Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: ปัญหาการตีความและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗,(วปอ.10241)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการเมือง/Politics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย ไวยกาญจน์ จามิกรณ์,(วปอ. 10241)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง ป�ญหาการตีความและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานเจา้พนักงาน ปฏิบัติหน้าท่ีโดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ ลักษณะวิชา การเมือง ผู้วิจัย นายไวยกาญจน์ จามิกรณ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที ่๖๖ การวิจัยน้ีเป�นการศึกษารายละเอียดแนวคิดที่มา วัตถุประสงค์ และสาระสำคัญของความผิด ฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ เพื่อวิเคราะห์ และเสนอแนะแนวทางการตีความและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ ให้ตรงกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยมี ขอบเขตของเน้ือหาที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดที่มา วัตถุประสงค์ และสาระสำคัญของความผิดฐานเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบความผิดฐานดังกล่าวทั้งตามกฎหมายไทยและกฎหมาย ต่างประเทศ กล่าวคือ สวีเดน และสิงคโปร์ โดยผู้วิจัยได้นำวิธีวิจัยเชิงคุณภาพมาใช้ในการวิจัย โดยเป�น การวิเคราะห์จากเอกสาร เช่น ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หนังสือหรือตำราทางกฎหมาย วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ ที่อธิบายถึงแนวคิดที่มา วัตถุประสงค์ สาระสำคัญของความผดิ และคำพิพากษาศาล ฎีกาที่เป�นตัวอย่างในการปรับใช้กฎหมาย จากผลการวิจัยพบว่า ความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ มีพัฒนาการมาจากบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานต้ังแต่กฎหมายลักษณะอาญาที่ต้องมีเจตนาแกล้งเอกชน ผู้หน่ึงผู้ใด โดยป�จจุบันการตีความของศาลพบว่าจากเดิมที่ศาลตีความอย่างเคร่งครัดได้ขยายขอบเขต การใช้การตีความมาตรา ๑๕๗ อย่างกว้างขวาง ส่งผลให้การบริหารราชการแผ่นดินผิดเพี้ยนไปและ ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องกระทำไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ซึ่งผู้วิจัย มีข้อเสนอแนะเพื่อเป�นแนวทางในการใช้และการตีความกฎหมายเพื ่อจำกัดขอบเขตของความผิด รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับ ๑. ขอบเขตของ “การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ” ควรเป�นหน้าที่ในฐานะฝ่ายปกครองอันเป�นส่วนหน่ึงของหน้าที่ในทางบริหาร ๒. ขอบเขตของเจตนา พิเศษ “เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด” ต้องเป�นกรณีเจ้าพนักงานต้องมีเจตนากลั่นแกล้ง เท่าน้ัน ซึ่งอาจแก้ไขในเรื่องของการตีความและการแก้ไขบทบญัญัติของกฎหมาย และ ๓. การกำหนด อัตราโทษ ไม่ควรกำหนดให้มีอัตราโทษข้ันต่ำเพื ่อให้ศาลสามารถใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษ ให้เหมาะสมกับลักษณะของการกระทำความผิดได้

abstract:

ข Abstract Title Problem in Interpretation and Enforcement of Misconduct in Office under Section 157 of the Thai Penal Code Field Politics Name Mr. Waiyakarn Jarmikorn Course NDC Class 66 This research aims to study the concept, origin, objectives, substance of misconduct in office under Section 157 of the Thai Penal Code. The purpose is to analyze and propose guidelines for interpreting and enforcing Section 157 to be consistent with the intent of the law. The content related to the research aim includes Thai law and foreign laws, namely Sweden and Singapore. The researcher used qualitative research by analyzing documents such as relevant legal texts, legal books or textbooks, theses, academic articles, and Supreme Court decisions. The research results found that Section 157 of the Thai Penal Code has evolved from provisions related to controlling officials’ performance of duties that require the intention to harm a private person. Currently, the court’s interpretation has expanded the scope of the interpretation of Section 157 widely, resulting in the distortion of public administration and inconsistency with the intent of performing duties. The researcher has suggestions to guide the use and interpretation of the law to limit the scope of the offense, including improving the law regarding 1. The “improper performance or omission of duty” scope should be part of the administrative duty. 2. The scope of the particular intention “to cause damage to someone” must be a case where the official must have the distorted intention only, which may be revised in terms of interpretation and amendment of the provisions of the law. 3. The determination of the penalty rate should not be set at a minimum so that the court can use discretion to determine the penalty appropriate to the nature of the offense.