เรื่อง: แนวทางการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการดักจับและการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture, Utilization, and Storage : CUS) ในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศอย่างยั่งยืน,(วปอ.10254)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย ศุภลักษณ์ พาฬอนุรักษ์,(วปอ. 10254)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการดักจับ และการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage: CCS) ในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศอย่างยั่งยืน
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นายศุภลักษณ์ พาฬอนุรักษ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
โครงการวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการดักจับ และการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage: CCS) ในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาเทคโนโลยี CCS ในประเทศไทย เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065 ในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างยั่งยืน โดยมีการดาเนินการศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) และข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) จากผลการศึกษาและการทบทวนวรรณกรรมจากต่างประเทศในทุก ๆ มิติของการพัฒนาเทคโนโลยี CCS และการสัมภาษณ์ผู้บริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่จะวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของผลการพัฒนาเทคโนโลยี CCS ในประเทศไทย รวมถึงจัดทาสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในแนวทางการพัฒนา CCS ในประเทศไทย เพื่อปิดช่องว่างและความท้าทายในมิติต่าง ๆ และหาแนวทางที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยสามารถวิเคราะห์ปัจจัยสาคัญที่ทาให้การพัฒนาด้าน CCS ประสบความสาเร็จ
จากการศึกษาพบว่าแนวทางการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี CCS เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศไทยอย่างยั่งยืน ประเทศไทยมีความจาเป็นต้องมีความชัดเจนในด้านกฎหมายในการกากับดูแล รวมถึงหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการดาเนินการด้าน CCS อย่างจริงจัง เพื่อให้สามารถดาเนินการในเรื่องดังกล่าวได้อย่างทันท่วงทีภายหลังจากได้รับมอบภารกิจจากรัฐบาล และควรมีการส่งเสริมด้านนโยบายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนในเทคโนโลยี CCS เพื่อผลักดันให้เกิดโครงการนาร่องด้าน CCS จึงควรเร่งผลักดันการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี CCS ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลและมีประสิทธิภาพสูงในการจัดการ CO2 เพื่อสอดรับกับนโยบายการมุ่งสู่เศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่า และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมไปถึงกาหนดแนวทางในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานสู่ความยั่งยืน
ก
abstract:
Abstract
Title Guidelines for Developing and Implementing Carbon Capture and Storage (CCS) Technology in Energy Transition for Sustainable National Energy Security
Field Science and Technology
Name Mr. Supalak Parn-anurak Course NDC Class 66
This research study on “Guidelines for Developing and Implementing Carbon Capture and Storage (CCS) Technology in Energy Transition for Sustainable National Energy Security” The objective of this research is to study and analyze the problems and obstacles in the development of CCS technology in Thailand. The goal is to help Thailand achieve carbon neutrality and Net-Zero greenhouse gas emissions by 2065, supporting a sustainable energy transition. The study involves collecting primary data and secondary data from foreign studies and literature reviews on all dimensions of CCS technology development, as well as interviewing executives of relevant agencies. This will allow for a comprehensive analysis of the issues and challenges in the development of CCS technology in Thailand and lead to policy recommendations for closing gaps and addressing challenges in various dimensions, aiming for solutions that suit the context of Thailand. Key factors contributing to successful CCS development will also be analyzed.
The study found that for the sustainable energy security of Thailand through CCS technology, it is essential to have clear regulations and a dedicated authority responsible for CCS operations. This will ensure timely actions upon receiving directives from the government. Additionally, there is a lack of policy support related to incentives for investing in CCS technology. To drive the implementation of CCS pilot projects, it is necessary to promote CCS technology, which is internationally recognized and highly effective in managing CO2. This aligns with policies aimed at transitioning to a low-carbon economy and society, achieving climate change management targets, and establishing guidelines for a sustainable energy transition in the near future.
ข