Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: ความมั่นคงทางสุขภาพในผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน,(วปอ.10188)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย เพชรพงษ์ กำจรกิจการ,(วปอ. 10188)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง ความมั่นคงทางสุขภาพในผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน แนวทางการ บริหารจัดการ เพ่ือพัฒนาระบบการดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นายเพชรพงษ์ กำจรกิจการ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66 การเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นภาวะวิกฤตของชีวิตที่ต้องได้รับการปฏิบัติการฉุกเฉิน อย่าง ทันท่วงที เพ่ือป้องกันมิให้เกิดการสูญเสียชีวิต หรือเกิดความพิการ กรุงเทพมหานครมีระบบบริการ การแพทย์ ฉุกเฉินออกให้การช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน เมื่อต้องมีการนำส่งตัวเพ่ือรับการรักษาต่อใน โรงพยาบาล แม้ว่ารัฐบาลมีนโยบายเรื่อง“เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิ์ทุกที่” (Universal Coverage for Emergency Patients: UCEP) แต่ด้วยภาระงานที่ห้องฉุกเฉินที่เพ่ิมขึ้นทำให้โรงพยาบาลไม่สามารถรับ ผู้ป่วยฉุกเฉินจากรถพยาบาลฉุกเฉินได้ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาปัญหา ข้อจำกัดในการ พัฒนาการบริหารจัดการระบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉินในพ้ืนที่กรุงเทพมหานคร และปัจจัยที่ทำให้ สถานพยาบาลไม่สามารถรับผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินจากระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว และมี ประสิทธิภาพ เพ่ือจัดทำแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการระบบการให้บริการผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินใน พ้ืนที่กรุงเทพมหานคร การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mix Method Research) โดยเก็บข้อมูลโดย การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 9 คน และการทบทวนข้อมูลจากรายงานของศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์ เอราวัณ) ระหว่างเดือนธันวาคม 2566 ถึงเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2567 เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสัมภาษณ์ และแบบเก็บข้อมูลการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน และร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ทั้งหมด วิเคราะห์ ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร พบว่ากรณีผู้ป่วยฉุกเฉินซึ่งถูกนำส่งโดยรถพยาบาลได้รับ การปฏิเสธการรักษาพบสาเหตุหลักๆ คือเรื่องของห้องฉุกเฉินมีผู้รับบริการมากจนล้น โรงพยาบาลใน กรุงเทพฯไม่สามารถขยายเตียงได้ และไม่สามารถให้คนไข้นอนแออัดแบบโรงพยาบาลในต่างจังหวัดได้ การเบิกจ่ายเงินในระบบ UCEP ไม่มีความเท่าเทียมกันในโรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนมีต้นทุนต่างๆสูงมากกว่าโรงพยาบาลรัฐทำให้โรงพยาบาลเอกชนประสบ ปัญหาเรื่องการขาดทุน และค่าตอบแทนของบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉิน นอกจากนั้นยังมีเรื่องขาดแคลนอัตรากำลัง การจัดการข้อมูล การบริหารจัดการตามหลักการพ้ืนฐาน ของการกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance) การเบิกจ่ายเงินยังไม่รวดเร็ว รวมทั้งการไม่มี กองทุนรักษาผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินแยกเป็นการเฉพาะ และจากการทบทวนข้อมูลจากศูนย์บริการการแพทย์ ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) พบว่าสาเหตุส่วนใหญ่ที่โรงพยาบาลไม่รับผู้ป่วยฉุกเฉินจาก รถพยาบาลฉุกเฉิน ได้แก่ เตียงวิกฤตฉุกเฉิน และเตียงรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลไม่เพียงพอ ไม่มีแพทย์ เฉพาะทาง ความแออัดของผู้ป่วยในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษานี้ ผู้วิจัยเห็นว่ารัฐบาลควรมีนโยบายในการเพ่ิมศักยภาพ เพ่ือรองรับผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินให้มีความชัดเจน หากภาครัฐเป็นผู้ดำเนินการจัดบริการเพ่ิมเติม แต่ยังมี ข มาตรการจำกัดอัตรากำลังคนภาครัฐ อีกทั้งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 35 กำหนดให้สามารถใช้งบประมาณด้านบุคลากรได้ไม่เกินร้อยละ 40 ซึ่งในขณะนี้ กรุงเทพมหานคร ได้ใช้งบประมาณด้านบุคลากรเกือบถึงร้อยละ 40 คือเต็มวงเงินแล้ว อาจต้องมีการ พิจารณาปรับปรุงกฎหมายเพ่ือให้สอดคล้องกับภารกิจที่ต้องดำเนินการเพ่ิมเติมหรือหากรัฐพิจารณาให้ ภาคเอกชน