เรื่อง: แนวทางการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนต่อนโยบายการส่งเสริมการเกิดในประเทศไทย,(วปอ.10246)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย ศักดา อัลภาชน์,(วปอ. 10246)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนต่อนโยบายการส่งเสริมการเกิดในประเทศ
ไทย
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย นายแพทย์ศักดา อัลภาชน์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและสถานการณ์การเกิดในประเทศไทย รวมถึงเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมการเกิดในประเทศไทย โดยผู้วิจัยเน้นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง การวิจัยนี้ใช้วิธีการศึกษาแบบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมุ่งเน้นในการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) จากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ และกระบวนการจัดการข้อมูลต่างๆ รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและสังเคราะห์มุมมองของภาคเอกชนที่มีต่อนโยบายการส่งเสริมการเกิดในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างได้ถูกคัดเลือกแบบเจาะจงจานวน 20 คน รวมถึงการศึกษาเอกสารแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบด้วยเพศหญิง 65% และเพศชาย 35% โดยมีอายุระหว่าง 36-55 ปี การลดลงของอัตราการเจริญพันธุ์ในประเทศไทยมีผลกระทบในหลายมิติ เช่น การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ การลดลงของประชากรวัยทางาน ปัจจัยสาคัญที่ส่งผลต่อการมีบุตรประกอบด้วย ปัจจัยด้านทัศนคติและรูปแบบการใช้ชีวิต ปัจจัยด้านสุขภาพ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยด้านสังคม นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2569)ได้กาหนดแนวคิดและหลักการสาคัญเพื่อส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตของประชากรอย่างมีคุณภาพการลดลงของอัตราการเจริญพันธุ์มีผลกระทบทั้งในด้านบุคคล เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจาเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะภาคเอกชนที่มีบทบาทสาคัญในการสนับสนุนนโยบายและการดาเนินงานของภาครัฐ
การวิจัยเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมการเกิดในประเทศไทยดังนี้ 1) การส่งเสริมกิจกรรมในระดับครอบครัว 2) การสร้างความมั่นคงในระดับครัวเรือน3) การสื่อสารและประชาสัมพันธ์การส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพ 4) การสร้างแรงจูงใจ และสวัสดิการเพื่อสนับสนุนการมีบุตร นอกจากนี้ ยังเสนอแนะเชิงนโยบายที่เน้นการสนับสนุนครอบครัวในทุกด้านเพื่อเพิ่มความพร้อมในการมีบุตร และสร้างความมั่นใจให้กับพ่อแม่ในการมีบุตร
abstract:
Abstract
Title Guidelines for Private Sector Participation in the Policy Promoting
Birth in Thailand
Field Social – Psychology
Name Sakda Alapach M.D. Course NDC Class 66
This research aims to study the problems and the birth rate situation in Thailand, as well as propose guidelines for private sector participation in driving policies that promote childbirth. The researcher emphasizes qualitative analysis and in-depth interviews with relevant samples. This study employs a qualitative research methodology, focusing on documentary analysis from secondary sources and data management processes. It also includes in-depth interviews and focus group discussions to gather and synthesize the perspectives of the private sector on policies promoting childbirth in Thailand. A purposive sample of 20 individuals was selected, along with a review of related documents, theories, and research.
The findings indicate that the majority of the sample consisted of 65% females and 35% males, aged between 36-55 years. The decline in Thailand's fertility rate has multifaceted impacts, including an increase in the elderly population and a decrease in the working-age population.Key factors affecting childbirth include attitudes and lifestyles, health, economic, and social factors. The National Reproductive Health Development Policy and Strategy, 2nd Edition (2017-2026), outlines key concepts and principles to promote quality childbirth and population growth. The decline in fertility rates impacts individuals, the economy, and the environment, necessitating the involvement of multiple sectors, particularly the private sector, to support and implement governmental policies effectively.
The research suggests private sector participation guidelines for driving policies that promote childbirth in Thailand as follows: 1) Promoting family-level activities, 2) Establishing household stability, 3) Communicating and publicizing quality childbirth promotion, and 4) Creating incentives and welfare to support childbirth. Additionally, it recommends policies focused on supporting families in all aspects to enhance readiness for childbirth and instill confidence in parents.