เรื่อง: ธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย : การบุกเบิกที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืนสำหรับผู้สูงวัย,(วปอ.10227)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย วิกร ภูวพัชร์,(วปอ. 10227)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง ธุรกิจเพ่ือสังคมในประเทศไทย : การบุกเบิกท่ีอยู่อาศัยอย่างยั่งยืนสำหรับผู้สูงวัย
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย ดร. วิกร ภวูพัชร์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที ่ ๖๖
จากสถานการณ์การเพ่ิมข้ึนของประชากรสูงอายุอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้ทุกภาคส่วน
ต้องให้ความสนใจในการรักษาความยั่งยืนของสังคม ด้วยการทำธุรกิจเพ่ือสังคมกับประชากรกลุ่มที่มี
กำลังความสามารถทางเศรษฐกิจในส่วนของที่อยู่อาศัยที่อยู่อย่างอิสระ ปลอดภัย และยุติธรรม
การศึกษาเรื่องนี้เป็นการนำร่องเพ่ือส่งเสริมการทำธุรกิจด้านที่อยู่อาศัยกับผู้สูงอายุ โดยมีวัตถุประสงค์
ในการพยากรณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย และศึกษาความต้องการในการหาที่อยู่อาศัย เพ่ือนำไปสู่
โอกาสทางธุรกิจที่ เหมาะสม ด้วยเป้าหมายไตรสุทธิในสังคมไทย การศึกษาเป็นแบบคุณภาพ
และเชิงปริมาณ ข้อมูลในการวิเคราะห์เชิงปริมาณได้จากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุจำนวน ๒๔๕ ราย
ผลการศึกษาพบว่าในปี พ.ศ. ๒๕๗๗ จะมีจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยอยู่ในช่วง ๑๓.๕-๑๖.๖
ล้านคน คิดประมาณเป็นมากกว่าร้อยละ ๒๐ ของประชากรไทยทั้งประเทศ การเลือกกลุ่มผู้สูงอายุที่มี
ศักยภาพในการซื้อสิทธิที่อยู่อาศัยนับเป็นการลดภาระในด้านการดูแลที่อยู่อาศัย ผลการสำรวจพบว่า
ผู้สูงอายุต้องการอยู่ร่วมกับสังคมวัยเดียวกันมีจำนวนร้อยละ ๔๗ โดยกลุ่มตัวอย่างมีรายได้เฉลี่ย
ก่อนปลดเกษียณสูงกว่า ๕๐,๐๐๐ บาท จำนวนร้อยละ ๓๗ ในการวิเคราะห์หากลุ่มเป้าหมายที่เป็น
กลุ่มผู้ยินดีจะซื้อสิทธิที่อยู่อาศัยพบว่า เป็นเพศชาย อายุสูงกว่า ๖๕ ปีและมีรายได้สูงกว่า ๕๐,๐๐๐
บาทต่อเดือน ในส่วนของปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อการคาดหวังในการซื้อสิทธิที่อยู่อาศัย
ประกอบด้วยลักษณะที่อยู่อาศัย การอยู่กับวัยเดียวกัน การให้บริการ และตราของผู้พัฒนาโครงการ
ด้วยสัมประสิทธิ์ ๐.๔๕, ๐.๐๙, ๐.๑๖ และ ๐.๖๕ ตามลำดับในส่วนของนโยบายที่นำเสนอต่อภาครัฐ
ทั้งในส่วนของนโยบายการเงินและการคลังเพื่อสนับสนุนการทำธุรกิจมี ๙ ประการ
abstract:
ข
Abstract
Title Social Enterprises in Thailand : Pioneering Sustainable Housing Solution for
the Elderly
Field Social-Psychology
Name Dr. Vikorn Poovapat Coures NDC Class 66
With the elderly population growing rapidly, addressing societal sustaina-
bility has become an urgent imperative for all sectors. This underscores the
importance of engaging in social business initiatives geared toward offering affordable,
secure, and equitable housing to financially capable individuals. This study stands as
a pioneering endeavor within the domain of elderly housing business, driven by the
primary objective of anticipating the mounting elderly population in Thailand while
assessing their housing needs. Employing a blend of qualitative and quantitative re-
search approaches, data was gathered from a sample of 245 elderly individuals.
Projections indicate that by 2034, Thailand's elderly population will constitute more
than 20 percent of the overall populace, demanding tailored housing solutions. No-
tably, the survey unveils that 47 percent of respondents express a preference for
residing among peers of similar age, while 37 percent report an average monthly in-
come exceeding 50,000 baht prior to retirement. Furthermore, the study identifies
pivotal factors influencing the inclination to acquire housing rights, encompassing
housing attributes, cohabitation arrangements, available services, and the reputation
of project developers, with respective coefficients of 0.45, 0.09, 0.16, and 0.65. These
findings lay the foundation for the development of targeted and sustainable elderly
housing solutions in Thailand. Additionally, the study proposes nine policy recom-
mendations, spanning both monetary and fiscal policies, to support business operations
and further align with governmental objectives.