เรื่อง: แนวทางการบูรณาการระบบโครงข่ายข้อมูลของประเทศ เพื่อยกระดับศักยภาพประเทศไทย ก้าวไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืน,(วปอ.10157)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาง ประราลี รัตน์ประสาทพร,(วปอ. 10157)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการบูรณาการระบบโครงข่ายข้อมูลของประเทศ เพื่อยกระดับ
ศักยภาพประเทศไทย ก้าวไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืน
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นางประราลี รัตน์ประสาทพร หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
ปัจจุบันคนไทยกว่า 63 ล้านคนสามารถเข้าถึงการใช้งานอินเตอร์เน็ต และในช่วงสถานการณ์โควิด-19 มีการใช้งานอินเตอร์เน็ตเติบโตอย่างก้าวกระโดด เพิ่มขึ้นถึง 17.1% ในปี 2563 และในปี 2566 ประเทศไทยมีบัญชีจำนวนผู้ใช้งานสูงถึง 136.1 ล้านบัญชี ยิ่งมีจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตมาก ยิ่งส่งผลให้ปริมาณข้อมูลมีมากขึ้น หากการจัดเก็บข้อมูลไม่เป็นระบบ จัดเก็บกระจัดกระจายและขาดความเชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดความเสี่ยงด้านการโจรกรรมข้อมูลได้ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษารูปแบบแนวทางการบูรณาการข้อมูลภาครัฐ การเชื่อมโยงโครงข่ายข้อมูลระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน โดยวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการเชื่อมโยงโครงข่ายข้อมูลในปัจจุบัน แล้วนำผลการศึกษามาเสนอแนวทางการบูรณาการโครงข่ายข้อมูลของประเทศไทยให้เป็นต้นแบบของการเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐและภาคเอกชนให้ไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืน ดำเนินการวิจัยโดยศึกษาเฉพาะเรื่องของแนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมข้อมูลมาศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารหรือการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงเอกสาร, กระบวนการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการบูรณาการระบบโครงข่ายข้อมูลประเทศ นำเสนอข้อมูลแบบรายงานวิจัยเชิงพรรณนาและวิเคราะห์นำเสนอแนวทางใหม่ จากการวิจัยมีผู้มีส่วนได้เสียในการบูรณาการโครงข่ายข้อมูลของประเทศ คือหน่วยงานของรัฐ และสถาบันการเงิน พบว่ามีปัญหาและอุปสรรค 4 ด้านได้แก่ ปัญหาด้านความปลอดภัยของข้อมูลมากที่สุด (Data Security) , ปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security), ปัญหาด้านธรรมภิบาลข้อมูล (Data Governance), ปัญหาด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data Privacy) ตามลำดับ งานวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานรัฐนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาสนับสนุนการทำงานต่างๆ ของรัฐ พร้อมข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการเสริมสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีภายในประเทศให้มีมาตรฐานสากล ตามกรอบแนวทางการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐแต่ขยายขอบเขตมายังภาคเอกชนและภาคประชาชน
abstract:
Abstract
Title Guidelines for integrating the Thailand's information network
infrastructure assist Thailand transition to a sustainable digital
economy.
Field Science and Technology
Name Ms. Praralee Ratanaprasartporn Course NDC Class 66
Over 63 million Thais currently use the internet. Internet usage increased during the COVID-19 crisis, reaching 17.1% by 2020. Thailand's user base might reach 136.1 million by 2023. The volume of information rises in proportion to the number of internet users. If data storage is not systematic, data theft becomes more likely owing to fragmented storage and a lack of effective data communication. The researcher intends to explore the methods and regulations for integrating government data. Government entities' data networks are interconnected with the private and public sectors. By evaluating the difficulties and impediments to joining current information networks. The study's findings were then used to produce suggestions for integrating Thailand's data network, which will serve as a model for merging government and private sector data to build a sustainable digital economy. Study on the regulations for integrating data amongst government agencies. There are two sectors: public and private. The applicable laws Implement qualitative research methods. By collecting information to review and assess information from documents or document research synthesis, as well as performing in-depth interviews. Investigate and appraise difficulties and obstacles associated with the integration of national information networks. Data is presented in the form of descriptive and analytical research articles, which introduce new methodologies. The research found four significant issues: data security, cyber security, data governance, and data privacy. This report includes recommendations to encourage government agencies to use information and communication technology to assist a range of government functions, as well as practical guidance to improve government policy for the execution of data exchange.