ดำเนินการ เห็นควรพิจารณา เงินชดเชยค่าบริการให้เหมาะสมและจูงใจให้เอกชนขยาย บริการเพื่อรองรับผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินดังกล่าว ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ ควรดำเนินปรับปรุงแก้ไขประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ฉุกเฉินให้ผู้ป่วยที่นำส่งโดยรถพยาบาลจัดเป็นผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่สถานพยาบาลต้องรับไว้ดูแลรักษา และ มีสิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ นอกจากนั้นกรุงเทพมหานครดำเนินการบริหารจัดการเพ่ือให้เกิด ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในรูปแบบ Corporate Governance เริ่มจากการจัดให้เกิด Opened Data สร้างความไว้ใจซึ่งกันและกัน และนำไปสู่การเป็นเจ้าของผู้ป่วยร่วมกัน และช่วยกันดูแลรักษาผู้ เจ็บป่วยฉุกเฉินในที่สุด ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย แบ่งเป็น 3 ประเด็น คือประเด็นแรก การจัดการกลไกด้าน การเงินควรจัดให้มีการจ่ายชดเชยการให้บริการทั้งแก่ภาครัฐและเอกชนที่เป็นธรรม เพ่ือให้ภาครัฐนำ รายได้ไปจัดหาทรัพยากรมาพัฒนาการบริการเพ่ิมขึ้น และลดภาวะขาดทุนของภาคเอกชน และควรให้ ค่าบริการมากพอที่จะเป็นแรงจูงใจให้ภาคเอกชนหันมาจัดบริการผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินเพ่ิมข้ึนมากกว่าเดิมที่ เป็นอยู่ นอกจากนั้นควรจัดให้มีกองทุนเพ่ือดูแลผู้เจ็บป่วยเป็นการเฉพาะ เพ่ือให้สามารถบริหารจัดการ การให้บริการแก่ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินให้เกิดประสิทธิภาพ ภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นภาวะที่ต้องการการ จัดการการดูแลที่รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ จำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถสูงและ ประสบการณ์ในการตัดสินใจและทำหัตถการต่าง ๆ รวมทั้งระบบส่งต่อ และการรักษาต่อเนื่องจากห้อง ฉุกเฉินต้องมีประสิทธิภาพ ประเด็นที่สองการจัดการด้านทรัพยากร รัฐควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการ เพ่ิมศักยภาพการรองรับผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน เช่น จัดให้มีโรงพยาบาลเพ่ือรองรับผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินเพ่ิมเติม เนื่องจากศักยภาพในการรองรับผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินในปัจจุบันมีอยู่จำกัด มีผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินนอนรอเข้า รักษาในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมากในโรงพยาบาลของรัฐหลายแห่ง หรือให้ภาคเอกชนดำเนินการเพ่ิม ศักยภาพโดยใช้กลไกด้านการเงินดังที่กล่าวแล้วในข้างต้น ประเด็นสุดท้ายการจัดการระบบอ่ืน ๆ ควร สร้างความรอบรู้ด้านการบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้ประชาชนทราบ และเข้าใจ สามารถบอกต่อ และ นำไปใช้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้ โดยเพ่ิมการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจเรื่องระบบการบริการ ค การแพทย์ฉุกเฉิน เพ่ือให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง สามารถเลือก รับบริการที่ห้องฉุกเฉินเมื่อมีเหตุจำเป็น และฉุกเฉินเท่านั้น ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยต่อไป มี 5 ประเด็นคือ 1)ทำการศึกษาอัตราการจ่ายที่ เหมาะสม สร้างความเป็นธรรมใน 2 ระดับ คือ ระดับที่สามารถชดเชยให้หน่วยบริการที่ไม่ก่อให้เกิด ภาระขาดทุนต่อหน่วยบริการซึ่งระดับนี้จะไม่สามารถลดขนาดของปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบันได้ ระดับที่ สามารถสร้างแรงจูงใจให้หน่วยบริการภาครัฐ และภาคเอกชนเพ่ิมศักยภาพในการดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน ซึ่งจะเป็นระดับที่สามารถช่วยลดขนาดของปัญหาได้ เช่น กรณีการจ่ายชดเชยในการดูแลรักษาภาวะ หั ว ใจขาดเลือด หรือกรณี การจ่ ายชดเชยในเหตุการ ณ์ การระบาดของ COVID-19 เป็ นต้น 2) ความเหมาะสมในการแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 35 เนื่องจากโดยทั่วไปการบริการด้านสุขภาพในโรงพยาบาลจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนของบุคลากรอยู่ที่ ประมาณร้อยละ 60 3) รูปแบบการบริหารจัดการระบบสุขภาพที่เหมาะสมในยุคที่ทรัพยากรจำกัดทั้ง ด้านงบประมาณ และข้อจำกัดด้านอัตรากำลัง แต่ปริมาณความต้องการที่เพ่ิมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัง สถานการณ์สังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย 4) ศึกษาผลกระทบที่เกิดจากโรงพยาบาลปฏิเสธรับผู้ป่วยที่ นำส่งโดยรถพยาบาล ทั้งด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย ความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งด้านประชาชน บุคลากร และระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และ 5) ศึกษาความคิดเห็นภาคประชาชนเกี่ยวกับความ ต้องการในการจัดระบบการดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินเพ่ือให้ได้รับการบริการอย่างเป็นธรรมและรวดเร็ว ลด ความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจของผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินและครอบครัว

