เรื่อง: แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของคนไทยสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคม ๕.๐,(วปอ.10159)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาง ประวีณา อัสโย,(วปอ. 10159)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เร่ือง แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของคนไทยสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคม 5.0
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย นางประวีณา อัสโย หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือ ๑) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการพัฒนาความฉลาดดิจิทัล
ของประเทศไทย ๒) ศึกษาแนวทางการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของต่างประเทศ ๓) จัดทำ
ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของคนไทยสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคม 5.0 ขอบเขต
ของการวิจัยเป็นการศึกษานโยบาย แผนการพัฒนาดิจิทัล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีเก็บรวบรวม
ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากบุคคล 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหาร
องค์กรภาครัฐ ผู้บริหารองค์กรเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านดิจิทัล จากนั้น
วิเคราะห์เนื้อหา และจัดทำเป็นแนวทางการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของคนไทยสู่ยุคเศรษฐกิจ
และสังคม 5.0
ผลการวิจัย พบว่า ประเทศไทย สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และเดนมาร์ก ต่างมีนโยบาย
และแผนการพัฒนาดิจิทัล มีการพัฒนาโครงสร้างพื ้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุม
ทั่วประเทศ พัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีทั้ง
ภาครัฐภาคเอกชน และองค์กรไม่แสวงกำไรที่เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาสื่อและสร้างนิเวศการเรียนรู้
ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของคนไทยสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคม 5.0 มีดังนี้
1) ความริเริ่มของภาครัฐ ในการดำเนินตามแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ
สังคม (พ.ศ. 2561-2580) 2) ความร่วมมือของภาคเอกชน ในการร่วมเป็นเครือข่าย สร้างชุมชน
แห่งการเรียนรู้ พัฒนาแพลตฟอร์มกลางการเรียนรู้แห่งชาติ บูรณาการความฉลาดทางดิจิทัลไว้ใน
หลักสูตรการเรียนการสอน 3) การดำเนินงานเพื่อนำนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยการจัดทำแผนปฏิบัติ
การเพื่อพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของคนไทย ผ่านการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ Plan-Do-
Check-Act ของกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม (๑) กลุ่มผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐานและระดับอุดมศึกษา
(๒) กลุ่มวัยแรงงานในธุรกิจ Start-up และ (๓) กลุ่มวัยสูงอายุหรือวัยเกษียณ ข้อเสนอเชิงนโยบาย
ได้แก่ การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาทักษะดิจิทัล การลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึง
เทคโนโลยีและข้อมูล ความปลอดภัยและจริยธรรมทางดิจิทัล การสร้างระบบนิเวศทางดิจิทัล การ
ปรับบริการภาครัฐให้เป็นดิจิทัล ข้อเสนอในระดับปฏิบัติ ได้แก่ การปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา การ
อบรมและพัฒนาทักษะดิจิทัลในที่ทำงาน การส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีในชุมชน การเพิ่มการ
เข้าถึงอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ดิจิทัล การส่งเสริมความปลอดภัยและจริยธรรมทางดิจิทัล การส่งเสริม
การใช้เทคโนโลยีในธุรกิจและอุตสาหกรรม และการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ข้อเสนอแนะสำหรับ
การวิจัยครั้งต่อไป ได้แก่ ควรมีการศึกษากลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมประชากรกลุ่มต่าง ๆ เพิ่มขึ้น
และการออกแบบเครื่องมือการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยเก็บข้อมูล
abstract:
ข
Abstract
Title: Guidelines for Developing Digital Intelligence Quotient among
Thai People Towards the Economy and Society 5.0 Era
Field: Social-Psychology
Name: Mrs. Praweena Ausayo Course: NDC Class: 66
This research aimed to: 1) examine the current state of digital intelligence
development in Thailand, 2) explore international approaches to digital intelligence,
and 3) propose strategies for advancing Thai digital intelligence towards the Economy
and Society 5.0 era. The study involved analyzing policies, digital development plans,
and relevant organizations over seven months. Data were collected through
documents and in-depth interviews with key informants from four groups: government
officials, private sector executives, education experts, and digital experts.
The findings indicate that Thailand, Singapore, the United States, and
Denmark have robust digital policies and infrastructure, aiming to prepare their
workforce for the digital era. Key recommendations include: 1) government initiatives
aligned with the National Digital Economy and Society Development Plan (2018-2037),
2) private sector collaboration to build learning communities and integrate digital
intelligence into education, and 3) operationalizing policies through a strategic action
plan targeting student, the working-age population, and the elderly. Future research
should expand to cover diverse populations and leverage digital tools for data
collection.