Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านบริหารจัดการชายแดนด้านความมั่นคง พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ในบริบทของกองทัพไทย ภายใต้กลไกกองอำนวยการปฏิบัตินโยบายชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (กอ.นชท.),(วปอ.10257)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พันเอก สมเจตน์ บุญเลี้ยง,(วปอ. 10257)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านบริหารจัดการชายแดนด้าน ความมั่นคง พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ ในบริบทของกองทัพไทย ภายใต้กลไก กองอำนวยการปฏิบัตินโยบายชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (กอ.นชท.) ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลตร ีสมเจตน์ บุญเล้ียง หลักสูตร วปอ. รุ่นท่ี ๖๖ การศึกษาเรื่อง “แนวทางการขับเคล่ือนแผนปฏิบัติการด้านบริหารจัดการชายแดนด้าน ความมั่นคง พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ ในบริบทของกองทัพไทย ภายใต้กลไกกองอำนวยการปฏิบัติ นโยบายชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (กอ.นชท.)” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาที่มี ผลกระทบต่อการขับเคล่ือนแผนปฏิบัติการด้านบริหารจัดการชายแดนด้านความมั่นคง พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ ด้านแนวทางการดำเนินงานท่ี ๑ การพัฒนาระบบป้องกันพื้นท่ีชายแดน และศึกษาโมเดลหรือรูปแบบ ที่เหมาะสม ในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านบริหารจัดการชายแดนด้านความมั่นคง พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ ด้านแนวทางการดำเนินงานที่ ๑ การพัฒนาระบบป้องกันพื้นที่ชายแดน ผ่านกลไกกองอำนวยการ ปฏิบัตินโยบายชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (กอ.นชท.) โดยขอบเขตการวิจัยประกอบด้วย ๑) ขอบเขตด้านเนื้อหา ได้ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคท่ีมีผลกระทบต่อการขับเคล่ือนแผนปฏิบัติการ ด้านบริหารจัดการชายแดนด้านความมั่นคงในระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) รวมท้ังโมเดลหรือรูปแบบ ท่ีเหมาะสมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และการขับเคล่ือนแผนปฏิบัติการฯ ๒) ขอบเขตผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงในกองทัพไทยและฝ่ายอํานวยการหลัก รวมทั้งผู้แทนส่วนราชการ ทั้งในระดับนโยบายและหน่วยงานในพื้นที่ชายแดน โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาแนวทางการขับเคล่ือนแผนปฏิบัติการด้านบริหารจัดการชายแดน ด้านความมั่นคง แนวทางการดำเนินการท่ี ๑ ของกองบัญชาการกองทัพไทย และศึกษาบริบทการบูรณาการ งานความมั่นคงชายแดนที่ผ่านมา เพื่อนํามาวิเคราะห์และสังเคราะห์ ปัญหา/อุปสรรค ที่มีผลต่อการ ขับเคล่ือนแนวทางฯและการบูรณาการงานความมั่นคงชายแดนรวมถึงค้นหาปัจจัยแห่งความสําเร็จ ผลการศึกษาพบว่า บริบทความสัมพันธ์ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านของแต่ละประเทศมี ปัจจัยหลายประการท่ีมีผลต่อการบูรณาการงานความมั่นคงชายแดน และนโยบายด้านต่าง ๆ ท่ีเกี่ยวข้อง มีส่วนสำคัญในการกำหนดแนวทางการดำเนินความสัมพันธ์ของไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านในแต่ละ ประเทศ และการบูรณาการการปฏิบัติงานด้านความมั่นคงหลายหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง ต้องกำหนดให้แต่ ละหน่วยงานมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน มีการอำนวยการ ประสานงานอย่างประสาน สอดคล้องเพิ่มมากขึ้น ในส่วนปัญหาและอุปสรรค พบว่า ปัญหาการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ การ รับรู ้และความเข้าใจของส่วนราชการ กรอบทิศทางและแนวทางการขับเคลื่อนมีความซ้ำซ้อน ตลอดจนการโยกย้ายสับเปล่ียนเจ้าหน้าท่ีผู้ปฏิบัติงานเกิดความไม่ต่อเนื่องของการเรียนรู้งาน และการ ประสานงานระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ โดยปัจจัยความสำเร็จนั้นมาจากการปรับเปลี่ยนทิศทางการ วางนโยบายและแผนการขับเคลื่อนของส่วนราชการในสายงาน กอ.นชท. การประเมินสถานการณ์ ข และแนวโน้มความเสี่ยง โดยให้หน่วยงานในพื้นที่สามารถประเมินขีดความสามารถของการแก้ไข ปัญหาในระดับพื้นท่ีตน พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพความมั่นคงของจังหวัดให้สามารถบริหารจัดการ ความเสี่ยงภัยคุกคามทุกรูปแบบได้อย่างทันท่วงที และการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นความ มั่นคงที่มีผลกระทบและความเสี่ยงสูงจากบริบทและสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกพื้นท่ี ชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน สำหรับข้อเสนอที่ได้จากการวิจัย แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑) ข้อเสนอแนะเชิง นโยบาย รัฐบาลไทยควรดำเนินนโยบายความมั่นคงชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งการ ดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านไปอย่างควบคู่กัน โดยมิแยกประเด็นใดประเด็นหนึ่ง และ ดำเนินการอย่างประสานสอดคล้อง กองทัพไทยให้การสนับสนุนการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับ ประเทศเพื่อนบ้านตามกลไกความร่วมมือในทุกช่องทางและทุกระดับโดยใช้การทูตฝ่ายทหารร่วมใน การขับเคล่ือนและควรมีส่วนรวมในการพัฒนาและปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ให้สอดคล้อง กับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ชายแดน ๒) ข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติการ ควรพัฒนาองค์ ความรู้และทักษะท่ีเกี่ยวข้องของเจ้าหน้าท่ีผู้ปฏิบัติ การสร้างเครือข่ายเจ้าหน้าท่ี ตลอดจนเครื่องมือใน การปฏิบัติและระบบกระบวนการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลง และ ๓) ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาแนวทางในการบูรณาการงานความมั่นคงชายแดน ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อการรับมือกับความท้าทายด้านภัยคุกคามด้านความมั่นคงใน อนาคต ทั้งในลักษณะของภัยคุกคามรูปแบบใหม่ และในลักษณะของ Hybrid Treats มีการศึกษา แนวทางการจัดทำแผนการปฏิบัติโดยกำหนดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบงานความมั่นคง ชายแดน ทั้งในฐานะหน่วยงานหลักหรือหน่วยงานสนับสนุน และมีการศึกษาแนวทางการสร้างการ รับรู้ และการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้าใจในบริบทการกำหนดนโยบายด้ายความมั่นคงของไทยกับ ประเทศเพื่อนบ้าน