abstract:

ง Abstract Title Health Security in Emergency Patients Management Guidelines for Improvement Emergency Care System Field Social - Psychology Name Mr. Petchpong Kamchonkitkarn Course NDC Class 66 Emergency critical illness is life-threatening condition that need timely emergency management in order to protect life or disability. Bangkok Metropolitan Administration (BMA) provide emergency management system to help the emergency patient and transport to hospital. Even though the government issue the universal coverage for emergency patient (UCEP) policy, but hospital cannot accept the emergency patient from the emergency medical service due to ER overcrowded. The objectives of the study are to find out the problem or limitation of Emergency medical services development in Bangkok and factors that caused the hospital cannot accept the patient from ambulance in order to find out the emergency patient management solution in Bangkok area. The study therefore defined its objective for investigation of the facing problem and its constraints in system management development concerning emergency medical services in Bangkok metropolitan area including factors conducive to the situation that certain hospitals cannot afford to response to the needy service for emergency patients of medical emergency unit in time and effective capacities. The outcome of the study will guide concerned authorities in developing emergency care service system of Bangkok metropolis. The study was designed as mixed method research by collecting significant data mainly from in-depth interview from 9 individualized samples selected by specific purposive sampling. The review of existing reports of Bangkok emergency medical center (Erawan) during December 2566 to May 2567. Research instrument were interview form and purposively designed data collection forms for needed data of Bangkok emergency medical center. Quantitative data were analyzed with descriptive statistics for number and percentage, while qualitative data were descriptively analyzed based on the study objectives. Most hospitals in Bangkok are not able to increase bed capacity and are not able to let the patient congestively lay on ward floor in the same manner as it is commonly done at some provincial hospitals. The reimbursement based on UCEP is somewhat in disparity between government hospitals and private hospitals. Definitely that private hospitals have higher service cost than government hospitals, hence private hospitals face the problem จ of tremendous deficits especially the payments covering the services for emergency patients. Beside these problems, the severe shortage of manpower, data management, and management based on basic principle of corporate governance, especially the non- existing of UCEP critical separate fund for emergency patients. The review of data from Bangkok emergency medical center indicated that the most common reasons that network hospitals denied to admit emergency patients were the insufficiency of emergency beds and in-patient beds, the unavailabity of emergency specialist, and the overcrowded patients in accident and emergency unit. The suggestions for this study are the government should have the clear capacity building for emergency patient care policy direction. If public sector should increased capacity in circumstance of not only workforce restriction policy and also local government human resource management Act state that budget in fiscal year cannot spend for workforce over 40%, act revision should be considered because BMA had spent near limitation. Practical recommendations based on the study, the following practical recommendations can be made: 1. Revise the Emergency Medical Committee announcement to classify patients transported by ambulance as emergency patients who must be admitted to hospitals and have the right to claim medical expenses. 