เรื่อง: ความตระหนักรู้ของประชาชนและการป้องกันภัยจากเหตุคนร้ายกราดยิงของชุมชนในภาคอีสานตอนบน,(วปอ.10186)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตำรวจตรี พุฒิพงศ์ มุสิกูล,(วปอ. 10186)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เร่ือง ความตระหนักรู้ของประชาชนและการป้องกันภัยจากเหตุคนร้ายกราดยิง
ของชุมชนในภาคอีสานตอนบน
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย พลตำรวจตรี พุฒิพงศ์ มุสิกูล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสาเหตุปัจจัยของคนร้ายในการก่อเหตุ
กราดยิงของชุมชน 2. เพื ่อศึกษามาตรการเจ้าหน้าที ่ของรัฐในการระงับเหตุคนร้ายกราดยิง
3. เพ่ือศึกษาแนวทางการสร้างความตระหนักรู้ของประชาชนในการป้องกันภัยต่อเหตุคนร้ายกราดยิง
กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในภาคอีสานตอนบน 5 จังหวัด คือ จังหวัดขอนแก่น จังหวัด
อุดรธานี จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดสกลนคร และจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 400 คน และ
บุคลากรของรัฐ ได้แก่ ตำรวจ ทหาร เจ้าหน้าที ่ฝ่ายปกครอง บุคลากรทางการแพทย์ ครู และ
ผู้เกี่ยวข้องอ่ืนๆ จำนวน 24 คน เครื่องมือทีใ่ช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติในการวิจัยได้แก่
ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยในครั้งนี้ พบว่า 1. สาเหตุปัจจัยของคนร้ายใน
การก่อเหตุกราดยิงของชุมชนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การเสพข่าวสารที่มีความรุนแรง 2. มาตรการ
เจ้าหน้าที ่ของรัฐในการระงับเหตุคนร้ายกราดยิงมี 5 ข้อดังนี ้ 1. มาตรการเกี ่ยวกับอาวุธปืน
2. มาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับกลุ่มเสี่ยงก่อเหตุกราดยิง 3 . มาตรการ
บำบัดฟื้นฟูกลุ่มเสี่ยงก่อเหตุกราดยิง 4. การพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตกลุ่มเสี่ยงก่อเหตุกราดยิง
และ 5. แนวทางในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์กราดยิง และ 3. แนวทางการสร้างความตระหนักรู้
ของประชาชนในการป้องกันภัยต่อเหตุคนร้ายกราดยิง ได้แก่ รัฐควรมีการส่งเสริมให้ความรู้สำหรับ
ประชาชนทุกพื้นที่เพื่อป้องกันการเกิดพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดการกราดยิง อาทิ การให้ความรู้
เกี่ยวกับการควบคุมอารมณ์ การแสดงออกพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่ใช้พฤติกรรมความรุนแรง
ไม่ว่าจะเป็นการกระทำหรือคำพูด เลือกรับข่าวสารที่ปลอดภัยไม่รุนแรง และการครอบครองอาวุธ
ของประชาชนต้องควบคุมอย่างเคร่งครัด
abstract:
ข
Abstract
Title Population’ Awareness and the Mass Sooting in the of North of
Esarn Communities
Field Social-Psychology
Name Pol. Major General Phuttipong Musikoon Course NDC Class 66
This research purposes were to 1. study the factors of the community
mass shooters, 2. study the government staffs meansures for the mass shooting, and
3. study the guidance to aware the population for the mass shooting. The sample
consisted of 400 people who lived in Khon Kaen, Udonthani, Maha Sarakham, Sakon
Nakhon, and Nongbua Lamphu, including 24 police officers, soldiers, municipality
staffs, medical personels and others. The research tool was a questionnair. The
statistics used mean, percentage and standard deviation.
The research results were as follows: 1. The violence news was the
higest means score factor of the mass shooting, 2. The government staffs meansures
for the mass shooting consisted of 5 factors; 1. firearms possession measure, 2. Mass
shooting prevention and suppression measure, 3. rehabilitation of at-risk groups measure,
4. the risk group’mental health improvement and problem solving., and 5. the mass
shooting survival guidances, and 3. the population in communities must be trained
how to adjust their aggressive and Harmful behavior which risk for mass shooting
such as emotional quotient adjustment, the appropriated behavior being, violence
behavior and harsh words avoidance, approval nonviolence news consumption, and
the firearms possession must be strictly controlled.