Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การสร้าง Inner Peace Education ให้กับเด็กและเยาวชนเพื่อเสริมสร้าง Soft Power ในการสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน,(วปอ.10247)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการเมือง/Politics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย ศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์,(วปอ. 10247)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง การสร้ าง Inner Peace Education ให้ กั บเด็ กและเยาวชนเพื่ อเสริ มสร้ าง Soft Power ในการสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ลักษณะวิชา การเมือง ผู้วิจัย นายศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66 ระบบการศึกษามีเป้าหมายในการพัฒนาคนในทุกมิติทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่งและ มีความสุขปัจจุบันเด็กและเยาวชนจ านวนมากมีทัศนคติต่อต้านระบบเดิม ทั้งระเบียบกฎเกณฑ์และ ความเชื่อทางการเมือง เกิดความขัดแย้งทางความคิดระหว่างเด็กกับผู้ ใหญ่ โดยงานวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพ่ือวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของความขัดแย้งทางความคิดระหว่างเด็กและเยาวชนกับ ผู้ใหญ่ในสังคมไทย พร้อมเสนอแนวทางสันติวิธี โดยถอดบทเรียนรูปแบบจากไตรสิกขา หรือ Inner Peace Education (IPE) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมทั้งน ารูปแบบ IPE ทดลองใช้ในพ้ืนที่นวัตกรรม การศึกษา (Education Sandbox) ผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพ่ือเสนอแนวทางการสร้างและ ปลูกฝัง Inner Peace Education ให้กับเด็กและเยาวชนเพ่ือเป็นพ้ืนฐานในการเสริมสร้าง Soft Power สนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติเพ่ือการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบ ผสานวิธี (Mixed Methods Research) เชิงคุณภาพ เน้นการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ส่วนเชิงปริมาณ เป็นการทดลองสร้างนิสัยดีผ่าน “ไตรสิกขา” กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัด พระนครศรีอยุธยา แล้วสอบวัดก่อนและหลังโดยใช้แบบสอบวัด 3 ชุด การสังเกต การท า Focus Group และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้แทน “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า ความขัดแย้งทางความคิดของเด็กและเยาวชนเกิดจากสาเหตุ 6 ประการ คือ 1. การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และพฤติกรรมวัยรุ่น 2. การยึดเอาความคิดตนเองเป็น หลัก 3. ความคิดเห็นขัดแย้งทางการเมืองการปกครองและสังคม 4. การบังคับเข้มงวดของผู้ใหญ่ใน กฎระเบียบต่าง ๆ 5. การขาดที่พ่ึงยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และ 6. ความแตกต่างกันของกลุ่มคนที่อยู่ต่าง รุ่นและต่างวัย เมื่อท าการถอดบทเรียนการศึกษาสันติภาพภายใน พบว่า ขั้นแรก ควรสร้างความมีวินัย บนพ้ืนฐานศีล 5 ใช้ “ความดีสากล 5 ประการ” คือ ความสะอาด ความมีระเบียบ ความสุภาพ การตรงต่อเวลา และการมีจิตตั้งมั่น ขั้นที่ 2 ควรปฏิบัติสมาธิ อย่างสม่ าเสมอเป็นกิจวัตรประจ าวัน ขั้นที่ 3 ปัญญา เป็นผลลัพธ์ จากการรักษาศีลและปฏิบัติสมาธิจนเป็นนิสัย ด้วยใจที่ปิติเบิกบาน มีความสุข ส่วนผลการทดลอง พบว่า การสอบวัดนักเรียนกลุ่มทดลองมีการพัฒนาด้านต่าง ๆ สูงกว่ากลุ่มควบคุมทุกด้าน เมื่อสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ทรงคุณวุฒิ “บวร” เพ่ือยืนยันสรุปได้ว่า แนวทางการสร้าง Inner Peace Education ให้กับเด็กและเยาวชน ควรขยายผลผ่านเครือข่าย “บวร” โดยก าหนดนโยบายจากส่วนกลางบูรณาการกับโครงการที่มีอยู่ เช่น ค่ายลูกเสือ และจัดการเรียนรู้เป็น Active Learning เพ่ิมกิจกรรมทางศาสนาสอดแทรกให้เหมาะสมกับ ท้องถิ่น และสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ รัฐบาลควรประกาศนโยบาย “1 ต าบล 2 โรงเรียน 3 ประสานพลัง บวร” ให้เป็นวาระแห่งชาติภายในปี 2567 นี้ เพ่ือให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมพัฒนาเด็กต าบลละ 2 โรงเรียน ด าเนินการขับเคลื่อนในรูปแบบ Public Private Partnership

abstract:

ข Abstract Title Creating Inner Peace Education for children and youths aims to enhance soft power in support of the national strategy for sustainable development. Field Politic Name Mr. Sakchai Peechapat Course NDC Class 66 The educational system aims to develop individuals in all dimensions and at all stages of life to be good, talented, and blissful people. Many children and youths hold attitudes that oppose the traditional system, including its rules, regulations, and political beliefs, leading to conflicts in ideas between the younger and adults generations. This research aims to analyze the problems and causes of these conflicts between youths and adults in Thai society and propose peaceful solution by extracting lessons from the Tri-Sik-Kha or Inner Peace Education models (IPE) , both domestically and internationally. The research also involves testing the IPE model in the Education Sandbox through the participation of all sectors, to propose guidelines for fostering and cultivating Inner Peace Education among children and youths to enhance soft power, supporting the national strategy for sustainable development. This research employs a mixed-methods approach, with a qualitative focus on document research and in-depth interviews. The quantitative aspect involves an experiment to cultivate good habits through " Tri-Sik-Kha" with Grade 8 students in Phra Nakhon Si Ayutthaya province, measuring pre-test and post-test using three sets of tests, observations, focus groups, and in-depth interviews with 3 representatives from the community cooperation, i.e., home, school and temple. The research findings indicate that the ideological conflicts among children and youths stem from six main causes: 1) emotional and behavioral changes in adolescence 2) self-centered thinking 3) conflicting political, governance, and social views, 4) strict enforcement of rules by adults 5) lack of source of emotional support, and 6) generational gap. When extracting lessons from the Inner Peace Education, it was found that the first step should be building discipline based on the Five Precepts by the practice of "Five Universal Goodness practices of cleanliness, orderliness, politeness, punctuality, and concentration. The second step involves practicing meditation on a regular basis. The third step, wisdom, is the result of maintaining the precepts and meditation practice as a daily routine, leading to a joyful and blissful mind. The experimental results showed that the experimental ค group's students demonstrated higher development in various aspects compared to the control group in all areas. In-depth interviews with experts confirmed that the guidelines for fostering Inner Peace Education among children and youths should be expanded through local network by integrating central policies with existing projects , such as boy scout and girl scout camps, adding active learning and religious activities tailored to local contexts, and creating aa active learning ecosystem. The government should announce the policy of "One Subdistrict, Two Schools, Three Harmonized Community Cooperation Forces" as a national agenda by 2024 to engage all sectors in developing two schools per subdistrict in the form of a Public-Private Partnership.