เรื่อง: แนวทางการพัฒนาระบบการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนในฐานะผู้เสียหาย,(วปอ.10259)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย สมชาย ทองสีมัน,(วปอ. 10259)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เร่ือง แนวทางการพัฒนาระบบการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
เพ่ือคุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชนในฐานะผู้เสียหาย
ลักษณะวิชา การเมือง
ผู้วิจัย นายสมชาย ทองสีมัน หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 3 ประการ คือ 1) เพ่ือศึกษาแนวคิดและ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นผู้เสียหายของไทยในปัจจุบัน 2)
เพ่ือศึกษาปัญหาและผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในฐานะผู้เสียหาย และ 3) เพ่ือเสนอแนวทางการ
พัฒนาระบบการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพ่ือคุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชนในฐานะ
ผู้เสียหาย วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย
รวมจำนวน 20 ราย เครื่องมือในการวิจัยเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การพรรณนา
ความตามวัตถุประสงค์การวิจัย
ผลการวิจัย
1. แนวคิดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชนในฐานะ
ผู้เสียหาย พบว่า การดำเนินคดีอาญาของประเทศไทยในปัจจุบันมีทั้งการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐและ
โดยผู้เสียหาย สำหรับประเภทของการดำเนินคดีอาญา แบ่งเป็น หลักการดำเนินคดีอาญากับหลักการ
ดำเนินคดีอาญาที่เก่ียวข้องกับเด็กและเยาวชนในฐานะผู้กระทำความผิด
2. ผลการศึกษาปัญหาและผลกระทบต่อเด็กหรือเยาวชนในฐานะผู้เสียหาย พบว่า
มีประเด็นที่สำคัญ 4 ประเด็น 1) ปัญหาความไม่ชัดเจน ไม่ครอบคลุม และไม่เหมาะสมเกี่ยวกับ
การสอบปากคำเด็กในคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา 133 ทวิ และ
มาตรา 134/2 2) ปัญหาความไม่ชัดเจนในบทบาทหน้าที่ของนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์และ
พนักงานอัยการในการสอบปากคำเด็กในชั้นสอบสวน 3) ปัญหาการขาดการสื่อสารให้กับผู้เสียหาย
ที่เป็นเด็กรวมทั้งครอบครัวของผู้เสียหายที่เป็นเด็ก ให้ทราบถึงสิทธิก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการ
ยุติธรรม รวมถึงภายหลังเมื่อสิ้นสุดกระบวนการยุติธรรม และ 4) ปัญหาและผลกระทบต่อเด็กและ
เยาวชนในฐานะผู้เสียหายในคดีฉ้อโกง เนื่องจากตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่า
ทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 มีการจำกัดประเภทคดีไว้โดยไม่ครอบคลุมถึง
ความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งทำให้เด็กและเยาวชนที่เป็นผู้เสียหายจะไม่ได้รับความคุ้มครองและไม่ได้รับการ
ชดเชยตามกฎหมายดังกล่าว
3. แนวทางการพัฒนาระบบการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพื่อคุ้มครอง
สิทธิของเด็กและเยาวชนในฐานะผู้เสียหาย พบว่า มี 3 แนวทางหลัก คือ 1) ด้านสิทธิและการ
คุ้มครองเด็กและครอบครัวของเด็กในฐานะผู้เสียหายในคดีอาญา 2) ด้านการดำเนินงานของกลุ่ม
สหวิชาชีพในการสอบปากคำเด็ก และ 3) ด้านพัฒนาศูนย์ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือแนะนำผู้เสียหาย
เพ่ือให้ผู้เสียหายได้รับคำแนะนำในเรื่องสิทธิและประโยชน์ที่ผู้เสียหายพึงจะได้รับ
abstract:
ค
Abstract
Title Guidelines for developing the criminal justice system to protect the
rights of children and youth as victims
Field Politics
Name Mr. Somchai Thongsriman Course NDC Class 66
The three objectives of this research were 1) to study concepts and laws
related to protecting the rights of children and youth who are victims in Thailand
today; 2) to study problems and impacts on children and youth as victims; 3) to
propose guidelines for developing a criminal justice system to protect the rights of
children and youth as victims. The research method is qualitative research by
collecting data from a total of 20 key informants. The research tool used was in-
depth interviews. The data were analyzed using a description of the research
objectives.
Research results
1. The result of the study of the concepts and laws related to
protecting the rights of children and youth who are victims in Thailand today
found that It was found that criminal proceedings in Thailand at present include both
criminal proceedings by the state and by victims. The types of criminal proceedings
are divided into principles of criminal proceedings and principles of criminal
proceedings involving children and youth as offenders.
2. The result of the study of problems and impacts on children and
youth as victims found that there are 4 important issues: 1) the problem of unclear,
not comprehensive, and inappropriate information regarding the interrogation of
children in criminal cases according to the Criminal Procedure Code, Section 133 bis,
and Section 134/2; 2) the problem of unclearness in the role and duties of
Psychologists or social workers and prosecutors in questioning children during the
investigation; 3) the problem of the lack of communication to child victims as well as
families of child victims about their rights before entering the justice process,
including after the justice process ends; and 4) the problem and impact on children
and youth as victims of fraud cases. This is because according to the Act on
Compensation for Victims and Compensation and Expenses for Defendants in
Criminal Cases, B.E. 2001, there is a restriction on the types of cases that do not
cover fraud offenses, which means that children and youth who are victims will not
be protected, and will not receive compensation according to the aforementioned law.
ง
3. The Proposed Guidelines for developing the criminal justice
system to protect the rights of children and youth as victims are found to have 3
main approaches: 1) the rights and protection of children and their families as victims
of criminal cases; 2) the operational aspects of a multidisciplinary group for
interrogating children; and 3) developing a counseling and assistance center for
victims so that victims can receive advice on the rights and benefits that victims
should receive.