เรื่อง: แนวทางการบรรเทาปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนกลุ่มรากฐาน,(วปอ.10232)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย วิทัย รัตนากร,(วปอ. 10232)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการบรรเทาปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนกลุ่มฐานราก
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายวิทัย รัตนากร หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
การศึกษาเรื่อง แนวทางการบรรเทาปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนกลุ่ม
ฐานรากมีวัตถุประสงค์เพ่ือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของประชาชนกลุ่มฐานราก 2) ศึกษาปัญหาการ
เข้าถึงแหล่งเงินทุน (Financial Inclusion) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาความยากจนและความ
เหลื่อมล้ำทางการเงิน และ 3) เสนอแนะแนวทางการบรรเทาปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ
ประชาชนกลุ่มฐานราก โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากงานวิจัย เอกสารทางวิชาการและวรรณกรรม
ที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นเอกสารจากประมวลกฎหมาย และบทความของผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง และ
ข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์และสอบถามเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแหล่งเงินทุน
ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อมในเขต
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
การวิเคราะห์เปรียบเทียบ สังเคราะห์ข้อมูลทฤษฎี หลักการต่างๆ และวิเคราะห์ทางสถิติ
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาของประชาชนกลุ่มฐานรากมีดังนี้ 1) หนี้นอกระบบ
2) รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย 3) ผู้มีรายได้น้อย 4) การเข้าถึงการศึกษา 5) สุขภาพและการเข้าถึง
บริการสุขภาพ 6) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกับการวางแผนการเงินของตนเองและครอบครัว
7) ประชาชนกลุ่มฐานรากต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น 8) ความมั่นคงทางการเงินและการจ้างงาน
9) ความยากจน ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสวัสดิการ 10) ปัญหาทางการเงิน และ 11) การดำรงชีพ
ของประชาชนกลุ่มฐานราก สำหรับปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหา
ความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางการเงินมีดังนี้ 1) ข้อจำกัดของระบบการเงิน 2) ปัจจัยด้าน
ผู้ประกอบการ 3) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม 4) โครงสร้างของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ส่วนแนวทางการบรรเทาปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนกลุ่มฐานรากมีดังนี้ 1) สร้าง
หลักประกันโอกาสเข้าถึงอุดมศึกษาของประชาชนทุกกลุ่ม 2) เสริมโอกาสประกอบอาชีพด้วยการ
เรียนรู้ตลอดชีวิต 3) สนับสนุนพลังฐานรากให้เป็นพลังที่เข้มแข็งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์
และเศรษฐกิจนวัตกรรม 4) กลยุทธ์การเข้าถึงแหล่งเงินทุน 5) พัฒนาตลาดการเงิน 6) ส่งเสริมความรู้
ทางการเงิน 7) พัฒนาระบบข้อมูลเครดิต และ 8) สนับสนุนจากภาครัฐ ดังนั้น ผู้วิจัยมีขอเสนอแนะ
เชิงนโยบายเพ่ือประโยชน์ในการพัฒนา ดังนี้ 1) หน่วยงานกำกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจควร
สนับสนุนและผ่อนปรนเงื่อนไข 2) การขยายบทบาทของธนาคารเฉพาะกิจ 3) ปรับรูปแบบและวิธีการ
ค้ำประกันหนี้ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บยส.) 4) ปรับระยะเวลาการเก็บ
ประวัติเครดิตของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) และ 5) สร้างระบบฐานข้อมูลของรัฐ
และให้สถาบันการเงินของรัฐสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลของรัฐ
abstract:
ข
Abstract
Title The Guidelines for Alleviating Problem of Access to Financial
Inclusion of Grassroots People
Field Economics
Name Mr. Witai Rattanakorn Couse NDC Class 66
The study on the guidelines for alleviating problem of access to financial
inclusion of grassroots people had the following objectives: 1) to study the problems
of grassroots people, 2) to study the problem of access to financial inclusion, which
was a part of the cause of poverty and financial inequality, and 3) to suggest
guidelines for alleviating problem of access to financial inclusion of grassroots
people. Secondary data were collected from research, academic documents, and
related literature including documents from the legal code and articles by related
experts while primary data were collected from interviews and inquiries with
government officials involved in funding sources, stakeholders, and members of
small and medium-sized community enterprises in Bangkok and its vicinity. Data were
analyzed by using content analysis and comparative analysis. and synthesize
theoretical information, various principles, and statistical analysis.
The research found that the problems of grassroots people were as
follows: 1 ) informal debt, 2 ) insufficient income to cover expenses, 3 ) low-income
earners, 4) access to education, 5) health and access to health services, 6) knowledge
and understanding about financial planning for oneself and family, 7 ) grassroots
group faced higher cost of living, 8 ) financial security and employment 9 ) poverty,
inequality in access to welfare, 1 0 ) financial problems, and 1 1 ) grassroots group
livelihoods. The problems of access to financial inclusion, which were part of the
cause of poverty and financial inequality, were as follows: 1) limitations of the
financial system, 2) entrepreneurial factors, 3) economic and social factors, 4)
structure of medium and small businesses. The guidelines for alleviating problem of
access to financial inclusion of grassroots people were as follows: 1) create a
guarantee of access to higher education for all groups of people, 2) strengthen career
opportunities through lifelong learning, 3) support grassroots power to become a
strong force in driving the creative economy and innovative economy, 4) strategies
for accessing financial sources, 5) develop financial markets, 6) promote financial
literacy, 7) develop a credit information system, and 8) support from the government
sector. Therefore, the researcher had policy recommendations for development
ค
benefits as follows: 1) the regulatory agency for specialized financial institutions
should support and relax conditions, 2) expand the role of specialized banks, 3)
adjust the format and methods of debt guarantees of the Thai Credit Guarantee
Corporation (TCG), 4) adjust the period for collecting credit history of the National
Credit Bureau, and 5) create a government database system and allow government
financial institutions to access the government database.