make suggestions for optimizing the RTAF's budget management. The results of
the research indicate that the RTAF has disbursement results lower than the target set
by the government every fiscal year. As a result, there are a large number of requests
for budgets to be withdrawn in staggered years each fiscal year. In addition, the budget
cannot be disbursed within the specified period. And because there is an obligation
to pay the contractor, the next fiscal year's budget must be used to solve the problem.
This is a redundant and inefficient budget loss. The main reason was the delay in signing the
contract and the long processing time. According to the results of interviews, the
problem arises not only during the preparatory stage but also during the procurement
and contract management stages. Finally, the researcher summarized the results to
suggest guidelines for optimizing the budget management of the RTAF. The issues related
to procurement from the results of interviews and other academic principles based on
relevant concepts in analyzing the relationship between the budget process and the SPBB.
As well as policy suggestions, practical suggestions, and suggestions for the next research