เรื่อง: แนวทางการพัฒนาบทบาทของ ทร. ในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลในเวทีระหว่างประเทศ,(วปอ.10198)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลเรือตรี ยศพงศ์ เดชะคุปต์,(วปอ. 10198)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการพัฒนาบทบาทของ ทร. ในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล ในเวทีระหว่างประเทศ
ลักษณะวิชา การเมือง
ผู้วิจัย พลเรือตรี ยศพงศ์ เดชะคุปต์ นักศึกษา วปอ. รุ่นที่ ๖๖
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาวิธีสร้างการยอมรับและเชื่อถือ และการสร้าง
อัตลักษณ์ให้เป็นที่จดจำตามแนวคิดการสร้างแบรนด์ (Branding) รวมทั้งการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดการสร้างแบรนด์นั้น สามารถนำไปใช้อธิบายการสร้างบทบาทนำของ ทร. ต่างประเทศที่ได้มีการดำเนินการเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลแล้วประสบความสำเร็จ ๒) รวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงซึ่งประกอบด้วย สภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงทางทะเล การบริหารราชการ ทร. ในมิติระดับนโยบาย และการดำเนินการเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลของ ทร. ในเวทีระหว่างที่ผ่านมา เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ปัญหาของ ทร. ๓) วิเคราะห์ข้อมูลและข้อเท็จจริงอันนำไปสู่การบ่งชี้ปัญหาของ ทร. ที่ทำให้การเสริมสร้างความร่วมมือทางทะเลในเวทีระหว่างประเทศของ ทร. ที่ทำแล้ว ไม่สามารถสะท้อนต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ในการมีบทบาทนำในภูมิภาค
กับสังเคราะห์วิธีการหรือกลยุทธ์ในการปรับปรุงกลไกที่ถือเป็น “จุดรวมแสง (Focal Point)” ให้สามารถทำหน้าที่ในการเสริมสร้างความมั่นคงทางทะเลของ ทร. ในเวทีระหว่างประเทศได้อย่างแท้จริง และ ๔) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาบทบาทของ ทร. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลของ ทร. ในเวทีระหว่างประเทศ
ผลการวิจัย พบว่า แบรนด์ คือ วิธีสร้างการยอมรับและเชื่อถือ ด้วยการสร้างอัตลักษณ์ให้เป็นที่จดจำที่ตราตรึงอยู่ในใจลูกค้าผ่าน สัญลักษณ์ เครื่องหมายการค้า ชื่อเรียกสินค้าที่สร้างความแตกต่าง คุณค่าที่บ่งบอกถึงอัตตลักษณ์อันทรงคุณค่า ที่คู่แข่งขันไม่สามารถเอาชนะได้ และการคงอยู่ของสินค้าและบริการในสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นการสร้างองค์ประกอบของตัวสินค้ามาเปลี่ยนเป็นคุณค่า (Value) เพื่อสร้างภาพจำให้เกิดขึ้นสะสมอยู่ในสมอง ทั้งนี้แบรนด์ที่มีความแข็งแกร่งนั้น มิได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ต้องอาศัยกระบวนการสร้างแบรนด์ (Branding) ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างการยอมรับและเชื่อถือ ประกอบด้วย ๓ ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นตอนการวิเคราะห์แบรนด์ (Brand Analysis) ขั้นตอนการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (Target Market Segmentation) และขั้นตอนการปฏิบัติการสร้างแบรนด์ (Branding Implementation) โดยแต่ละขั้นตอนหลักจะประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ทั้งนี้การศึกษาพบว่าในแต่ละขั้นตอนหลักนั้นจะมีการพิจารณาที่เป็นอิสระต่อกัน รวมถึงรายละเอียดการพิจารณาในขั้นตอนย่อยต่าง ๆ ก็มีการพิจารณาเป็นอิสระต่อกันด้วย และเมื่อนำกระบวนการสร้างแบรนด์นี้ มาศึกษาเปรียบเทียบกับการดำเนินการเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลระหว่างประเทศของ ทร.สป. และ ทร.อซ. ที่ถือได้ว่าประสบความสำเร็จแล้ว สามารถอธิบายการดำเนินการของทั้ง ๒ ประเทศได้ตามกระบวนสร้างแบรนด์ จึงสรุปได้ว่า กระบวนการสร้างแบรนด์นี้สามารถนำไปใช้ออกแบบการดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์การมีบทบาทนำได้
การศึกษาสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงระดับโลกใน ๑๕ ปีข้างหน้า และสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงภูมิภาค ทำให้ทราบ แนวโน้ม แรงบังคับ สิ่งท้าทาย ในขณะเดียวกันยังพบว่า ยังแสดงถึง “ตัวแสดง แรงบังคับ และโอกาส” โดยเฉพาะโอกาสที่ทำให้ประเทศในภูมิภาคต้องหันกลับไปให้ความสำคัญกับ ความร่วมมือด้านความมั่นคงร่วม (Collective Security) ภายใต้การนำประเด็นการรักษาผลประโยชน์ร่วม (Common Interests) ในขณะที่การศึกษาแนวคิดในการบริหารราชการ ทร. ในมิติระดับนโยบายนั้น ทำให้ทราบถึงการออกแบบกลไกการบริหาร ที่มีลักษณะถ่ายทอดจากโครงสร้างส่วนบนไปสู่การปฏิบัติของโครงสร้างส่วนล่าง (Top Down) โดยมีลักษณะเป็นการสร้าง “ข้อผูกมัด” (Commitment) ที่ ทร. ต้องมีกระบวนการบริหารจัดการเพื่อให้ “องคาพยพ” ต่าง ๆ ของกองทัพดำเนินไปได้อย่างมี “ทิศทาง” และสามารถวัดความสำเร็จได้ด้วยการกำหนด “หลักไมล์” เมื่อผสมผสานกับคุณลักษณะของกำลังทางเรือมีความสามารถที่หลากหลาย (Versatility) จึงถูกนำมาใช้เป็น “ปฐมบท” ในการออกแบบวิสัยทัศน์ ทร. ที่แสดงออกถึง “ความทะเยอทะยาน (Ambition)” ในการมี “บทบาทนำในภูมิภาค” ซึ่งได้รับการอธิบายขยายความด้วยการกำหนดเป้าหมายหลักที่ต้องการสร้าง “การยอมรับและเชื่อถือ” จากประเทศในภูมิภาคอาเซียน
ทั้งนี้เมื่อศึกษาการดำเนินการและผลลัพธ์จากการดำเนินงานด้านความมั่นคงทางทะเลในเวทีระหว่างประเทศของ ทร. ตั้งแต่ริเริ่มวิสัยทัศน์แล้วชี้ให้เห็นว่า แม้จะบรรลุวัตถุประสงค์ในนโยบายของหน่วยเหนือด้วยการมีส่วนร่วม และสามารถสร้างบรรยากาศความไว้เนื้อเชื่อใจ ลดความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือในการดำเนินการแก้ปัญหาร่วมกัน แต่ก็เป็นเพียงความทรงจำในระยะสั้น ตลอดห้วงเวลา ๒ - ๓ ปี ที่ ทร. เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมหรือร่วมกิจกรรม หรือไม่ก็เป็นประธานในกิจกรรมนั้น ๆ เท่านั้น ในขณะที่เป้าหมายหลักตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ยังไม่ได้มีการกระทำใด ๆ จึงอาจกล่าวได้ว่า การเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลในเวทีระหว่างประเทศที่ผ่านมา เป็นไปในลักษณะเลือกดำเนินการ “ตามโอกาส” จึงทำให้ “ขาดการริเริ่ม” ในขณะที่การดำเนินการของ ทร.ในแต่ละปีมีจำนวนมาก ซึ่งเมื่อเทียบกับผลลัพท์ที่ต้องการแล้ว กลับไม่สะท้อนถึงการมีบทบาทนำ จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นการ “ทำเยอะแต่ไม่ตรงเป้า”
ปรากฏการณ์ข้างต้นสามารถอธิบายได้ด้วยแบบจำลองการกำหนดยุทธศาสตร์ของ Henry C. Bartlett. คือ การเกิด“ภาวะความไม่สมดุลย์ระหว่างตัวแปรสําคัญ”(Ends Ways Means Mismatch) โดย ตัวแปร Ways หรือ วิธีดำเนินการนั้น เป็นตัวแปรที่มีความแปรผัน จึงนำไปสู่ความจำเป็นที่ต้องปรับปรุง ทั้งนี้การศึกษาการบริหารราชการ ทร. ในมิติระดับนโยบายพบว่า แผนแม่บทการพัฒนา ทร. ด้านยุทธการและการฝึกนั้น มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล ที่ไม่สามารถทำหน้าที่เป็น “จุดรวมแสง (Focal Point)” หรือ จุดที่เป็นหัวใจสำคัญ ในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ ไปสู่การปฏิบัติที่สื่อได้ถึงวิธีการบรรลุเป้าหมายหลักต่อการมีบทบาทนำได้อย่างแท้จริง ในขณะที่การศึกษาสภาพองค์กรด้วยวิธีการ SWOT analysis ชี้ให้เห็น “โอกาส” ในการมุ่งสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงร่วม (Collective Security) หรือภายใต้การนำประเด็นการรักษาผลประโยชน์ร่วม (Common Interests) นั้น เมื่อนำมาผสมผสานกับกระบวนการสร้างแบรนด์ สามารถสรุปเป็น ตัวแบบแนวทางการพัฒนาบทบาทของ ทร. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลในเวทีระหว่างประเทศ ตามแนวคิดกระบวนการสร้างแบรนด์ (Model of Branding Navy For Enhancing Maritime Security Cooperation)
ที่สามารถนำไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้
แนวทางการพัฒนาบทบาทของ ทร. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลในเวทีระหว่างประเทศภายใต้กระบวนการสร้างแบรนด์นี้ ได้นำเสนอแนวคิดในการตั้ง ศูนย์ช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์เพื่อมนุษยธรรมอาเซียน ภายใต้การบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ เพื่อทำหน้าที่การบริหารจัดการรวบรวมและขนส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ไปถึงผู้ที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ ด้วยการการนำอัตลักษณ์ของคนไทยที่ว่า “คนไทยใจดี” มาเป็นอัตตลักษณ์หลักของ ทร. นำไปสู่การเสนอ “จุดขาย” โดยสามารถกำหนดตำแหน่งของศูนย์นี้ ให้เป็น “ตลาดเล็ก ๆ อันทรงคุณค่า” ด้วยเนื้องานที่มีความแตกต่างจากคู่แข่งที่สามารถสอดประสานงานร่วมกันได้ และยังไม่มีประเทศใดดำเนินการอย่างจริงจัง ทั้งนี้งานวิจัยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญคือ การขยายผลของการสร้างแบรนด์ ทร. ด้วยการนำแนวคิดกระบวนการสร้างแบรนด์นี้ ไปประยุกต์ต่อยอดในแผนแม่บทการพัฒนา ทร.
