เรื่อง: แนวทางการพัฒนาการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีอาญาโดยใช้กลไกทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ; กรณีศึกษาการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่จำเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว,(วปอ.10233)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย วินิจ เนตรแจ่มศรี,(วปอ. 10233)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการพัฒนาการอ่านคาพิพากษาศาลฎีกาในคดีอาญาโดยใช้กลไกทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษาการอ่านในคดีที่จาเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
ลักษณะวิชา การเมือง
ผู้วิจัย นายวินิจ เนตรแจ่มศรี หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
จาเลยคดีอาญาควรได้รับการพิจารณาโดยรวดเร็วเนื่องจากเป็นเรื่องที่กระทบ ต่อสิทธิเสรีภาพ การพัฒนาการอ่านคาพิพากษาศาลฎีกาโดยผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศาลฎีกา เป็นส่วนหนึ่งที่ทาให้ลดขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาคดี ทั้งจาเลยได้รับผลของคาพิพากษาเร็วขึ้น แต่ผู้ที่ได้รับประโยชน์คงเป็นเพียงจาเลยที่ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดี ส่วนจาเลยที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวกลับไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว จึงเป็นกรณีศึกษาวิจัยเพื่อให้ทราบปัญหาและกาหนดแนวทาง รูปแบบการอ่านคาพิพากษาเพื่อเสนอแนะให้ศาลฎีกานาไปประยุกต์ใช้ โดยเป็นการศึกษาค้นคว้าจากขั้นตอนการดาเนินคดีอาญา ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ที่เกี่ยวข้องและนโยบายประธานศาลฎีกา รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ปฏิบัติงานโดยตรง ผลการศึกษา พบว่า เหตุที่ไม่สามารถดาเนินการได้เนื่องจากคดีอาญาที่จาเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวนั้น มีเป็นจานวนมาก หากการบริหารจัดการไม่ดีจะส่งผลกระทบต่อระยะเวลาการอ่านทาให้สิทธิเสรีภาพของจาเลยต้องเลื่อนออกไป นอกจากนั้นระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการอ่านคาพิพากษาหรือคาสั่งศาลสูงในคดีอาญาและคดีแพ่งที่ศาลสูงโดยจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564 มีความไม่ชัดเจนในหลายประเด็น ประกอบกับอัตรากาลังผู้ปฏิบัติงานและห้องพิจารณาไม่เพียงพอ รวมถึงคุณภาพมาตรฐานของระบบเทคโนโลยีแต่ละศาลต่างกัน ตลอดจนวิธีการส่งหมายแบบดั้งเดิมที่ทาให้การอ่านล่าช้า โดยมีข้อเสนอแนะที่สาคัญคือ การสร้างระบบบริหารจัดการในรูปศูนย์การอ่านอิเล็กทรอนิกส์และพิจารณาแก้ไขระเบียบราชการดังกล่าวให้ชัดเจน รวมถึงพิจารณาออกข้อกาหนดประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับการส่งหมายให้แก่จาเลยคดีอาญาทางอิเล็กทรอนิกส์
abstract:
Abstract
Title Guidelines for Developing the Reading of Supreme Court Judgments in Criminal Cases Using Electronic Media Mechanism: A Case Study of Reading in Cases Where Defendants Are Granted Bail
Field Politics
Name Mr. Winit Natejamsri Course NDC Class 66
Criminal defendants should receive prompt consideration as it affects their rights and freedoms. The development of reading Supreme Court judgments through the court's electronic media system is part of an effort to reduce the steps and time required for case consideration, allowing defendants to receive judgment results more quickly. However, the benefits primarily accrue to defendants who are detained during proceedings, while those granted bail do not get the same advantages. Thus, this research case study aimed to identify problems and establish guidelines and formats for reading judgments to recommend their application by the Supreme Court. The study involved an examination of criminal case procedures, judicial administrative regulations relevant to the justice system, and the policies of the President of the Supreme Court, alongside in-depth interviews with practitioners.
The research findings indicated that the inability to process cases involving defendants granted bail was significant due to their large number. Ineffective case management could adversely affect the timeliness of readings, postponing the rights and freedoms of defendants. Additionally, the Judicial Regulations on the Reading of High Court judgments or Orders in Criminal and Civil Cases, Established for the Audiovisual Transmission via Electronic Media, B.E. 2564 (2021) lacked clarity in multiple areas. There was also an insufficient number of staff and courtrooms, along with varied quality standards of technology across different courts. Traditional methods of serving summonses further contribute to delays in readings. Key recommendations include creating an electronic reading management system and clarifying the aforementioned regulations. Furthermore, there should be consideration for issuing directives from the President of the Supreme Court regarding the electronic summonses for criminal defendants.