abstract:

ค Abstract Title Guidelines for Driving the Operational Plan for Border Management in Security, 2023 - 2027, in the Context of the Royal Thai Armed Forces under the Mechanism of the Implementation of Border Policy with Neighboring Countries Command (IBPNCC) Field Military Name MAJ GEN Somjate Boonlieng Course NDC Class 66 The research study on “Guidelines for Driving the Operational Plan for Border Management in Security, 2023 - 2027, in the Context of the Royal Thai Armed Forces under the Mechanism of the Implementation of Border Policy with Neighboring Countries Command (IBPNCC)” aims to investigate the problems affecting the implementation of the border management operational plan for security, 2023 - 2027. The first objective is to develop a border area defense system and study appropriate models for driving the operational plan through the mechanism of the IBPNCC The research scope includes 1) Content scope: It examines the problems and obstacles impacting the implementation of the border management operational plan over a five-year period (2023 - 2027), including appropriate models for resolving these issues and advancing the operational plan. 2) Key informants: High-level executives in the Thai Armed Forces, principal directors, and representatives from government agencies at both the policy level and border area agencies. This qualitative research studies the guidelines for driving the border management operational plan for security, the first operational direction of the Royal Thai Armed Forces, and examines the integration context of past border security work to analyze and synthesize the problems/obstacles affecting the guidelines and border security integration work, including identifying success factors. The study found that the contextual relationships between Thailand and its neighboring countries involve several factors affecting the integration of border security work and related policies. These factors significantly determine Thailand's approach to its relationships with each neighboring country and the integration of security operations among multiple relevant agencies. Each agency must have a clear role in problem-solving, with enhanced coordination and alignment. Regarding problems and obstacles, the study identified issues in translating policy into practice, the awareness and understanding of government agencies, overlapping frameworks ง and guidelines, and the discontinuity caused by frequent personnel changes. Effective coordination between various government agencies is also a challenge. Success factors include adjusting policy directions and implementation plans within the Implementation of Border Policy with Neighboring Countries Command (IBPNCC), assessing situations and risk trends, enabling local agencies to evaluate their capacity to address problems, enhancing provincial security capabilities to manage threats promptly, and prioritizing high-impact and high-risk security issues based on internal and external contexts at the Thai border. The study provides recommendations divided into three groups: 1) Policy Recommendations: The Thai government should integrate border security policies with neighboring countries and maintain a coordinated approach in relations with these countries. The Royal Thai Armed Forces should support relationship-building through cooperation mechanisms at all levels, utilizing military diplomacy, and participate in developing and revising laws and regulations to align with border operations. 2) Operational Recommendations: It is necessary to develop relevant knowledge and skills for operational staff, create a network of officers, and provide suitable tools and processes adaptable to changing conditions. 3) Recommendations for Future Research: Future studies should focus on integrating Thailand's border security with neighboring countries to address future security challenges, including new threat forms and hybrid threats. Research should also explore the development of operational plans by assigning responsible agencies and enhancing awareness and participation to foster understanding of Thailand's security policy context with neighboring countries.