เรื่อง: แนวทางการพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อรองรับสาธารณภัยของกองทัพ,(วปอ.10252)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาว ศิริพร ยอดวานิช,(วปอ. 10252)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เร่ือง แนวทางการพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพ่ือรองรับ
สาธารณภัยของกองทัพ
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นางสาวศิริพร ยอดวานิช หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 ประการ คือ 1) เพ่ือศึกษาแนวโน้มภัย
คุกคามรูปแบบใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเกี่ยวกับสาธารณภัย 2) เพ่ือศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบ
ของสาธารณภัยและพัฒนาการเทคโนโลยีทางทหาร และ 3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพ
ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพ่ือรองรับสาธารณภัยของกองทัพ วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
โดยการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ผู้แทนจากกองทัพไทย (ผู้แทนเหล่าทัพ) ผู้แทนจาก
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และผู้แทนจากภาคเอกชนและประชาชน รวมจำนวน 12 ราย
เครื่องมือในการวิจัยเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การพรรณนาความตามวัตถุประสงค์
การวิจัย
ผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาแนวโน้มภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเกี่ยวกับสาธารณภัย
พบว่า ประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดสาธารณภัยที่มีความถี่และความรุนแรงเพ่ิมมากขึ้น
โดยเฉพาะด้านอุทกภัย และวาตภัย จึงจำเป็นต้องมีการลงทุนเพ่ือการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย
ซึ่งจากการศึกษาบทวิเคราะห์จากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ จะพบว่า หากประเทศ
มีการลงทุนด้านการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย ถ้าเปรียบเทียบก็คิดเป็นลงทุนลดความเสี่ยงเพียง
ร้อยละ 1 จะสามารถป้องกันและลดผลกระทบจากสาธารณภัยได้ถึง 7 เท่า ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการ
ลงทุนเพ่ือลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะระบบการจัดการสาธารณภัยที่ต้องมีความ
เชื่อมโยงทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
2. ผลศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบของการบริหารจัดการสาธารณภัยและพัฒนา
การเทคโนโลยีทางทหาร พบว่า 1) รูปแบบการบริหารจัดการสาธารณภัยของกองทัพไทย มีวงรอบ
การปฏิบัติ 5 ขั้น คือ การป้องกันและการลดผลกระทบ การเตรียมพร้อม การตอบสนองต่อภัยพิบัติ
การฟ้ืนฟูบูรณะ และการพัฒนาประเทศ สำหรับกรณีการพัฒนาการเทคโนโลยีทางทหาร พบว่า
ในปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นสามารถนำมาปรับใช้ได้ในยุค
ปัจจุบัน ได้แก่ 1) เทคโนโลยีสารสนเทศ 5G 2) เทคโนโลยี AI 3) หุ่นยนต์ทางทหาร 4) โดรน (Drones)
5) ระบบไอทีบูรณาการ 6) บล็อกเชน 7) เทคโนโลยีเรียลไทม์ 8) เทคโนโลยี IoT (Internet of
Things) 9) เทคโนโลยี SATCOM 10) ระบบป้องกันการเจาะคอมพิวเตอร์ 11) เทคโนโลยีการสร้างตัวแบบ
และการจำลองภาพสถานการณ์ฉุกเฉิน
3. เสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพ่ือรองรับสาธารณ
ภัยของกองทัพ พบว่า มี 4 แนวทาง ดังนี้ 1) การเพ่ิมความรวดเร็วในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล
2) ใช้ AI มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลและการคาดการณ์เกี่ยวกับภัยพิบัติในอนาคตรวมถึงการจัดการ
ข
ข้อมูลต่าง ๆ ได้ด้วย 3) ใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการสำรวจพ้ืนที่ ค้นหา และปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ภัย
ต่างๆ ที่หวังผลได้อย่างแม่นยำ 4) มีการบูรณาการข้อมูลด้วยระบบไอทีร่วมกับการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม
มาช่วยในการวิเคราะห์พ้ืนที่เกิดเหตุและสร้างตัวแบบและการจำลองภาพสถานการณ์ฉุกเฉินในระบบ
ศูนย์อำนวยการสถานการณ์ฉุกเฉิน (Command, Control, Communication, Computer, Intelligence,
Surveillance, Reconnaissance (C4ISR)) เพ่ือให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการที่ศูนย์ควบคุมและสั่งการ
ในพ้ืนที่ห่างไกลได้ออกคำสั่ง รวมถึงการตัดสินใจต่อการปฏิบัติภารกิจฉุกเฉินให้ทหารที่ปฏิบัติการ
ในพ้ืนที่รับคำสั่งไปปฏิบัติได้ทันที รวมทั้งระบบการสื่อสารข้อมูลในการปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือ
ทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน
abstract:
ค
Abstract
Title Guidelines for developing technological and innovative potential to
support military disasters
Field Science and Technology
Name Miss Siriporn Yodvanich Course NDC Class 66
The three objectives of this research were 1) to study the trend of new
threats that will occur in the future regarding disasters. 2) to study disaster patterns
and military technological development, and 3) to propose guidelines for developing
military technological and innovative potential to support disaster relief. The
research method is qualitative research by collecting information from key
informants consisting of representatives from the Royal Thai Armed Forces,
representatives from the Department of Disaster Prevention and Mitigation, and
representatives from the private sector and the public, totaling 12 people. The
research tool used was in-depth interviews. The data were analyzed using a
description of the research objectives.
Research results
1. The result of the study of the trend of new threats that will occur
in the future regarding disasters found that Thailand is at a high risk of disasters
with increasing frequency and severity, especially in the areas of floods and storms.
Therefore, investment is required for disaster risk reduction. From an analysis from
the United Nations Development Program, it is found that if a country invests in
reducing risk from disasters, if compared to investing in risk reduction of only 1
percent, it will be able to prevent and reduce the impact of disasters up to 7 times,
therefore, an investment is required to reduce the risk of disasters occurring. In
particular, the disaster management system must have connections at both the
policy and practice levels, including participation from all sectors.
2. The result of the study of disaster patterns and military
technological development found that 1) The Royal Thai Armed Forces' disaster
management model has a 5-step operational cycle: prevention and impact
mitigation, preparedness, disaster response, rehabilitation, and national development.
For the case of military technological development, it is found that at present there
are advancements in technology and new innovations that can be applied in the
present era, including (1) 5G information technology, (2) AI Technology, (3) Military
Robots, (4) Drones, (5) Integrated IT Systems, (6) Blockchain Technology, (7) Real-time
ง
Technology, (8) IoT: Internet of Things Technology, (9) SATCOM Technology, (10) Anti-
hacking Systems, and (11) Emergency modeling and visualization technology.
3. The Proposed guidelines for military technological development
and innovation to support disaster relief found that there are 4 approaches as
follows: 1) increasing the speed of communication and information exchange; 2)
using AI to help analyze data and predict future disasters, including managing various
data; 3) using technology to help survey the search area and carry out various rescue
operations; 4) data integration with IT systems along with using satellite images to
help analyze the incident area and create models and simulations of emergencies in
the Emergency Management Center System (Command, Control, Communication,
Computer, Intelligence, Surveillance, Reconnaissance (C4ISR)) so that Commanders at
the Command and Control Center in the remote area can issue orders including
making decisions on emergency missions so that soldiers operating in the area can
receive orders to carry out immediately, as well as data communication systems for
military assistance missions in emergency.