Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน,(วปอ.10189)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาง เพชรรัตน์ ผานิตกุลวัฒน์,(วปอ. 10189)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพเพื่อ คุณภาพชีวิตที่เป็นมิตร ต่อส่ิงแวดล้อมอย่างยั่งยืน ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย นางเพชรรัตน์ ผานิตกุลวัฒน์ หลักสูตร วปอ. รุ่นท่ี 66 ปัจจุบันการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัญหามลพิษเป็นปัญหาส่ิงแวดล้อม ท่ีร้ายแรง พลาสติกจากปิโตรเคมี ซึ่งเป็นวัสดุท่ีใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นหนึ่งในต้นเหตุส าคัญท่ีท าให้ เกิดปัญหาส่ิงแวดล้อมดังกล่าว จากปัญหาในการย่อยสลาย และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็น สาเหตุของวิกฤตการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลาสติกชีวภาพจึงเป็นทางเลือกท่ีมีศักยภาพ ในการแก้ปัญหาเหล่านี้ พลาสติกชีวภาพคือพลาสติกท่ีผลิตจากวัสดุชีวภาพ ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ โดยออร์แกนิสซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติ การใช้พลาสติกชีวภาพจะช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกท่ีสร้างขึ้น และลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติท่ีมีจ านวนจ ากัด วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ การผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพทดแทนการใช้พลาสติกจากปิโตรเคมี เพื่อคุณภาพชีวิตท่ีเป็นมิตร ต่อส่ิงแวดล้อมอย่างยั่งยืน และเพื่อผลประโยชน์ของภาคอุตสาหกรรมการผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ ภาคการเกษตรในการผลิตผลทางการเกษตร รวมถึงเกษตรกร โดยการวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูล จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างของผู้ท่ีเกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานและการศึกษาต ารา เอกสารต่างๆ และวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ พบว่าพลาสติกชีวภาพ เป็นอุตสาหกรรม ท่ีมีศักยภาพในการเติบโตและช่วยลดผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมได้หากมีการก าจัดท่ีเหมาะสม แต่ยังมี อุปสรรค ด้านราคา ตลาด การรับรู้ของผู้บริโภค การก าจัดบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว เทคโนโลยี และ วัตถุดิบ นอกจากนี้ การใช้พลาสติกชีวภาพยัง เป็นการเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบทางการเกษตรตามโมเดล เศรษฐกิจ BCG และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ผู้วิจัยเห็นว่าภาครัฐและเอกชนในห่วงโซ่อุปทานควรร่วม พัฒนากลยุทธ์และแผนปฏิบัติการระดับชาติเพื่อผลักดันการใช้งานพลาสติกชีวภาพ โดยมุ่งเน้นไปท่ี การแก้ไขอุปสรรค โดยเริ่มต้นด้วยการสร้างความตระหนักรู้และเข้าใจต่อประชาชนเกี่ยวกับ ความส าคัญของการใช้งานพลาสติกชีวภาพและประโยชน์ท่ีเกิดขึ้นต่อส่ิงแวดล้อมและสังคมโดยรวม และการส่งเสริมการพัฒนาและวิจัยการใช้งานพลาสติกชีวภาพ รวมไปถึงมาตรการสนับสนุนและ กฏหมายต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความต้องการของตลาดในอนาคต

abstract:

ข Abstract Title Developing Bioplastic Packaging for a Sustainable and Healthy Environment in Thailand Field Science and Technology Name Mrs. Petcharat Panitkulwat Course NDC Class 66 Plastic plagues the environment for centuries, accumulating as waste and breaking down into harmful microplastics. Wildlife ingests or gets entangled in this debris, while plastic production and disposal release greenhouse gases, worsening climate change. Bioplastics emerge as a promising alternative to address these challenges. Made from renewable materials, they decompose significantly faster than traditional plastics, reducing waste accumulation and microplastic formation as well as generate a smaller amount of greenhouse gases. This research investigates and analyzes the potential of bioplastic packaging as a sustainable alternative to traditional petrochemical- based plastics. The goal is to promote a healthy environment and a thriving Thai agricultural sector. The data was gathered through interviews with stakeholders in the supply chain and literature review. Our result shows that bioplastics not only reduce environmental impact but also hold significant growth potential in Thailand. However, there are still several challenges, including price competitiveness, limited market demand, consumer awareness, waste disposal infrastructure, technology, and raw materials. In addition to environmental benefits, bioplastic also help enhancing the value of agricultural materials which aligns with Thailand's BCG economic model and National Strategy. Therefore, we recommend a collaborative effort between government agencies and private sector players to develop national strategies and action plans for bioplastic adoption. These plans should prioritize raising public awareness about the environmental and societal benefits of bioplastics. Additionally, promoting research and development of bioplastic applications, alongside supportive policies and regulations, will be crucial to stimulate future market demand