เรื่อง: การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในมิติสุขภาพ,(วปอ.10236)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ,(วปอ. 10236)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เร่ือง การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ในมิติสุขภาพ
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย ศาสตราจารย์นายแพทย์ วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ หลักสูตร วปอ. รุน่ที่ ๖๖
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามต่อประชากรทั่วโลก ส่งผลกระทบโดยตรง
ต่อสุขภาพ และผลโดยอ้อมต่อความมั่นคงของประเทศ การวิจัยนี้ต้องการศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศที่มีต่อสุขภาพของประชากรในด้านต่าง ๆ ศึกษาแผนการเตรียมความพร้อม วิเคราะห์
สถานการณ์ของประเทศไทยและของประเทศต่าง ๆ เพ่ือสังเคราะห์ข้อเสนอแนะในการเตรียมความพร้อม
ในระดับประเทศ ระดับชุมชน และระดับบุคคล โดยการทบทวนเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัย พบว่าประเทศไทยจัดอยู่ในลำดับต้น ๆ ของประเทศท่ัวโลกที่ได้รับผลกระทบจาก
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากท่ีสุด ผลกระทบมีทั้งทางตรงและทางอ้อม มีทั้งท่ีเป็นผลที่เกิดข้ึนทันที
และผลที่เกิดขึ้นในระยะยาว โดยเป็นโรคที่เกี่ยวกับความร้อน โรคติดเชื้อชนิดต่าง ๆ รวมทั้งโรคอุบัติใหม่
และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่นโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคมะเร็ง หลายประเทศ
ทั่วโลก มีการเตรียมความพร้อม ในประเทศไทย มีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้รับผิดชอบ การดำเนินการ
ยังมีอุปสรรคหลายประการ สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ควรผลักดันให้การลดก๊าซเรือนกระจก
และการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นนโยบายระดับประเทศอย่างเร่งด่วน
และดำเนินการเชิงรุกอย่างบูรณาการตามแผน การเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ควรเน้นการปรับตัวของประเทศ ชุมชนและบุคคล รวมทั้งการใช้ผลประโยชน์ร่วม สำหรับข้อเสนอแนะ
เชิงปฏิบัติการในระดับประเทศ ควรมีการทบทวนแผนและปรับกรอบการดำเนินงานเชิงรุก เชื่อมต่อ
แผนปฏิบัติการในระดับพ้ืนที่และบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบฐานข้อมูล
ความร่วมมือ ประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดความรู้ในหลักสูตรการศึกษา พัฒนาบุคลากร ระบบบริการ
ฐานข้อมูล เทคโนโลยี และงบประมาณ ผลักดันงานวิจัยเพ่ือจัดทำเป็นคลังข้อมูลกลางแห่งชาติและ
สร้างสรรค์นวัตกรรมทางสุขภาพ ในระดับชุมชน ควรเน้นการมีส่วนร่วม และการเตรียมความพร้อม
ในระดับพ้ืนที่สำหรับผลทางสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในระดับบุคคล ประชาชน
ควรแสวงหาความรู้ เพ่ือฝึกฝนตนเองให้มีทักษะในการปรับตัว ใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ช่วยเหลือ
ซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนเปราะบางที่มีความเสี่ยงสูง รวมทั้งสนับสนุนนโยบายของ
ทางภาครัฐในมาตรการส่วนบุคคลในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ และใส่ใจในเรื่องผลประโยชน์ร่วมทางสุขภาพ
abstract:
ข
Abstract
Title Thailand's preparation for climate change in the health dimension
Field Social – Psychology
Name Professor Dr. Weerapan Khovidhunkit Course NDC Class 66
Climate change is an inevitable global threat and has both a direct
impact on health and an indirect impact on the nation’s security. This research
aims to review the effect of climate change on human health, to examine the
preparation plans, to analyze the current situation in Thailand and in other
countries, and to synthesize recommendations for preparation at the national,
community and individual levels by reviewing documents and interviewing
experts. The result shows that Thailand is among the top countries most affected
by climate change. The effect of climate change on health could be direct or
indirect, and could be immediate or long-term, mostly heat-related diseases,
infectious diseases, including emerging diseases, and non-communicable diseases,
such as respiratory disease, cardiovascular disease and cancer. Many countries
around the world have preparation plans. In Thailand, the Ministry of Public
Health is the main responsible agency. Implementation still has several obstacles.
For policy recommendations, reducing greenhouse gases, adaptation, and the use
of co-benefits should be urgently promoted as national policies and at the
national, community and individual level. For operational recommendations at
the national level, the action plan should be reviewed, and the operational
framework adjusted with connection to the local level and integration between
relevant agencies. Development of a database system, public communication,
knowledge integration, personnel upskill, service systems, databases, technology
and budget allocation are also recommended. Research should be encouraged
to create a central national data warehouse and health innovations. At the
community level, active engagement and local preparedness for various health
effects should be encouraged. At the personal level, each individual should
proactively seek knowledge, train oneself to have adaptation skills, pay attention
to one’s own health, help one another, especially the high-risk vulnerable people,
and support the government’s policy in personally reducing emissions of greenhouse
gases, adapting to climate change, and paying attention to the health co-benefits.