Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: บทบาทของกองทัพเรือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาในพื้นที่สนามบินอู่ตะเภาและบริเวณโดยรอบ,(วปอ.10230)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลเรือตรี วิชาญ วันทนียกุล,(วปอ. 10230)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง บทบาทของกองทัพเรือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้าน ส่ิงแวดล้อมอันเนื่องมาจากโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกในพื้นที่ สนามบนิอู่ตะเภาและบริเวณโดยรอบ ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย พลเรือตรี วิชาญ วันทนียกุล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๖ การประกาศเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ตาม พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาค ตะวันออก พ.ศ.๒๕๖๑ ออกมาบังคับใช้พัฒนาพื้นท่ีภาคตะวันออก ๓ จังหวัด ประกอบด้วย ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ ระยอง โดยมีคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และส านักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ท าหน้าท่ีขับเคล่ือน ด าเนินการ ซึ่งมีโครงการขนาดใหญ่ท่ีส าคัญคือ โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบิน ภาคตะวันออกโครงการรถไฟความเร็วสูงเช่ือม ๓ สนามบิน และโครงการพัฒนาท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ ของกองทัพเรือจะท าให้เกิดการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วในพื้นท่ีรอบบริเวณอู่ตะเภา ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพส่ิงแวดล้อมในพื้นท่ีหลายประการ เช่น ปัญหาคุณภาพน้ า แหล่งน้ าผิวดิน และ น้ าทะเลปัญหาการก าจัดขยะท่ีไม่ถูกหลัก ปัญหาลักลอบการท้ิงกากของเสีย ปัญหาคุณภาพอากาศ และปัญหาทรัพยากรธรรมชาติเส่ือมโทรม เป็นต้น รวมท้ังอาจะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติภารกิจของ กองทัพเรือในพื้นท่ีบริเวณรอบอู่ตะเภาอย่างหลีกเล่ียงไม่ได้ จึงมีความจ าเป็นท่ีจะพิจารณาและ ทบทวนบทบาทของกองทัพเรือในอนาคตกับโครงการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อรองรับ ยุทธศาสตร์ด้านการเจริญเติบโต บนคุณภาพชีวิตท่ีเป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม ในพื้นท่ีสนามบินอู่ตะเภา และบริเวณโดยรอบ ผู้วิจัยได้ท าการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้านส่ิงแวดล้อมอันเนื่องมาจากการ ด าเนินโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและเมืองการบินภาคตะวันออก ในพื้นท่ีสนามบิน อู่ตะเภาและบริเวณโดยรอบ ประกอบด้วย ปัญหาทรัพยากรทางทะเลและชายฝ่ัง การปล่อยก๊าซเรือน กระจก และปัญหาคุณภาพส่ิงแวดล้อม (คุณภาพอากาศ คุณภาพน้ าผิว คุณภาพน้ าใต้ดินและ น้ าบาดาล คุณภาพน้ าทะเลและชายฝ่ัง น้ าเสียชุมชน ขยะมูลฝอยและขยะทะเล และกากของเสีย อุตสาหกรรม) การวิเคราะห์การป้องกัน การวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมท่ีเกี่ยวข้องกับผลกระทบ การวิเคราะห์สภาวการณ์ของกองทัพเรือท่ีเกี่ยวข้องกับผลกระทบด้านส่ิงแวดล้อม อันเนื่องมาจากการ ด าเนินโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและเมืองการบินภาคตะวันออก ในพื้นท่ีสนามบินอู่ ตะเภาและบริเวณโดยรอบ ด้วยหลักการ SWOT Analysis และ TOWS Matrix สรุปได้เป็น ๖ กลยุทธ์ ได้แก่ การจัดการเชิงรุกท่ีเน้นการป้องกันผลกระทบด้านส่ิงแวดล้อมล่วงหน้า การส่งเสริม การมีส่วนร่วมและสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมและส่ิงแวดล้อม การส่งเสริมการพัฒนาด้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากต่างประเทศ การส่งเสริมคุณภาพส่ิงแวดล้อมและพื้นท่ีสีเขียวอย่างยั่งยืน ในพื้นท่ีสนามบินอู่ตะเภาและบริเวณโดยรอบ การประเมินยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๘๐ (ทบทวน พ.ศ.๒๕๖๖) โดยเพิ่มเติมในประเด็นส าคัญด้านส่ิงแวดล้อม และการจัดการคุณภาพ ส่ิงแวดล้อมท่ีดีในพื้นท่ีสนามบินอู่ตะเภาและบริเวณโดยรอบ

abstract:

ข Abstract Title The role of the Navy in preventing and resolving environmental impacts due to the Eastern Special Development Zone project in the U-Tapao Airport area and surrounding areas. Field Science and Technology Name Rear Admiral Wichan Wantaneeyakul Course NDC Class 66 The announcement of the Eastern Economic Corridor (EEC) as per the Eastern Special Development Zone Act of 2018 aims to develop three provinces in the eastern region: Chachoengsao, Chonburi, and Rayong. This effort is driven by the Eastern Economic Corridor Policy Committee (EECPC) and the Eastern Economic Corridor Office (EECO). Major projects include the U-Tapao Airport and Eastern Aviation City Development Project, the High-Speed Rail Linking Three Airports Project, and the Sattahip Commercial Port Development Project by the Royal Thai Navy. These initiatives are expected to rapidly expand the industrial sector around the U- Tapao area, impacting the environmental quality in various aspects, such as water quality (surface and sea water), improper waste management, illegal waste disposal, air quality, and natural resource degradation. These impacts might also affect the Royal Thai Navy’s operations around the U-Tapao area, necessitating a review of the Navy's role in future EEC projects to ensure sustainable growth and environmental friendliness in the U-Tapao Airport area and its surroundings. The researcher analyzed the environmental problems caused by the EEC and Eastern Aviation City projects in and around the U-Tapao Airport area. These problems include marine and coastal resource issues, greenhouse gas emissions, and environmental quality concerns (air quality, surface water quality, groundwater and artesian water quality, sea and coastal water quality, community wastewater, solid waste, marine debris, and industrial waste). The study involved analyzing prevention strategies, environmental factors related to impacts, and the Royal Thai Navy's conditions concerning environmental impacts from the EEC and Eastern Aviation City projects using SWOT Analysis and TOWS Matrix principles. The findings resulted in six strategies: proactive management emphasizing preventive environmental impact measures, promoting participation and social and environmental responsibility, encouraging technological and innovative development from abroad, sustainable promotion of environmental quality and green areas in and around the U-Tapao Airport area, evaluating the Royal Thai Navy’s strategy (2017-2040, reviewed in 2023) by including key environmental issues, and managing good environmental quality in the U-Tapao Airport area and its surroundings.