เรื่อง: การพัฒนาการกำกับดูแลโดยภาคเอกชน (Private regulator) ด้วยการดำเนินคดีแบบกลุ่ม (Class action),(วปอ.10265)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย สรวิศ ลิมปรังษี,(วปอ. 10265)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การพัฒนาการดำเนินคดีแบบกลุ่ม (Class Action) เพื่อเป็นเครื่องมือ
การกำกับดูแลโดยภาคเอกชน (Private Regulator)
ลักษณะวิชา การเมือง
ผู้วิจัย นายสรวิศ ลิมปรังษ ี หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๖
การกระทำหลายประการที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อประชาชนและสังคมโดยรวม
แต่ผู้กระทำอาจไม่ได้รับการลงโทษหรือต้องแสดงความรับผิดชอบในการชดใช้เยียวยาให้แก่บรรดา
ผู้ที่ได้รับผลกระทบเหล่านั้น เนื่องจากการกำกับดูแลโดยหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบอาจทำได้
จำกัดด้วยเหตุที่มีภารกิจที่ต้องรับผิดชอบหลายด้านและมีทรัพยากรและบุคลากรที่จำกัด ทำให้ผู้ที่
กระทำการอันก่อให้เกิดผลกระทบเหล่านั้นหลุดพ้นจากความรับผิดไป เป็นเหตุให้ในอนาคตเมื่อเกิด
เหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันอีก บุคคลเหล่านี้ก็อาจกระทำการในลักษณะเดิมที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
เน่ืองจากไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น
การให้บุคคลที่ก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต้องแสดงความรับผิดชอบนั้น
ตามปกติย่อมต้องอาศัยกลไกทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การดำเนินคดีแบบกลุ่มเป็นการดำเนินคดี
รูปแบบหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำสามารถได้รับการชดใช้เยียวยาได้โดยที่
ไม่จำเป็นต้องให้บรรดาผู้ที่ได้รับผลกระทบจำนวนมากนั้นต้องดำเนินการต่าง ๆ ด้วยตนเองทุกคน
แต่เพียงให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งทำหน้าที่เสมือนตัวแทนเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่ก่อให้เกิดความ
เสียหายนั้น ผลของคดีที่เกิดขึ้นจะได้แก่บรรดาผู้ที่ได้รับผลกระทบที่เป็นสมาชิกกลุ่มด้ วยกันทั้งหมด
ทำให้สามารถประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และลดทอนความยุ่งยากของการดำเนินการที่อาจต้องทำ
ซ้ำซ้อนกันหากให้แต่ละคนดำเนินการเรียกร้องด้วยตนเอง
อย่างไรก็ตาม การดำเนินคดีแบบกลุ่มตามที่เป็นอยู ่ในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดหลาย
ประการที่ทำให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบไม่สามารถใช้ประโยชน์จากกลไกนี้ได้เต็มที่ เช่น การขาดความรู้
ความเข้าใจ กระบวนการบางอย่างเช่น การประกาศและการแจ้งข้อมูลต่อสมาชิกกลุ ่มทำได้
ยากลำบากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก
ผลจากการศึกษาจึงทำให้เห็นว่า หากสามารถปรับปรุงกลไกการดำเนินคดีแบบกลุ่ม
หลาย ๆ ประการได้ จะทำให้การดำเนินคดีแบบกลุ่มสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นใน
การกำกับดูแลให้ผู้ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต้องแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำของต้น การปรับปรุง
ที่อาจทำได้ เช่น การปรับเปลี่ยนการบังคับให้การประกาศแจ้งข้อมูลกระบวนพิจารณาที่สำคัญต้องทำ
ด้วยการประกาศทางหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลาย การสร้างศูนย์กลางข้อมูลคดีแบบกลุ่มในระบบออนไลน์
ที่จะทำให้สมาชิกเข้าถึงได้ง่าย กำหนดกฎเกณฑ์การให้องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคสามารถฟ้องร้อง
ดำเนินคดีแบบกลุ่มได้ การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่มให้แพร่หลาย
ยิ่งข้ึน และการจัดทำคู่มือหรือแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีแบบกลุ่ม
abstract:
ข
Abstract
Title The Development of Class Action Proceedings to Fulfill the Roles
of Private Regulators
Field Politics
Name Mr.Sorawit Limparangsri Course NDC Class 66
There are many incidents that have occurred, but those who caused the
incidents in the first place can avoid any accountability and responsibility for the impacts
and damage arising therefrom. Those affected thereby have no redress and have to
live with the consequences all by themselves. Such unfortunate scenarios occur due
to, in part, the overloaded work and the under-resources of the relevant governmental
agencies that are supposed to regulate these incidents. This lack and avoidance of
accountability results in the repetition of similar incidents in the future, because those
who caused the incidents and did not have to bear any responsibility will take the same
cause of action.
Bringing those who caused the impacts and damage to justice and making
them bear the responsibility ordinarily need proper legal mechanisms. Class action is
one of those legal mechanisms that provides an opportunity for those affected to
obtain proper redress without the need for everyone affected to take action by
themselves. Instead, it requires just a few representatives to act on behalf of the affected
individuals to take a legal action against who caused the incidents. The outcome of
the legal action can benefit all members of the affected class. Under this regime, time,
costs and complexities will be saved because there is no need of repetition of proceedings
that would have occurred if each class member had pursued their own legal action.
However, class action as it stands today still has several limitations that
restrict the chances and opportunities of those affected in obtaining their legal redress.
For example, the lack of understanding in pursuing class action, the unnecessary costs,
expenses and complexities from some procedures required by the laws such as
announcement for class members.
From the study, it is found that the class action mechanism can be
improved in several aspects that may enable it to work to its full potential and play
the role of private regulatory regime more effectively. This improvement will bring those
who caused impacts and damage to justice and make them bear the responsibility.
The improvements that can be made are, for example, the change of the means to
inform class members from newspaper announcements to some centralized online
platforms that are more easily accessible, the procedures for consumer protection
societies to initiate class action on behalf of consumers, the promotion of knowledge
and understanding in class action, the preparation of court bench book, manuals and
guidelines that provides clearer paths for class action.