เรื่อง: ความเป็นไปได้ของการขุดคลองเชื่อมมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิกขอไทย,(วปอ.10199)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลโท รณวีร์ หิรัญสิ,(วปอ. 10199)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง ความเป็นไปได้ของการขุดคลองเช่ือมมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทร
แปซิฟิกของไทย
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย พลโท รณวีร์ หิรัญส ิ หลักสตูร วปอ. รุน่ที่ 66
งานวิจัยเรื่อง ความเป็นไปได้ของการขุดคลองเช่ือมมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทร
แปซิฟิกของไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของโครงการขุด
คอคอดกระ สภาพปัญหา และอุปสรรคของโครงการขุดคอคอดกระของประเทศไทยตั้งแต่อดีต
จนถึงปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์ผลประโยชน์แห่งชาติที่คาดว่าประเทศไทยจะได้รับภายใต้เงื่อนไข
สภาพภูมิรัฐศาสตร์ในปัจจุบัน และเพื่อเสนอแนะแนวทางความเป็นไปได้ในการด าเนินโครงการ
ขุดคอคอดกระของประเทศไทย ด้วยการใช้กรอบแนวคิดเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แนวคิด
เรื่องผลประโยชน์แห่งชาติ และแนวคิดเรื่องภูมิรัฐศาสตร์
จากการวิจัยพบว่า โครงการขุดคอคอดกระมีพัฒนาการมาตั้งแต่อดีต ปรากฏหลักฐาน
ชัดเจนในสมัยรัชกาลที่ 1 ด้วยผลประโยชน์จากการรบกับพม่า ต่อมาเมื่อความขัดแย้งทางอ านาจ
ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสชัดเจนมากข้ึน ประเทศไทยต้องรักษาดุลยภาพทางอ านาจ จึงปฏิเสธไม่ให้
ฝ่ายใดได้รับสัมปทานขุดคอคอดกระ จนกระทั่งหลัง ความตกลงสมบูรณ์แบบเพื่อเลิกสถานะสงคราม
ระหว่างประเทศไทยกับบริเตนใหญ่และอินเดีย สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2497 ท าให้รัฐบาลไทยสามารถ
ออกจากข้อจ ากัดเรื่องการขุดคลองลงไปได้ หลังจากนั้นมีการศึกษาวิจัยการขุดคลองคอคอดกระ
เป็นจ านวนมาก ซึ่งสรุปผลการศึกษาแตกต่างกัน ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
เมื่อพิจารณาพัฒนาการของการศึกษาโครงการขุดคอคอดกระตั้งแต่อดีต ร่วมกับ
กรอบแนวคิดเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติ และภูมิรัฐศาสตร์ แสดงให้เห็นความคลาดเคลื่อนในการท า
ความเข้าใจปัญหาเรื่องความมั่นคง การสูญเสียอ านาจอธิปไตยจากการแบ่งแยกดินแดนในยุค
จักรวรรดินิยมนั้นประเทศไทยเป็นประเทศขนาดเล็ก ที่อยู่ท่ามกลางการแข่งขันของประเทศ
มหาอ านาจสองประเทศ ซึ่งบริบทดังกล่าวได้เลือนหายไปแล้วในปัจจุบัน และภายใต้ความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศในยุคใหม่ และสถานการณ์การค้าทางทะเลที่เติบโตมากข้ึนเรื่อยๆ ความเป็นไปได้
ของการขุดคลองเช่ือมมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิกของไทย จึงยังคงเป็นสิ่งที่ด ารงอยู่
และควรมีการศึกษาต่อไป เพื่อให้สังคมไทยได้รับข้อมูลอย่างกว้างขวาง ครอบคลุม และควรมีการ
พัฒนามุมมองที่ใช้ในการศึกษาให้ก้าวข้ามข้อสรุปที่ตายตัวในอดีต ที่ไม่เหมาะสมกับบริบทร่วมสมัย
abstract:
ข
Abstract
Title The Possibility of the Canal Project Linking the Indian Ocean
and the Gulf of Thailand
Field Economics
Name Major General Ronawee Hirunsi Course NDC Class 66
Historical evidence shows that the Kra Isthmus excavation project has been
in development for quite some time. During the reign of King Rama I, the project was first
conceived as a strategic advantage against Burmese incursions. As the power struggle
between England and France intensified, Thailand had to maintain a balance of power
and therefore declined to grant concessions to either party for the excavation of the Kra
Isthmus. It was not until after the end of the Formal Agreement for the Termination of
the State of War between Siam and Great Britain and India in 1954 that the Thai
government was free to reconsider the canal project. Since then, numerous studies have
examined the feasibility of the Kra Isthmus canal, with differing opinions both in favor
and against it.
When examining the development of the Kra Isthmus excavation project in
conjunction with concepts of national interest and geopolitics, a critical issue arises: the
misunderstanding of security concerns and the potential loss of sovereignty due to
separatist movements. During the imperial era, Thailand was a small nation caught
between two superpowers, leading to cautious political maneuvers. This context,
however, has now changed. Modern international relations and growing maritime trade
present new opportunities.
Given these contemporary conditions, the possibility of digging a canal that
connects the Indian Ocean to Thailand's Pacific coast remains viable. It is imperative to
conduct further studies to provide Thai society with comprehensive and updated
information. The perspectives used in these studies should evolve beyond outdated
conclusions that may no longer be applicable to today's context. In this way, Thailand
can make informed decisions that align with current geopolitical and economic realities