2. Bangkok Metropolitan Administration should manage to create corporation from all sectors as corporate governance. This should begin with the creation of open data, building trust, and leading to shared ownership of patients and joint care of emergency patients. Policy Recommendations Based on the study on managing systems to develop emergency patient care and reduce ambulance refusals, the following policy recommendations can be made: ฉ 1. Financial Mechanism Management 1.1 There should be fair compensation for both public and private providers to allow the public sector to use revenue to develop services and reduce private sector losses. The compensation should be sufficient to incentivize the private sector to increase emergency patient care services. 1.2 There should be a dedicated patient care fund to efficiently manage the provision of services to emergency patients. Emergency care requires prompt and accurate management. There is a need for highly skilled and experienced personnel to make decisions and perform procedures. The referral system and ongoing treatment from the emergency room must be efficient. 2. Resource Management 2.1 The government should have a clear policy to increase the capacity to accommodate emergency patients. This includes establishing additional hospitals to accommodate emergency patients. Currently, the capacity to accommodate emergency patients is limited. There are many emergency patients waiting for admission in many state hospitals. Alternatively, the private sector can be encouraged to increase capacity using the financial mechanisms mentioned above. 3. Management of Other Systems 3.1 Public awareness of emergency medical services should be raised so that people can understand and use them when an emergency arises. This could be done by increasing public relations efforts to educate the public about the emergency medical service system so that they have the knowledge and understanding to act appropriately and seek care in the emergency department only when necessary and urgent. Research Recommendations for the Future 1. Study the appropriate payment rates to create fairness on two levels: the level that compensates service units without causing them financial loss, which will not reduce the current problem's magnitude, and the level that motivates both public and private service units to enhance their capacity in emergency patient care, which can help reduce the problem. For example, compensation for treating acute myocardial infarction or for care during the COVID-19 pandemic. ช 2 . Assess the appropriateness of amending Section 35 of the Local government the man resource management Administration B.E. 2542 (1999), as healthcare services in hospitals typically incur personnel costs amounting to approximately 60%. 3. Identify appropriate health system management models in an era of limited resources, both in terms of budget and workforce constraints, yet with continuously increasing demand. This is exemplified by the aging society situation in Thailand. 4.Study the impacts of hospitals refusing to admit patients transported by ambulance, focusing on patient safety and the losses incurred by the public, personnel, and the emergency medical service system. 5. Study public opinions on the needs for an emergency care system to ensure fair and rapid services, aiming to reduce both physical and psychological harm to emergency patients and their families ข