เรื่อง: แนวทางการดำเนินงานของกองทัพบกรองรับสถานการณ์ความขัดแย้งเมียนมาภายหลังการยึดอำนาจการปกครอง พ.ศ. ๒๕๖๔,(วปอ.10215)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทหาร/Military
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี วรยส เหลืองสุวรรณ,(วปอ. 10215)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการดำเนินงานของกองทัพบกรองรับสถานการณ์ความขัดแย้ง
เมียนมาภายหลังการยึดอำนาจการปกครอง พ.ศ.2564
ลักษณะวิชา การทหาร
ผู้วิจัย พลตรี วรยส เหลืองสุวรรณ หลักสูตร วปอ. รุ่นท่ี 66
รายงานวิจัยนี้ทำการศึกษาพลวัตรความขัดแย้งเมียนมาภายหลังการยึดอำนาจ
การปกครอง พ.ศ.2564 โดยทำการสืบค้นระบุตัวแสดงท่ีเกี่ยวข้อง การดำเนินยุทธศาสตร์ และ
ประเมินสมรภูมิการสู้รบในพื้นท่ีต่าง ๆ ท่ีสำคัญท่ัวประเทศเมียนมา งานวิจัยค้นพบว่าสภาพแวดล้อม
ความขัดแย้งเมียนมาภายหลังการยึดอำนาจการปกครองมีลักษณะเฉพาะท่ีสามารถนิยามได้ว่าเป็น
“สงครามตัวแทนซ้อนสงครามตัวแทน” (A Proxy War within A Proxy War) ซึ่งมีลักษณะซับซ้อน
ในตัวเองอันเนื่องจากตัวแสดงภายนอกเข้าสนับสนุนกลุ่มต่าง ๆ ภายในระดับความขัดแย้งช้ันปฐมภูมิ
ในขณะท่ีตัวแสดงระหว่างประเทศภายนอกเข้าปฏิสัมพันธ์กับความขัดแย้งในระดับช้ันทุติยภูมิ
โดยตัวแสดงต่าง ๆ ท่ีเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งขับเคล่ือนกิจกรรมตามวาระและผลประโยชน์เฉพาะ
ของตนเอง ความขัดแย้งท่ีมีหลายระดับช้ันซ้อนทับกันเช่นนี้เป็นการยากต่อการผลักดันให้ได้มาซึ่ง
สันติภาพ และมีแนวโน้มเป็นสงครามยืดเย้ือ
นอกจากนี้ งานวิจัยได้ทำการวิเคราะห์ฉากทัศน์แห่งอนาคตต่อความขัดแย้งเมียนมา
โดยคาดการณ์ได้ว่าไม่ว่าคู่ขัดแย้งระหว่าง “สภาบริหารแห่งรัฐเมียนมา” (State Administrative
Council: SAC) – รัฐบาลกองทัพเมียนมา กับ “รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ” (National Unity
Government: NUG) จะกลับคืนสู่อำนาจในพื้นท่ีตอนในได้ในอนาคตอย่างสมบูรณ์ หรือไม่ว่าระดับ
การแข่งขันระหว่างสหรัฐอเมริกา-จีน จะเข้มข้นเพียงใด เมียนมาจะคงอยู่จมอยู่สภาวะความขัดแย้ง
ยืดเยื้อยากท่ีจะจบส้ิน ประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทยจะได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งเมียนมาใน
หลากหลายมิติ - มนุษยธรรม เศรษฐกิจ และพลังงาน ความเส่ียงท่ีจะเผชิญกับการปะทะอาวุธกับ
องค์กรกองกำลังชาติพันธุ์ติดอาวุธ (Ethnic Armed Organizations: EAOs) ภัยคุกคามทางไซเบอร์
สงครามข้อมูลข่าวสาร ท่ีจะลดทอนความน่าเช่ือถือของรัฐบาลไทยและกองทัพ ความท้าทายดังกล่าว
จำเป็นต้องใช้กรอบความคิดความมั่นคงแบบองค์รวม โดยกองทัพบก สามารถตอบสนองภายใต้
นโยบายด้านความมั่นคงและการต่างประเทศของรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีศิลป์ นายกรัฐมนตรี ด้วย
การเตรียมพร้อมเชิงรุก การปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารท่ีรวดเร็ว แน่นอน และปลอดภัย “การทูต 360
องศา” การสนธิหลักการมนุษยธรรมพื้นฐานสากลเข้ากับการปฏิบัติการทางทหาร การประสาน
สอดคล้อง ความพยายามด้านการข่าวกรอง และการรณรงค์ส่งเสริมหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
abstract:
ข
Abstract
Title “Approaches of the Royal Thai Army in Response to the Post-2021
Coup Conflict in Myanmar”
Field Strategy, Politics and Military
Name Maj.Gen. Warayot Laungsuwan Course NDC Class 66
This study investigates the dynamics of the post-2021 coup conflict in
Myanmar, delineating the principal actors involved, evaluating their strategic
approaches, and mapping the principal sites of conflict throughout the nation.
It posits that the ongoing strife in Myanmar exemplifies what can be termed a "Proxy
War within a Proxy War." Such conflicts are inherently complex, featuring external
powers that support varying factions within the primary conflict, while additional
international actors engage in secondary disputes, each pursuing distinct agendas.
This multilayered proxy engagement exacerbates the conflict's complexity, impedes
resolution efforts, and extends its duration.
Furthermore, the paper explores potential future scenarios for Myanmar,
evaluating whether the State Administrative Council (SAC) — Myanmar's military
government (Tatmadaw) or the National Unity Government (NUG) — will reclaim full
sovereignty in Burma's heartland. It also examines the extent to which the US-China
rivalry might perpetuate Myanmar's entrenched conflict. The regional repercussions,
particularly for neighboring Thailand, are profound, spanning security, humanitarian,
economic, and informational domains. Risks include skirmishes involving Ethnic
Armed Organizations along the border, repercussions from airstrikes and armed
drones, humanitarian crises, economic and energy insecurity, and cyber threats,
including targeted disinformation campaigns aimed at destabilizing the Thai
government and the Royal Thai Army. These multidimensional security challenges
necessitate a comprehensive response from the Royal Thai Army, under the
leadership of Prime Minister Srettha Thavisin, which should encompass offensive
military pre-deployment, advanced secure information dissemination, "360-degree
diplomacy," the integration of humanitarian principles within military operations,
coordinated intelligence efforts, and the promotion of an economy based on self-
sufficiency.