เรื่อง: แนวทางการบริหารจัดการอุตสาหกรรมยาเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน,(วปอ.10219)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาว วราภรณ์ วีระภุชงค์,(วปอ. 10219)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เร่ือง แนวทางการบริหารจัดการอุตสาหกรรมยาเพื่อสร้างความเข้มแข็งทาง
เศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นางสาววราภรณ์ วีระภุชงค์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
การศึกษาเรื่อง แนวทางบริหารจัดการอุตสาหกรรมยาเพ่ือสร้างความเข้มแข็งทาง
เศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพ่ือ 1) ศึกษาปัญหา และอุปสรรคในการผลิตยาให้
เพียงพอกับการบริโภคในประเทศไทย 2) ศึกษาการเพ่ิมขีดความสามารถในการผลิตยาเพ่ือส่งออก
ในต่างประเทศ และ 3) เสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการอุตสาหกรรมยาเพ่ือสร้างความเข้มแข็ง
ทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากงานวิจัย เอกสารทางวิชาการ
และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นเอกสารจากประมวลกฎหมาย และบทความของผู้ทรงคุณวุฒิ
ที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารที่เป็นผู้ประกอบการโรงงานผลิตยาแผน
ปัจจุบัน ผู้ประกอบการโรงงานผลิตยาแผนปัจจุบัน ผู้นำเข้ายาแผนปัจจุบันในประเทศไทย และ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับยาแผนปัจจุบันในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การวิเคราะห์เปรียบเทียบ สังเคราะห์ข้อมูลทฤษฎี
หลักการต่างๆ และวิเคราะห์ทางสถิติ
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหา และอุปสรรคในการผลิตยาให้ เพียงพอกับการบริโภค
ในประเทศไทยมีดังนี้ 1) ปัญหาด้านการผลิต 2) ต้นทุน ราคาวัตถุดิบในการผลิตยาราคาสูง
3) พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป 4) ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ เภสัชกร นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกร
ในโรงงานอุตสาหกรรมยา 5) การวิจัยและพัฒนายา 6) การขาดความรู้ความเข้าใจในการบริโภคยา
7) ค่าแรงที่สูงขึ้น และ 8 ) สิทธิบัตรยาได้มีการแก้ไขเพ่ิมเติม ส่วนการเพ่ิมขีดความสามารถในการผลิตยา
เพ่ือส่งออกในต่างประเทศมีดังนี้ 1) ภาครัฐควรสนับสนุนช่วยเหลือด้านการเจรจาต่อรองกับประเทศ
คู่ค้าและกฎระเบียบต่างๆ 2) สนับสนุนการข้ึนทะเบียนตำรับยาในประเทศคู่ค้า และ 3) สนับสนุนให้มี
ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการวิจัยพัฒนายาสมุนไพร ชีววัตถุ วัตถุดิบให้ได้
มาตรฐานสากล สำหรับแนวทางการบริหารจัดการอุตสาหกรรมยาเพ่ือสร้างความเข้มแข็งทาง
เศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืนมีดังนี้ 1) ยกระดับมาตรฐานการผลิต ลดต้นทุนใช้เทคโนโลยี
เครื่องจักรที่ทันสมัย 2) สนับสนุนและเพ่ิมศักยภาพการวิจัยและพัฒนายานวัตกรรมทั้งยาเคมี
สมุนไพร และชีววัตถุภายในประเทศ 3) พัฒนาระบบกำกับดูแลของภาครัฐให้เอ้ือต่อการวิจัยและ
พัฒนา 4) สนับสนุนการผลิตยาสามัญใหม่ในประเทศทดแทนการนำเข้า และ 5) เพ่ิมศักยภาพการ
ส่งออกยาเคมี สมุนไพร และชีววัตถุที่ผลิตในประเทศ ในการวิจัยครั้งนี้ ขอเสนอข้อเสนอแนะเชิง
นโยบายเพ่ือการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมดังนี้ 1) รัฐบาลควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนา
อุตสาหกรรมผลิตยาภายในประเทศให้สามารถพ่ึงพาตนเองได้ 2) รัฐบาลควรพัฒนาคุณภาพยา
โดยพัฒนาระบบและกลไกในการควบคุมยาให้มีประสิทธิภาพ และ 3) รัฐบาลควรให้การคุ้มครองและ
สนับสนุนการแข่งขันของอุตสาหกรรมยา ปกป้องผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตในประเทศ
ข
abstract:
ค
Abstract
Title Guidelines for the Management of the Pharmaceutical Industry to
Create Economic Strength and Sustainable Competition
Field Economics
Name Ms. Waraporn Wiraphuchong Couse NDC Class 66
The study on guidelines for the management of the pharmaceutical
industry to create economic strength and sustainable competition had the following
objectives: 1) study the problems and obstacles in producing drugs sufficient for
consumption in Thailand; 2) study the increase in the capacity to produce drugs for
export; and 3) suggest guidelines for the management of the pharmaceutical industry
to create economic strength and sustainable competition. Secondary data were
collected from research, academic documents and related literature, both from legal
codes and articles by related experts, and primary data from interviews with
executives who were operators of modern drug factories, operators of modern drug
factories, importers of modern drug in Thailand, and agencies related to modern drug
in Bangkok and its vicinity, data were analyzed using content analysis, comparative
analysis, synthesis of data, various theories, principles, and statistical analysis.
The research found that the problems and obstacles in producing drugs
sufficient for consumption in Thailand were as follows: 1 ) production problems, 2 )
cost, high prices of raw materials for drug production, 3) changing consumer behavior,
4) lack of experts, pharmacists, scientists and engineers in pharmaceutical factories, 5)
drug research and development, 6 ) lack of knowledge and understanding in drug
consumption, 7 ) rising wages, and 8 ) drug patents had been amended. In terms of
increasing the capacity to produce drugs for export, there were the following steps:
1 ) the government should support and assist in negotiations with trading partners
and regulations, 2 ) support the registration of drug formulas in trading partners'
countries, and 3) support cooperation between the government and private sectors
in research and development of herbal drugs, biological materials, and raw materials
to meet international standards. The guidelines for the management of the
pharmaceutical industry to create economic strength and sustainable competition
were as follows: 1) raise production standards, reduce costs, use modern machinery
and technology, 2) support and increase the potential for research and development
of innovative drugs, both chemical drugs, herbs, and biological substances,
domestically, 3 ) develop a government regulatory system to support research and
ง
development; 4 ) support the production of new generic drugs in the country to
replace imports, and 5 ) increase the potential for exporting chemical drugs, herbs,
and biological substances produced domestically. In this research, policy
recommendations for concrete development were as follows: 1) government should
promote and support the development of the domestic pharmaceutical industry to
be self-reliant, 2 ) government should develop the quality of drugs by developing
systems and mechanisms for effective drug control, and 3 ) government should
provide protection and support for competition in the pharmaceutical industry,
protecting domestic entrepreneurs or manufacturers.