Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนางานวิจัยและพัฒนาเพื่อการดำรงสภาพยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก,(วปอ.10200)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ระวี ตั้งพิทักษ์กุล,(วปอ. 10200)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนางานวิจัยและพัฒนาเพื่อการดำรงสภาพยุทโธปกรณ์ของ กองทัพบก ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลตร ีระวี ต้ังพิทักษ์กุล หลักสูตร วปอ. รุ่นที ่ ๖๖ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาวิธีการและแนวทางในการพัฒนาและดำรงสภาพยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก เพื่อให้มียุทโธปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ ใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและเชื่อถือได้ โดยวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหา อุปสรรค และการบริหารจัดการการวิจัยและพัฒนาเพื่อการดำรงสภาพ ยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก การศึกษาแนวทางการพัฒนางานวิจัยและพัฒนาในเหล่าทัพต่างๆ และสังเคราะห์ ต้นแบบแนวทางการพัฒนางานวิจัยและพัฒนาของกองทัพบกในอนาคต ขั้นตอนการวิจัยใช้วิธีการเก็บรวบรวม ข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนาม จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ๑๙ คน ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนา เพื่อการดำรงสภาพยุทโธปกรณ์ ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์สถานการณ์ : การวิจัยและพัฒนาเพื่อดำรงสภาพ ยุทโธปกรณ์ของกองทัพบกมีความจำเป็น เนื่องจากยุทโธปกรณ์มีอายุการใช้งานมานาน บางรายการไม่สามารถ จัดหาอะไหล่เพื่อการซ่อมได้ หรืออะไหล่บางรายการจัดหาโดยการสั่งผลิต ซึ่งจะมีราคาแพงมาก งบประมาณ ในการจัดหายุทโธปกรณ์ใหม่ทดแทนมีจำกัด จึงจำเป็นต้องใช้ยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่ต่อไป งานวิจัยจะช่วยพัฒนา ทรัพยากรบุคคล ลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ และได้ชิ้นส่วนที่ได้จากงานวิจัยจะมีเทคโนโลยีสูงขึ้น สภาพปัญหา และอุปสรรค : ยุทโธปกรณ์ทางทหารมีเทคโนโลยีที ่ซ ับซ้อนและหลากหลาย การเข้าถึงยุทโธปกรณ์ สำหรับการเข้าศึกษา การทดสอบ และทดลองในหน่วยทหารทำได้ยาก ผู้ใช้งานขาดความเชื่อมั่นผลงานที่เกิดขึ้น จากงานวิจัยในประเทศ เนื่องจากยังไม่มีการทดสอบมาตรฐาน กระบวนการวิจัยใช้เวลานาน งานวิจัยที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของกองทัพบก การวิจัยและพัฒนาเพื่อดำรงสภาพของเหล่าทัพ ส่วนใหญ่ ใช้หลักการวิศวกรรมย้อนรอย กองทัพบกและกองทัพเรือใช้ผลงานวิจัยชิ ้นส่วนที ่ไม่สลับซับซ้อนมาก ส่วนกองทัพอากาศทำได้ยากเนื่องจากเป็นยุทโธปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูง และมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของ กำลังพล และสิ ่งที ่สำคัญที ่สุดคือ การวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์ทางทหารเป็นกระบวนการที ่ต้องการ การวางแผนและการจัดการที ่ด ี เพื ่อให้สามารถตอบสนองความต้องการและความพร้อมรบของกองทัพ ได้อย่างเหมาะสม ข้อเสนอแนะของงานวิจัยนี้คือ ควรมีการสนับสนุนงบประมาณให้เพียงพอและครอบคลุม ทั้งกระบวนการจนถึงการทดสอบมาตรฐาน มีมาตรการจูงใจและมาตรการบังคับให้มีการจัดหายุทโธปกรณ์ และชิ้นส่วนที่มาจากงานวิจัยเพื่อเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมภาคเอกชน ให้มีบทบาทในการพัฒนาเทคโนโลยี รวมทั้งลดขั้นตอนและอุปสรรคในการนำเข้าวัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี และผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศโดยอาจใช้มาตรการผ่อนปรนทางด้านภาษีและอื่น ๆประกอบ

abstract:

ข Abstract Title Guidelines for the Development of Research and Development for the Maintenance of Army Ordnance. Field Military Name Major General Rawee Tangpitakkul Course NDC Class 66 This research aims to analyze the challenges and management of research and development (R&D) for equipment maintenance across various military branches. It synthesizes a prototype approach for future R&D aligned with the army's operational needs. The methodology includes document analysis and fieldwork, gathering data from 19 key informants involved in military R&D. Findings highlight that long-term equipment use and budget constraints necessitate effective R&D. Challenges include complex technology, lack of standardized testing, and time-consuming processes that often don’t align with military needs. Reverse engineering is commonly used, with the army and navy focusing on simpler parts, while the air force faces higher technological barriers. Recommendations include increasing budget support, incentivizing private sector involvement in technology development, and easing import restrictions on materials, equipment, and expertise. These measures aim to enhance R&D management, meet the army's operational requirements, and improve overall readiness.