เรื่อง: ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับองค์การยูเนสโก : กรณีศึกษาเมืองแห่งการเรียนรู้และเมืองสร้างสรรค์,(วปอ.10179)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย พิเชฐ โพธิ์ภักดี,(วปอ. 10179)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เร่ือง ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับองค์การ
ยูเนสโก : กรณีศึกษาเมืองแห่งการเรียนรู้และเมืองสร้างสรรค์
ลักษณะวิชา การเมือง
ผู้วิจัย นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
งานวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพ่ือศึกษากระบวนการในการพัฒนาเครือข่ายเมืองแห่ง
การเรียนรู้ เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ของประเทศไทยตามแนวทางของยูเนสโก และ 2. เพ่ือถอด
บทเรียนจากเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ และขยายผลไปยังเมืองอ่ืน ๆ
ในประเทศไทย ขอบเขตการศึกษาเมืองแห่งการเรียนรู้ จำนวน 10 เมือง และเมืองสร้างสรรค์ จำนวน
7 เมือง โดยการศึกษานี้จะเน้นศึกษาเกี่ยวกับการศึกษากระบวนการและการถอดบทเรียน
การขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับองค์การยูเนสโก กรณีศึกษาเมืองแห่งการเรียนรู้
และเมืองสร้างสรรค์ เพ่ือนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเพ่ือขยายผลการดำเนินงาน
ต่อไป โดยมีการบวนการศึกษาจากข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Study) และการสนทนากลุ่ม
(Focus Group) ผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเมืองแห่งการเรียนรู้ และเมืองสร้างสรรค์ มาอภิปราย
แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สร้างความร่วมมือ และร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา
ผลการศึกษาการศึกษากระบวนการและการถอดบทเรียน ดังนี้
1. การเตรียมการก่อนสมัคร โดยแรงจูงใจการสมัครเพ่ือการต้องการพัฒนาเมืองไปสู่
ความยั่งยืน โดยใช้รากฐานและสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาโบราณที่ถ่ายทอดมายาวนาน
อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการผลักดันยกระดับการพัฒนาเมืองให้ก้าวสู่เมืองที่ได้รับการยอมรับใน
เวทีสากล ผ่านการเตรียมการก่อนสมัคร โดยการกำหนดนโยบายของผู้บริหาร แผนงานการวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมภายใน และภายนอก การระดมทรัพยากร รวมทั้งสร้างเครือข่ายการทำงาน
2. การดำเนินงานหลังได้รับการคัดเลือก การจัดกิจกรรมตามขอบเขตท่ีองค์การยูเนสโก
กำหนดในการรักษาความเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ หรือเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์
3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ด้านบุคลากร งบประมาณ ทรัพยากร/สิ่งอำนวยความสะดวก
การบริหารจัดการ และมีส่วนร่วมของภาคี
4. การต่อยอด/ขยายผล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเมืองที่อยู่ระหว่างพิจารณาสมัครต่อไป
5. ความท้าทาย/ข้อเสนอแนะ มีข้อจำกัดในด้านงบประมาณ
ทั้งนี้ผู้วิจัย นำผลการถอดบทเรียน ผลการอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น มาจัดทำ
และกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเพ่ือขยายผลการดำเนินงานให้แก่เมือง/จังหวัดที่ประสงค์
จะสมัครเป็นครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ต่อไป
abstract:
ข
Abstrsct
Title The Strategy for Strengthening the Cooperation between Thailand
and UNESCO
Subject Politics
Researcher Mr. Pichet Popakdee Course NDC Class 66
This research was aimed at 1. to study the process of becoming and
networking on learning city and creative city of Thailand based on the practice of
UNESCO and 2. to have a lesson learned of networking on learning city and creative
city expanding to other cities covering 10 cities for learning city and 7 cities for
creative cities. This research was focused on the approach for the process and lesson
learnt by the cooperation between Thailand and UNESCO via a case study of learning
city and creative city leading to the strategic development and its expansion.
Documentary study and Focus Group were used for this research. The participants
involved were those sampling related to learning city and creative city. Discussion,
exchange of ideas, problem analysis, and cooperative networking were taken in the rearch.
The findings on the process and the lesson learnt were as follows.
1. The process on the preparation before applying consisted of the
motivation to develop the city for sustainability regarding culture and its asses and
wisdom leading to the development of the city to be internationally accepted. The
preparation before applying consisted of the policy, planning, the analysis of either
external and internal factors, pool of resource, and networking of work.
2. The process after approval consisted of different activities stipulated
by UNESCO in order to preserve the identity of learning city and the networking of
creative city.
3. The success factors consisted of personnel, budgeting, resource/facility,
management, and cooperative partnership.
4. The extension and expansion would be on the exchanging of learning
and experience with those ongoing approval cities.
5. The challenging issue and recommendation would be on the availability
of budget.
In this regard, the lesson learnt, discussion, and sharing of experience and
ideas were used for formulating the strategy for those cities and province currently
applying for learning city and networking for creative city.