Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: กลไกการสร้างมาตรฐานการศึกษาทางทหาร,(วปอ.10273)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาวาอากาศเอก สาดิศย์ พริ้งประยูร,(วปอ. 10273)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง กลไกการสร้างมาตรฐานการศึกษาทางทหาร ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย นาวาอากาศเอก สาดิศย์ พริ้งประยูร หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๖ งานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งศึกษาปัญหา อุปสรรค กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องในการ ขับเคลื่อนกลไกการสร้างมาตรฐานการศึกษาทางทหารของกระทรวงกลาโหม ศึกษาเปรียบเทียบ มาตรฐานการอุดมศึกษากับในการสร้างมาตรฐานการศึกษาทางทหารของกระทรวงกลาโหม และเพ่ือ เสนอแนะแนวทางในการใช้กลไกสร้างมาตรฐานการศึกษาทางทหารของกระทรวงกลาโหม การวิจัย ครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ศึกษาเฉพาะ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระดับปริญญาโทขึ้นไปของกระทรวงกลาโหมเท่านั้น ได้แก่ หลักสูตร ศิลปศาตรมหาบัณฑิต (ความมั ่นคงศึกษา) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ เกี่ยวข้องกับ การขับเคลื่อนกลไกการสร้างมาตรฐานการศึกษาทางทหารของกระทรวงกลาโหม จำนวน ๖ นาย เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ โดยสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ ๑. ปัญหา อุปสรรค กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนกลไกการสร้าง มาตรฐานการศึกษาทางทหารของกระทรวงกลาโหม เกิดจากสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผล กระทบต่อการจัดการศึกษาของกองทัพ ทั้งในเรื่องของเนื้อหาที่บริบทของความมั่นคงเปลี่ยนแปลง รูปแบบไปอย่างรวดเร็ว ในเรื่องของผู้ เรียนที่ลดน้อยลงจากปัญหาประชากรที่ลดลง เรื่องของ เทคโนโลยีที่ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น และอาจจะส่งผลกระทบต่อทักษะในการคิดวิเคราะห์ การจัดการเรื่องมาตรฐานการศึกษาจะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ในปัจจุบัน การจัดการ ศึกษาในระดับอุดมศึกษาดำเนินการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ดำเนินการ โดยสำนักการศึกษาทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศรับทราบ และหากเป็นการสอนที่ต้องมีการ อนุมัติปริญญาบัตร อาจจำเป็นต้องมีการปรับเกณฑ์ให้สอดคล้องกับระเบียบในการประกันคุณภาพ การศึกษาของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ๒. เปรียบเทียบมาตรฐานการอุดมศึกษากับในการสร้างมาตรฐานการศึกษาทางทหาร ของกระทรวงกลาโหม ตามมาตรฐานการอุดมศึกษาโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานการประเมินคุณภาพ ภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) กับ มาตรฐานการศึกษาทางทหารของกระทรวงกลาโหม ที่ออกโดยสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ พบว่า มีไม่สอดคล้องใน ๖ ประเด็น ได้แก่ ประเด็นเรื่องมาตรฐานหลักสูตรและผู้เรียน ต้องทำการ ทดสอบภาษาอังกฤษในการเข้ารับการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ประเด็นเรื่อง อาจารย์และนักศึกษา ข ควรมีสัดส่วนผลงานวิจัยและผลงานสร้างสรรค์ที่มีการอ้างอิงจากวารสาร วิชาการที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ประเด็นการได้รับรางวัลหรือทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอกในระดับชาติ หรือนานาชาติ ประเด็นเรื่อง สัดส่วนผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่มีสิ่งประดิษฐ์คิดค้นที่ตอบโจทย์การ พัฒนาประเทศ ประเด็นเรื่อง สัดส่วนผลงานวิจัยทีม่ีการจดสิทธิบัตร และประเด็นเรื่อง ผลการประเมิน การบริการวิชาการแบบเฉพาะ โดยคณะกรรมการวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา ๓. แนวทางในการใช้กลไกสร้างมาตรฐานการศึกษาทางทหารของกระทรวงกลาโหม ควรมีการดำเนินการตามกลยุทธ์พลิกตัว เพ่ือพัฒนากลไกการสร้างมาตรฐานการศึกษาทางทหารให้ สอดคล้องกับสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาภายนอก โดยหน่วยงานสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ จะ เป็นต้องมีการปรับตัว ในเรื่องการวางแผน ควรพัฒนาระบบแผนงานให้ชัดเจน ในเรื่องโครงสร้าง องค์การ พิจารณาจัดจั้งหน่วยหน่วยงานด้านการศึกษาทางทหารให้เป็นหน่วยงานในระดับกลาโหม เพ่ือดำเนินการในเรื่องมาตรฐานการศึกษาทางทหารเป็นไปตามมาตรฐานระดับอุดมศึกษา ในเรื่องการ ควบคุมกำกับดูแล ควรมีการทบทวนระบบประกันคุณภาพ ให้สอดคล้องกับนโยบายให้สอดคล้องกับ นโยบายคุณภาพการศึกษาที่เปลี่ยนแปลง และในเรื่องทรัพยากรทีเกี่ยวข้อง ด้านผู้สอนควรสนับสนุน ในเรื่องการทำวิจัย และกำหนดให้อาจารย์ต้องทำวิทยฐานะเพ่ือเป็นการพัฒนาบุคลากร ในเรื่องของ ผู้เรียน ควรมีมาตรฐานในการมีผลสอบภาษาอังกฤษ เพ่ือให้เป็นมาตรฐานต่อไป