ด้านต่างๆ เพื่อให้ “ก้าวเล็ก ๆ ในครั้งนี้ จะเป็นก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ของ ทร. ในครั้งต่อไป”
abstract:
Abstract
Title The guidelines of the Royal Thai Navy in developing diplomatic roles for Enhancing Maritime Security Cooperation in the international arena
Field Politics
Name Rear Admiral Yotspong Dechacoob Course NDC Class 66
The objectives of this research are 1) to Study for building perception and reputation and how to create a memorable identity, which is the core concept of brand, and to comparative study of branding concepts, which can be used to explain the sussessful of leading role of maritime security cooperation by foreign navies. 2) to collect data and facts that consist of the maritime security environment, the Royal Thai Navy (RTN) policy, and the RTN's activities for enhancing maritime security cooperation in past. 3) to analyze data and facts in order to lead the RTN's problems that obstructed it’s efforts for enhancing maritime cooperation in the international arena. And to synthesize the methods for improving "the Focal Points" that lead to perform in reality. And 4) to suggest guidelines for the Royal Thai Navy in developing diplomatic roles for Enhancing Maritime Security Cooperation in the international arena.
The research found that brand is the perception and reputation building that create a memorable identity in customer mind by using symbols, trademarks, product names which create differences, and values of identity that competitors cannot overcome, and create the persistence of products and services in various environments. Brand, in the other word, is the creation of product components that can be transformed to value and accumulated in customer brain. However, a strong brand does not occur by itself. It requires the branding, which consists of three processes: brand analysis, target Market Segmentation. and the process of branding implementation. Each of processes consists of sub-processes. The research show that both processes and sub-processes have been considered independent and lead to explain the successful of maritime security activities of the Singaporean Navy and the Indonesian Navy. Therefore, this research can be initial conclusion that branding is a tool for designing maritime security activities in order to achieve the regional leading roles of the RTN vision.
The study of the global security environment over the next 15 years and the regional security environment reveals trends, forces and challenges. At the same time, it is also found actors, forces and opportunities. The opportunities, in particular,
จ
caused of countries in the region to turn back to the concept of collective security and common interests. While studying the concept of the RTN administration reveals the impotant mechanism that creating commitmens, directions and milestones. Moreover, the characteristics of a naval force that call “versatility” is the first “Chapter” of the RTN vision which expresses ambition that is “leading role in the region”. This is elaborated by setting the main goal of creating perception and reputation from countries in the ASEAN. When studying the activities of the RTN in maritime security cooperation arena since the RTN vision initiation, it shows only the achieving of political objectives that create trust and understanding including reduce mutual suspicion. However, the achieving is only a short-term memory of ASEAN and all participant. While the main goals as stated in the vision have not been implemented. Therefore, it can be said that all activities of maritime security cooperation in the past have been only selective and opportunistic. The research show that the desired results do not reflect the regional leading roles of the RTN vision or “doing a lot but not meeting the target”, when compare with the naval forces that provide for maritime security cooperation activities in each year,
The phenomenon above can be explained by Henry C. Bartlett's strategic model which call “Ends Ways Means Mismatch”. This model leads to improve the RTN’s master plan in the section of operation and training development, which its content related to enhancing cooperation in maritime security. Because of it can not act as a “focal point” for translation from vision and strategy into action. The research show that the combination of branding and the study of the organizational conditions by SWOT analysis can be summarized as the model of guidelines of the RTN in developing diplomatic roles for Enhancing Maritime Security Cooperation in the international arena. That can be used to solve the RTN’s problem.
The guidelines of the RTN in developing diplomatic roles for Enhancing Maritime Security Cooperation in the international arena under this branding process, which is mentioned above, provides the idea of establishment the ASEAN Humanitarian Assistance and Relief Aids Centre. This centre brings the Thai identity of “Kind Thais” as the RTN’s memorable identity in order to promote selling point, which is to collect and transport of relief supplies to victims of natural disasters under professional management. The centre has a brand position as a small valuable market that offering a different nature of work from competitors and no country has taken serious action yet. Finally, this research has an important recommendation, which is to expand the results of the RTN branding by applying concept of branding into further develop the RTN’s master plan in order to make a small step become a big leap for the Royal Thai Navy in the future.