เรื่อง: แนวทางการปฏิรูปกฎหมายผังเมืองเพื่อสอดคล้องกับเศรษฐกิจ,(วปอ.10206)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย ลิลิต กัมมารังกูร,(วปอ. 10206)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เร่ือง แนวทางการปฏิรูปกฎหมายผังเมืองเพ่ือสอดคล้องกับเศรษฐกิจ
ลักษณะวิชา การเมือง
ผู้วิจัย นายลิลิต กัมมารังกูร หลักสูตร วปอ. รุ่นที ่ ๖๖
การศึกษาเรื่อง แนวทางการปฏิรูปกฎหมายผังเมืองเพ่ือสอดคล้องกับเศรษฐกิจ
มีวัตถุประสงค์เพ่ือ ๑) เพ่ือศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรคที่กระทบจากกฎหมายผังเมือง และความ
เป็นธรรมในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมและภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง ๒) เพ่ือศึกษาแนวคิด และหลักการ
ของกฎหมายผังเมือง และการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม และภาษี
อากรที่เกี่ยวข้อง และ ๓) เพ่ือแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายผังเมืองที่สอดคล้องกับการพัฒนา
เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการใช้ที่ดินที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งสนับสนุน
และเสริมสร้างการพัฒนาประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลการวิจัย พบว่า จากการวิจัยพบว่าปัญหาการอุทธรณ์เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ในพ้ืนที่ที่มีการประกาศใช้ผังเมืองรวม ส่งผลกระทบต่อสิทธิของเจ้าของที่ดินในการใช้ประโยชน์
จากที่ดินเดิมที่ขัดต่อนโยบายผังเมือง โดยกฎหมายผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ เปิดโอกาสให้เจ้าของที่ดิน
สามารถอุทธรณ์การตัดสินของคณะกรรมการผังเมืองหรือต่อศาลปกครองได้ กระบวนการนี้
ช่วยควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองให้เป็นไปตามกฎหมาย ในด้านการปรับปรุงกฎหมาย
ผังเมืองเพ่ือให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้ อม การปรับปรุงสามารถ
ทำได้ผ่าน ๔ วิธี ได้แก่ การแก้ไขกฎหมายปัจจุบัน การจัดทำกฎหมายใหม่ การปรับปรุงกฎระเบียบ
และการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับแนวทางแก้ปัญหาค่าธรรมเนียมและภาษีอากรที่
ไม่เป็นธรรมการวิจัยเสนอ ๗ แนวทาง เช่น การปรับปรุงระบบการประเมินมูลค่าที่ดิน การกำหนด
อัตราภาษีตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการลดสิทธิพิเศษทางภาษีที่ไม่เป็นธรรม การวิเคราะห์
TOWS Matrix นำเสนอแนวทางกลยุทธ์ SO, WO, ST, และ WT ที่ เน้นการพัฒนาและปรับปรุง
กระบวนการจัดการที่ดิน การเพ่ิมประสิทธิภาพในการเก็บภาษี การใช้เทคโนโลยี และการพัฒนา
บุคลากรเพ่ือแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
การข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพ่ือปฏิรูปกฎหมายผังเมืองเน้นการสร้างกรอบนโยบาย
ที่ชัดเจนเพ่ือสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว พร้อมทั้งพัฒนาระบบการมีส่วนร่วม
ที่ครอบคลุมทุกภาคส่วน โดยใช้เวทีสาธารณะและสื่อดิจิทัลในการรวบรวมความคิดเห็น นอกจากนี้
ยังส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น GIS เพ่ือการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ และปรับปรุง
กฎหมายให้มีความยืดหยุ่น เพ่ือตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคม พร้อมทั้ง
จัดตั้งกลไกการประสานงานระหว่างหน่วยงานรัฐและพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพ่ือ
เพ่ิมประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
abstract:
ข
Abstract
Title Guidelines for Reforming Urban Planning Laws to Align with
Economic Development
Field Political Science
Name Mr. Lilit Kammarangoon Course NDC Class 66
This study aims to explore guidelines for reforming urban planning laws to
align with economic development. The objectives are: 1) to investigate the issues and
obstacles caused by urban planning laws and the fairness of fee and tax collection
related to land use; 2) to examine the concepts and principles of urban planning laws
and land use regulations for fee and tax collection; and 3) to propose ways to
improve urban planning laws to support social, economic, and environmental
development, ensuring effective land use that promotes economic growth and
national development in Thailand.
The research findings reveal that issues related to land use appeals in
areas where urban planning has been implemented adversely affect landowners'
rights to utilize their property in accordance with existing land policies. The Urban
Planning Act of 1975 allows landowners to appeal decisions made by urban planning
committees or to administrative courts. This process helps ensure that the exercise of
administrative power complies with the law. Regarding the improvement of urban
planning laws to align with social, economic, and environmental development, four
methods can be utilized: amending existing laws, creating new legislation, updating
regulations, and leveraging technology and innovation. For addressing unfair fees and
taxes, the study proposes seven strategies, such as enhancing land valuation
assessment systems, establishing tax rates based on land use, and reducing unjust tax
privileges. The TOWS Matrix analysis provides strategic guidelines-SO, WO, ST, and WT-
that focus on land management improvements, tax collection efficiency, technology
utilization, and personnel development for effective problem-solving.
Policy recommendations for urban planning law reform emphasize
creating a clear policy framework to support long-term economic development,
developing an inclusive participation system utilizing public forums and digital media
ค
for feedback collection, promoting the use of information technology, such as
Geographic Information Systems (GIS) for effective planning, and enhancing the
flexibility of laws to adapt to economic and social changes. Additionally, establishing
coordination mechanisms among relevant government agencies and continuously
developing personnel capabilities will enhance management efficiency.