abstract:

ค Abstract Title Mechanism for Establishing Military Education Standards Field Military Name Group Captain Sadit Pringprayoon Course NDC Class 66 This research aims to study the problems, obstacles, rules, regulations, and related directives in driving the mechanism for establishing military education standards under the Ministry of Defense. It compares the standards of higher education with those of military education standards established by the Ministry of Defense and proposes guidelines for using mechanisms to create military education standards for the Ministry of Defense. This research is qualitative, utilizing document analysis and in-depth interviews, focusing solely on educational institutions that offer postgraduate education under the Ministry of Defense, specifically the Master of Arts in Security Studies program. Key informants include six experts involved in driving the mechanism for establishing military education standards under the Ministry of Defense. The data collection tool was an interview form, and the research findings are summarized as follows: 1. Problems, obstacles, rules, regulations, and related directives in driving the mechanism for establishing military education standards under the Ministry of Defense arise from changing environments affecting the military's educational management. This includes rapidly changing security contexts, declining student numbers due to a decreasing population, and technology that facilitates easy access to information but may impact analytical thinking skills. Managing education standards is seen as a way to address these issues. Currently, higher education management follows the National Education Act of 1999, overseen by the Military Education Office, with the National Defense Studies Institute being aware. If the program requires degree certification, it may need to adjust criteria to align with higher education quality assurance regulations. ง 2. Comparing university education standards with the military education standards established by the Ministry of Defense, using the external quality assessment criteria of the Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization), reveals inconsistencies in six areas: curriculum and student standards requiring English proficiency tests for graduate studies; faculty and student research and creative work citations in published academic journals; receiving awards or research grants from national or international external agencies; research and innovation proportions leading to new inventions addressing national development; research with registered patents; and specific academic service evaluation results by the higher education institution's academic committee. 3. Recommendations for using mechanisms to establish military education standards for the Ministry of Defense include implementing transformation strategies to align military education mechanisms with external higher education institutions. The National Defense Studies Institute should adjust in planning by developing a clear planning system. In organizational structure, it should consider establishing a military education unit at the Ministry of Defense level to ensure military education standards meet higher education standards. In control and supervision, it should review the quality assurance system to align with evolving education quality policies. Regarding resources, faculty should be supported in research endeavors and required to attain academic ranks to develop personnel. For students, there should be a standard English proficiency test to maintain consistent standards.