เรื่อง: แนวทางการผลิตไฮโดรเจนด้วยพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน,(วปอ.10190)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย ภาณุ โชคอภิรัตน์,(วปอ. 10190)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เร่ือง แนวทางการผลิตไฮโดรเจนด้วยพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตรแ์ละเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นายภาณุ โชคอภิรัตน์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาเทคโนโลยีการผลิตไฮโดรเจนด้วยพลังงานสะอาด
อย่างยั่งยืน ศักยภาพของแหล่งพลังงานสะอาดในประเทศไทยที่สามารถใช้ผลิตไฮโดรเจน และเสนอ
แนวทางการผลิตไฮโดรเจนจากเชื้อเพลิงสะอาดที่มีความยั่งยืนของไทย ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาโดย
ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและข้อมูลทุติยภูมิ
จากการศึกษาทบทวนเอกสาร และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
เทคโนโลยีที่ใช้ผลิตไฮโดรเจนด้วยพลังงานสะอาดในปัจจุบันโดยเรียงลำดับตามประสิทธิภาพ ได้แก่
การผลิตไฮโดรเจนจากพลังงานน้ำ การแยกน้ำด้วยไฟฟ้าโดยใช้แผงโซลาร์เซลล์หรือกังหันลมในการ
ผลิตกระแสไฟฟ้า การผลิตไฮโดรเจนจากพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ การผลิตไฮโดรเจนจากชีว
มวล และการผลิตไฮโดรเจนจากพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งนี้ การผลิตไฮโดรเจนจากชีวมวลและจาก
พลังงานแสงอาทิตย์จะมีต้นทุนสูงกว่าวิธีอ่ืน ที่สำคัญ การผลิตไฮโดรเจนจากชีวมวลยังมีการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจกอีกด้วย ศักยภาพของไทยด้านแหล่งพลังงานสะอาด ประกอบด้วย 1) พลังงานน้ำ
สามารถผลิตได้จากเขื่อนและระบบอ่างเก็บน้ำ โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันตก 2) พลังงาน
ลม สามารถผลิตได้ในพ้ืนที่ชายฝั่งทะเลและพ้ืนที่ที่มีความเร็วลมสูง 3) พลังงานแสงอาทิตย์ สามารถ
ผลิตได้ตลอดทั้งปี โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางมีศักยภาพในการผลิตพลังงาน
แสงอาทิตย์สูงกว่าภาคอ่ืน 4) พลังงานความร้อนใต้พิภพ สามารถผลิตได้ในบางพ้ืนที่ที่มีแหล่งน้ำร้อน
ใต้ดิน 5) พลังงานชีวมวล สามารถผลิตได้เนื่องจากมีเศษวัสดุทางการเกษตรและของเหลือจากการ
ผลิตอาหารในปริมาณมาก และ 6) ก๊าซธรรมชาติ ถือเป็นเชื ้อเพลิงทางเลือกที่สามารถทดแทน
เบนซินและดีเซลได้ สำหรับแนวทางที่เหมาะสมในการผลิตไฮโดรเจนด้วยพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน
ของไทย ได้แก่ 1) การพัฒนาตลาดและสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใช้ โดยเน้นตลาดกลุ่มโรงไฟฟ้า การใช้
เชิงความร้อนในภาคอุตสาหกรรม และการใช้ในภาคขนส่ง 2) การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา
อุตสาหกรรมในประเทศ 3) การพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐาน ทั้งระบบโครงข่ายท่อก๊าซธรรมชาติรองรับ
การใช้เชื้อเพลิงผสมร่วมกับไฮโดรเจน สถานีเติมไฮโดรเจน และโครงสร้างพ้ืนฐานอ่ืน ๆ ที่เกี่ยวข้อง
และ 4) การปรับปรุงกฎระเบียบและมาตรฐานเกี่ยวกับการใช้ในภาคพลังงานโดยตรง เนื่องจาก
ปัจจุบันยังไม่มีการใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงในประเทศไทย แนวทางการผลิตไฮโดรเจนด้วยพลังงาน
สะอาดอย่างยั่งยืนที่เสนอในการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการวางแผนและกำหนด
นโยบายในการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมไฮโดรเจนที่เหมาะสมกับประเทศไทยได้ อันจะก่อให้เกิด
การขยายตัวของอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมข้ึนในประเทศไทย นำไปสู่สังคมแห่งความเป็น
กลางทางคาร์บอน จนถึงสังคมท่ีมีการปลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ในที่สุด
abstract:
ข
Abstract
Title Guidelines for sustainable hydrogen production using clean fuels
in Thailand
Field Science and Technology
Name Mr. Panu Chokapirat Course NDC Class 66
This research aimed to study sustainable hydrogen production
technology using clean energy and the potential of clean energy sources in Thailand
for hydrogen production, as well as to propose guidelines for sustainable hydrogen
production using clean fuels in Thailand. The study adopted qualitative research
methodology to collect primary data through in-depth interviews and secondary data
through literature review. Data were analyzed by using content analysis. The research
findings indicate that the current technologies for producing hydrogen using clean
energy, ranked by efficiency, include: hydrogen production from hydropower, water
electrolysis using electricity generated from solar panels or wind turbines, hydrogen
production from solar thermal energy, hydrogen production from biomass, and
hydrogen production from solar energy. Notably, hydrogen productions from biomass
and solar energy are more costly compared to other methods, with biomass
hydrogen production also emitting greenhouse gases. Thailand's potential clean
energy sources include: 1) Hydropower produced from dams and reservoir systems,
especially in the northern and western regions, 2) Wind energy produced in coastal
areas and regions with high wind speeds, 3) Solar energy mostly produced in
northeastern and central regions, 4) Geothermal energy produced in some areas with
underground hot water sources, 5) Biomass energy produced from agricultural
residues and food production waste, and 6) Natural gas. Guidelines for sustainable
hydrogen production in Thailand using clean energy include: 1) Developing the
market and creating incentives for users, focusing on power plants, industrial thermal
applications, and the transportation sector, 2) Promoting research and development
in domestic industries, 3) Developing infrastructure, including natural gas pipeline
networks to support mixed fuel use with hydrogen, hydrogen refueling stations, and
related infrastructure, and 4) Improving regulations and standards for direct energy
sector use. These can be utilized for planning to promote the development of a
hydrogen industry suitable for Thailand. This will lead to the expansion of
environmentally friendly industries in the country, ultimately contributing to a
carbon-neutral society and eventually achieving zero carbon emissions.