เรื่อง: การปฏิรูปการออมเพื่อชราภาพสำหรับแรงงานนอกระบบ,(วปอ.10239)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย วุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล,(วปอ. 10239)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เร่ือง การปฏิรูปการออมเพื่อการชราภาพสำหรับแรงงานนอกระบบ
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
โครงสร้างประชากรของไทยที่ได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็วจะส่งผลกระทบต่อ
รายได้และรายจ่ายของภาครัฐ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายภาครัฐในการดูแลผู้สูงอายุที่คาดว่าจะเพิ ่มขึ้น
ทั้งในการช่วยเหลือด้านรายได้ให้แก่ผู ้สูงอายุ ด้านสาธารณสุขและบริการสังคมเพื่อดูแลสุขภาพ
ของผู้สูงอายุ จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมที่เหมาะสมเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการคลัง
ของภาครัฐในระยะยาว เมื่อพิจารณาระบบการออมเพื่อการชราภาพของไทย พบว่า ปัจจุบันแรงงาน
ในระบบซึ่งมีรายได้สม่ำเสมอได้มีระบบการออมเพื่อการชราภาพแบบภาคบังคับสำหรับแรงงาน
ในระบบอยู่แล้ว ในขณะที่แรงงานนอกระบบซึ่งมีรายได้ไม่แน่นอนเนื่องจากส่วนใหญ่ไม่มีการจ้างงาน
ที่แน่นอนและมีรายได้ที่ต่ำกว่าแรงงานในระบบ แม้ว่าปัจจุบันแรงงานอกระบบมีระบบการออม
เพ่ือการชราภาพแต่ยังไม่สามารถสร้างความมั่นคงทางด้านรายได้เมื่อพ้นวัยทำงานได้อย่างแท้จริง
งานวิจัยนี้จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาแนวทางการปฏิรูปการออมเพื่อชราภาพสำหรับแรงงาน
นอกระบบเพ่ือสร้างความม่ันคงทางรายได้เมื่อพ้นวัยทำงานให้กับแรงงานนอกระบบ โดยใช้ระเบียบวิธี
ในการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ ่งเป็นการเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร
(Document Study) เพื ่อทบทวนเครื ่องมือในการปฏิรูประบบการออมเพื ่อการชราภาพที่ได้มี
การดำเนินการในต่างประเทศ วิเคราะห์ผลกระทบของแนวทางการปฏิรูปต่อการออมของแรงงาน
นอกระบบในยามเกษียณ และเสนอนโยบายปรับปรุงระบบการออมเพื ่อการชราภาพของไทย
โดยมีการศึกษา Focus Group ของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากแนวทางการปฏิรูปดังกล่าว
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า แรงงานนอกระบบซึ่งเป็นแรงงานส่วนใหญ่ของประเทศมีรายได้
ไม่แน่นอน และกว่าร้อยละ 60 มีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย ขาดวินัยในการออม เข้าไม่ถึงระบบการออม
ที่ภาครัฐจัดให้มีขึ ้นในปัจจุบัน ตลอดจนขาดความตระหนักรู ้ทางด้านการวางแผนทางการเงิน
ดังนั ้น จ ึงเสนอแนะแนวทางการปฏิร ูปการออมเพื ่อการชราภาพสำหรับแรงงานนอกระบบ
โดยแบ่งตามระดับรายได้ 2 ระดับ ได้แก่ (1) กลุ่มที่มีรายได้เพียงพอ โดยการส่งเสริมมาตรการ
การออมผ่านการใช ้จ ่าย (Saving Through Spending: STS) และส่งเสร ิมการพัฒนาทักษะ
ทางการเงิน และ (2) กลุ ่มที ่มีรายได้ไม่เพียงพอ โดยเสนอให้มีการปรับเพิ ่มเบี ้ยยังชีพผู ้สูงอายุ
และให้เฉพาะผู ้ส ูงอายุที ่ม ีรายได้น ้อย ควบคู ่กับการพัฒนาทักษะและสร้างวิน ัยทางการเงิน
และเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำระบบตรวจสอบคุณสมบัติผู้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพ่ือคัดกรอง
ระดับรายได ้ เพ่ือสร้างความม่ันคงทางด้านรายได้ให้แรงงานนอกระบบเมื่อพ้นวัยทำงาน
abstract:
ข
Abstract
Title The Study of Pension Reform for Informal Workers
Field Economics
Name Wuttipong Jittungsakul Course NDC Class 66
The aging population in Thailand is increasing rapidly, which will impact the
government’s budget, especially the expenditure on elderly cares. The government
will face rising costs related to income support, healthcare, and social welfare servicers
in response to the growing number of elderly citizens. Therefore, the government is
necessary to prepare appropriate strategies to maintain long-term fiscal stability.
Regarding Thailand's pension system, formal workers with regular income already
participate in a mandatory pension system. In contrast, informal workers, who generally
have uncertain and lower incomes compared to formal workers, do not generate
sufficient post-retirement income from the existing pension system.
This research aims to study reform methods for the pension system for
informal workers to ensure income security after retirement. The study uses qualitative
research method by collecting data through document analysis and reviewing case
studies from other nations. This study will analyze the impact of these reforms on
informal workers' retirement savings within the context of Thailand and propose
policies to improve the country's pension system. Additionally, the research will gather
viewpoints from stakeholders through focus group interviews to refine the reform
approaches.
The findings reveal that informal workers, who are the majority of the
country's workforce, face unstable incomes, with over 60% experiencing income that
falls short of their expenses. They lack of saving discipline, financial literacy and access
to pension systems that government provided. Therefore, the study proposes
reforming the pension system for informal workers based on income levels. (1) Informal
workers with sufficient income should be targeted with the promotion of Saving
Through Spending (STS) measures and the development of financial literacy. (2)
Informal workers with insufficient income should benefit from an increased old-age
allowance specifically for low-income elderly alongside with developing financial
literacy and financial discipline. Moreover, the government should establish a system
to verify the eligibility of old-age allowance recipients to ensure income security for
informal workers post-retirement.