เรื่อง: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อการบริการกำลังพล,(วปอ.10210)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทหาร/Military
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี วรชัย อินทะกนก,(วปอ. 10210)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เร่ือง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม
เพ่ือการบริการกำลังพล
ลักษณะวิชา การทหาร
ผู้วิจัย พลตรี วรชัย อินทะกนก หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพ่ือศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้อยู่ในงานบริการ
กำลังพล ปัญหาอุปสรรคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม และ
วิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสมกับงานบริการกำลังพล
เพ่ือเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือการบริการกำลังพลให้สอดคล้องกับ
เป้าหมายของสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม โดยเก็บข้อมูลจาการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูล
ประกอบด้วย ตัวแทนจากผู้บริหารสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้แทนจากเจ้าหน้าที่ และผู้แทนจาก
ข้าราชการชั้นนายพลในฐานะผู้รับบริการ ทั้งนี้จากผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันการบริการด้านกำลังพล
ของสำนักปลัดกระทรวงกลาโหมมีทิศทางและมาตรฐานที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้
โปรแกรมสำเร็จรูปทั่วไปมากกว่าการใช้โปรแกรมเฉพาะทางที่พัฒนาจากความต้องการขององค์กร ทำ
ให้ไม่สามารถเชื่อมโยงบูรณาการข้อมูลร่วมกันได้อย่างเบ็ดเสร็จ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่มีทักษะด้าน
ดิจิทัลที่แตกต่างกันและขาดความตระหนักถึงการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อ
ความเชื่อมั่นในการให้บริการข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทั่วไป จากการวิเคราะห์แนวคิดในการ
ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศงานบริการกำลังพล พบว่า การดำเนินการจำเป็นต้องมีการบริหาร
จัดการและบูรณาการการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานไปในทิศทางเดียวกัน และมีกระบวนการ
การให้บริการข้อมูลด้วยความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง ปลอดภัย สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการ
กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายการพัฒนาด้านดิจิทัลในระดับชาติ การวิจัยครั้งนี้ได้
เสนอแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือการบริการกำลังพลในรูปแบบ PDSP (Process
- Data - System - People) ดังนี้ 1) การบริหารจัดการกระบวนการบริการกำลังพล (Management
Process) ที่มีการแต่งตั้งคณะทำงานที่บูรณาการการดำเนินการให้มีทิศทางเดียวกันทั้งในด้าน
โครงสร้างการจัดหน่วย (Organization Chart) ด้านนโยบาย กฎระเบียบข้อบังคับ (Policies and
regulations) โครงสร้างพ้ืนฐาน (Infrastructure) กำลังพล (Personnel) กระบวนการ (Process)
เทคโนโลยี (Technology) 2) การขับเคลื่อนของข้อมูล (Data Driven) เป็นการกำหนดมาตรฐาน
ข้อมูลให้เป็นแนวทางเดียวกันสอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และระเบียบคำสั่งที่เกี่ยวข้อง เพ่ือเป็นแหล่ง
ศูนย์ฐานข้อมูลกลาง (Data Centre) 3) การประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Applied
System) โดยรวบรวมและวิเคราะห์ ข้อมูลกำลังพล ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงสร้างพ้ืนฐาน
ความต้องการของผู้ใช้ เพ่ือพิจารณาเครื่องมือที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
สนับสนุนแต่ละด้านให้สามารถทำงานร่วมกันและ 4) การพัฒนากำลังพล (Personnel Development)
ในการจัดอบรมหลักสูตรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และประเมินทักษะความรู้ตามระดับตามทักษะ
ข
ดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เพ่ือให้เกิดการ Re-Skills Up-Skills และ New Skills ของกำลังพล รวมถึงการ
สร้างความตระหนักรู้ด้านดิจิทัล (Digital Mindset) เพ่ือกระตุ้นให้กำลังพลสร้างการเรียนรู้ และ
แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้วยตนเอง
abstract:
ค
Abstract
Title Information Technology Application of Office of the Permanent
Secretary for Defense Headquarters for personnel services
Field Military
Name Maj.Gen.Worachai Indakanaka Course NDC Class 66
The objectives of this research are to study information technology used
in personnel service work, problems and obstacles in using information technology in
the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Defense, and analyze the concept
of applying information technology appropriately to personnel service work in order
to propose guidelines for applying information technology to personnel service in
line with the goals of the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Defense.
Data were collected from in-depth interviews with informants, including
representatives from executives of the Office of the Permanent Secretary, Ministry of
Defense, representatives from officials, and representatives from general civil servants
as service recipients. The research results found that currently, personnel services of
the Office of the Permanent Secretary of the Ministry of Defense have different
directions and standards. Most of them use general ready-made programs rather than
specialized programs developed from the needs of the organization. This makes it
impossible to link and integrate data together completely. In addition, officers have
different digital skills and lack awareness of cybersecurity, which affects confidence in
providing personal and general information services. From the analysis of the
concept of applying information technology in personnel service work, it was found
that the operation requires management and integration of data linkages between
agencies in the same direction and a process for providing information services that
are convenient, fast, accurate, and secure, in line with the government action plan,
personal data protection law, and national digital development policy. This research
has proposed a guideline for applying information technology to personnel services
in the form of PDSP (Process - Data - System - People) as follows: 1 ) Personnel
service management process by appointing a working group to integrate the
operations to have the same direction in terms of Organization Chart, Policies and
regulations, Infrastructure, Personnel, Process and Technology. 2 ) Data Driven is the
setting of data standards in the same direction in accordance with the Personal Data
Protection Act (PDPA), the Cyber Security Act and related regulations to serve as a
central database source (Data Centre). 3) Information technology Application systems
ง
by collecting and analyzing personnel data, information technology systems,
infrastructure, and user needs to consider appropriate tools for developing
information technology systems to support each aspect to work together.
4) Personnel Development: In organizing training courses in information technology
and continuously evaluating skills and knowledge at the level of digital skills to
create Re-Skills, Up-Skills and New Skills of personnel, including creating digital
awareness (Digital Mindset) to encourage personnel to create learning and exchange
knowledge by themselves.