เรื่อง: การบริหารโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ภายใต้แนวทางความร่วมมือด้านความมั่นคงของประเทศสหรัฐอเมริกา,(วปอ.10187)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทหาร/Military
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาวาอากาศเอก พูนศักดิ์ ปิยะรัตน์,(วปอ. 10187)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
เร่ือง การบริหารโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ภายใต้แนวทางความร่วมมือด้านความ
มั่นคงของประเทศสหรัฐอเมริกา
ลักษณะวิชา การทหาร
ผู้วิจัย นาวาอากาศเอก พูนศักดิ์ ปิยะรัตน์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๖
การวิจัยนี้มุ่ง (๑) ศึกษาบริบทความร่วมมือด้านความมั่นคงของประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งส่งผลต่อการบริหารโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพอากาศ (๒) ศึกษาหลักการ กฎหมายและ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพอากาศ และ (๓) วิเคราะห์
ปัจจัยสำคัญและปัจจัยเสี่ยงต่อความสำเร็จในการบริหารโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพอากาศ
เพ่ือเสนอแนะแนวทางการบริหารโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ให้เกิดประโยชน์สูงสูด
ผู้ว ิจ ัยรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิและทุต ิยภูมิจากกองทัพอากาศ และศึกษาบร ิบท
ความร่วมมือด้านความมั่นคงของประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วจึงวิเคราะห์หาปัจจัยสำคัญและปัจจัยเสี่ยง
ต่อความสำเร็จในการบริหารโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพอากาศภายใต้ความร่วมมือด้าน
ความมั่นคงของประเทศ พบว่าปัจจัยสำคัญในการบริหารโครงการ ได้แก่ (๑) ปัจจัยภายใน (Intrinsic
Factors) เช่น จังหวะเวลาของการริเริ่มโครงการ ความพร้อมในการเรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่แบบค่อย
เป็นค่อยไป หรือแบบก้าวกระโดด หรือความเป็นไปได้ของงบประมาณโครงการซึ่งต้องไม่กระทบต่อ
การพัฒนากองทัพในมิติอื่น ๆ เป็นต้น และ (๒) ปัจจัยภายนอก (Extrinsic Factors) เช่น แนวโน้ม
ความตึงเครียดในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก หรือบริเวณพื ้นที ่ทะเลจีนใต้ การควบคุมเทคโนโลยี
ชั้นความลับทางทหารของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้ผลิตยุทโธปกรณ์ ความเป็นไปได้ของการออก
ใบอนุญาตส่งออกยุทโธปกรณ์ หรือการกำกับมาตรฐานการใช้งานยุทโธปกรณ์ เป็นต้น ในขณะที่ ปัจจัย
เสี่ยงต่อความสำเร็จในการบริหารโครงการ เช่น ความเข้าใจในนโยบายความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา
อย่างท่องแท ้และการจัดตั้งทีมเจรจากับฝ่ายสหรัฐอเมริกา ซึ่งมขี้อมูลและมีความเข้าใจในข้อมูลสำคัญ
ได้แก่ ด้านยุทธการ ด้านเทคนิค ด้านงบประมาณ ด้านกฎหมายระหว่างประเทศ และด้านบริหาร
จัดการ เป็นต้น
การวิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะ กล่าวคือ รัฐบาลสมควรดำเนินกลไกความร่วมมือระหว่าง
ประเทศในรูปแบบต่าง ๆ ในการสร้างความเชื่อมั่น ดำรงความไว้วางใจ และริเริ่มขยายความร่วมมือ
ด้านความมั่นคง เพื่อให้ยกระดับหรือดำรงความสัมพันธ์กับประเทศสหรัฐอเมริกาให้แนบแน่นยิ่งขึ้น
ซึ่งจะเพ่ิมโอกาสในการอนุญาตขายหรือสนับสนุนรายการยุทธภัณฑ์ของสหรัฐอเมริกา ตลอดจนกองทัพ
ไทยสมควรกำหนดแนวทางการใช้งานร่วมกันระหว่างยุทธภัณฑ์ซึ่งผลิตโดยประเทศอื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่มิตร
ประเทศของสหรัฐอเมริกา และยุทธภัณฑ์ซึ่งผลิตโดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีความอ่อนไหวต่อ
ความลับทางเทคโนโลยีของยุทธภัณฑ์จากสหรัฐอเมริกา
abstract:
Abstract
Title Defence Project Management with consideration of The United
States Security Cooperation
Field Military
Name Group Captain Poonsak Piyarat Course NDC Class 66
The research objectives are (1) to study the United States Security
Cooperation influences defence project management of Royal Thai Air Force (RTAF), (2)
to study concept, international laws and regulations for project acquisition, and (3) to
analyze critical factors and risk factors of RTAF project with consideration of the United
States Security Cooperation in order to recommend the proper management.
The research is conducted by collecting the primary and secondary data
from Royal Thai Air Force (RTAF) and reviewing the context of the United States Security
Cooperation. Thereafter, critical factors and risk factors of RTAF project are identified
systematically. The results indicate that critical factors consist of two major factors.
Firstly, intrinsic factors such as timing the initiate project, readiness to Incremental or
jump leap learning, or the possibility of budget without impact to other domain
development. Secondly, extrinsic factors such as tendency of tension in Indo-Pacific
region, security situation of South China Sea, technology security controlled by United
States, the possibility of Export License Approval or the limited utilization of weapon
system. On the other hand, Risk factors include the total comprehension of the United
States Security Cooperation or the negotiation team which has all sensitive information
(Operation, Technical, Budget, International Law & Regulation and Management)
The research provides strategic recommendations. The government should
establish realistic cooperation mechanisms in order to build confidence, maintain trust
and initiative the expansion of security cooperation with the United States. By this
reason, it will tighten the defence relationship and friendship which will increase the
opportunity to approve the sale of the United States Munitions List. In parallel, the
Royal Thai Armed Forces should establish guidelines for interoperability between
weapon systems produced by non-United States allies and by the United States.
These factors are very sensitive to the technological security of the United States
Munitions List.