เรื่อง: แนวทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมข้าวไทย,(วปอ.10220)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาว วรีรัตน์ ศรีสถิตย์วัฒนา,(วปอ. 10220)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาศักยภาพ
อุตสาหกรรมข้าวไทย
ลักษณะวิชา เศรษฐกิจ
ผู้วิจัย ดร.วรีรัตน์ ศรีสถิตย์วัฒนา หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๖
ปัจจุบันการส่งออกข้าวไทยเผชิญความท้าทายทัง้จากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ
ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาผลิตภาพต่ำและต้นสูงทำให้ข้าวไทยแข่งขันด้านราคาไม่ได้
ชาวนาไทยส่วนใหญ่อยู่ในวัยผู้สูงอายุทำให้การมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีและ
นวัตกรรม ซึ่งปัจจัยเหล่าน้ีส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยที่มีแนวโน้มลดลงอย่าง
ต่อเนื่อง ดังนั้นในการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวไทยจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการ
ช่วยลงทุนพัฒนาในส่วนต่าง ๆ เพื่อช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับชาวนาไทยมีความเข้มแข็งรวมทั้ง
เสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมข้าวไทยให้สามารถเติบโตและแข่งขันใน
ตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาสถานการณ์และปัญหาในปัจจุบันของอุตสาหกรรม
ข้าวไทย วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมข้าวไทย เพื่อนำไปสู่
การเสนอแนะแนวทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่เหมาะสมในการพัฒนาศักยภาพ
อุตสาหกรรมข้าวไทย ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แนวทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่
เหมาะสมในการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมข้าวไทยควรอยู่ในรูปแบบความร่วมมือเพื่อพัฒนาห่วงโซ่
คุณค่าทางการเกษตร (Value Chain Development : VCD) โดยการจัดต้ังสภาอุตสาหกรรมข้าวไทย
๕.๐ ซึ ่งเป็นหน่วยงานที่ทำงานแบบบูรณาการร่วมกันจากทุกภาคส่วนในการพัฒนาศักยภาพ
อุตสาหกรรมข้าวไทย และจัดต้ังคณะกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมข้าวไทย ๕.๐ สู่ความยั่งยืน ใน
รูปแบบ “จตภุาคีเพื่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมข้าวไทยสู่ความยั่งยืน” ที่มุ่งเน้นให้ภาครัฐมีบทบาท
ในการดำเนินการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธ์ุ การสนับสนุนปัจจัยการผลิต ภาคเอกชนมีบทบาท
ในเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี การเลือกใช้ปัจจัยการผลิต การตรวจสอบ การรับรอง การบริหาร
จัดการด้านการตลาด และเกษตรกรมีบทบาทในการเป็นผู ้ผลิต ผู ้สาธิต และอาสาสมัครส่งเสริม
การเกษตร
abstract:
ข
Abstract
Title An Approach to the Cooperation Between the Public Sector
and Private Sector to Reach the Full Potential of Thailand’s
Rice Industry
Field Economics
Name Dr.Wareerat Srisathidwattana Course NDC Class 66
Currently, the Thai rice export is facing challenges from the factors
internally and externally. Those challenges include changes in weather, low
productivity, and rising costs of rice production which deteriorate the competitiveness
of the Thai rice industry. To improve the industry, cooperation from all sectors in
Thailand is needed. Strengthening Thai rice farmers and creating competitiveness of
the Thai rice would allow the industry to grow and compete in the global rice markets
sustainably. Therefore, the researcher is interested in examining the current situation
and problems of the Thai rice industry as well as analyzing its internal and external
environments. The research findings indicate that value chain development (VCD)
could serve as an approach to the cooperation between the public sector and private
sector that allow the Thai rice industry to reach its full potential. The Council of the
Thai Rice Industry in the 5 . 0 version is highly recommended to be established.
Moreover, it is recommended to establish the committee that drives the Thai rice
industry 5.0 sustainably in the form of “Quadruple Helix Pushing the Thai Rice Industry
to Sustainability”. It focuses on the role of public sector to promote research and
development of varieties of cultivated rice and support factors of production. On the
contrary, the private sector plays a role in transferring technology, selecting factors of
production, checking the rice quality, issuing certification, and managing marketing.
Meanwhile, rice farmers should serve as producers, demonstrators, and volunteers to
promote agricultural activities.