เรื่อง: แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารของประเทศไทย,(วปอ.10148)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาง นิษฐา รัชไชยบุญ นันทขว้าง,(วปอ. 10148)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เร่ือง แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารของประเทศไทย
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นางนิษฐา รัชไชยบุญ นันทขว้าง หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
การศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารของประเทศไทย
มีวัตถุประสงค์เพ่ือ 1) ศึกษาสถานการณ์การท่องเที่ยวด้านอาหารของประเทศไทย 2) วิเคราะห์สภาพ
ปัญหาและผลกระทบทางด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหารของประเทศไทย และ 3) เสนอแนะแนวทาง
การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารของประเทศไทย โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากงานวิจัย
เอกสารทางวิชาการและวรรณกรรมที่ เกี่ยวข้อง ทั้ งที่ เป็นเอกสารจากประมวลบทความของ
ผู้ทรงคุณวุฒิที่ เกี่ยวข้อง และข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการการท่องเที่ยว
ผู้ประกอบการด้านอาหาร นักท่องเที่ยว สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และการท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การวิเคราะห์
เปรียบเทียบ สังเคราะห์ข้อมูลทฤษฎี หลักการต่างๆ และวิเคราะห์ทางสถิติ สรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้
ผลการวิจัยพบว่า ด้านสถานการณ์การท่องเที่ยวด้านอาหารของประเทศไทย การ
ท่องเที่ยวเชิงอาหารของไทย “เที่ยวเพ่ือกิน” เป็นเป้าประสงค์หลักของนักท่องเที่ยว อาหารและ
วัฒนธรรมการกินที่แตกต่างกันในแต่ละภาคจะเป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ตลาดการท่องเที่ยวเชิงอาหาร
ทั่วโลกเติบโตที่เฉลี่ยปีละ 16.8% และคาดว่าจะมีมูลค่าตลาด 1 ,796.5 พันล้านดอลลาร์ภายในปี
2570 ปัจจัยหลักท่ีนักท่องเที่ยวเลือกเดินทางมาประเทศไทย เพ่ือการรับประทานอาหารไทย 91.81%
ความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว 54.98% อาหารและเครื่องดื่ม 50.61% และอัธยาศัยไมตรีของ
คนท้องถิ่น 37.45% ส่วนปัญหาและผลกระทบทางด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหารของประเทศไทยมี
ดังนี้ 1) บุคลากรที่ให้บริการด้านการท่องเที่ยวของไทย (ข้อจำกัดด้านภาษา, ทักษะแบบมืออาชีพ,
จิตสำนึกต่อส่วนรวม) 2) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical evidence) ปัญหาด้านสุขอนามัย
อาหาร และคุณภาพ 3) กระบวนการการให้บริการของอาหารไทย 4) ขาดการวางนโยบายด้านการ
ท่องเที่ยวเชิงอาหาร ไม่กำหนดเป้าหมายและนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม 5) การขาดการบูรณาการ
ภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนไม่ต่อเนื่อง 6) ภาวะการณ์แข่งขันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวใน
ภูมิภาคอาเซียน เพ่ิมขึ้น 7) ปัญหาการเมืองภายในประเทศที่ยืดเยื้อ 8) การขาดข้อมูลเกี่ยวกับตลาด
นักท่องเที่ยวเชิงอาหาร 9) การขาดมาตรฐาน ด้านสินค้าและบริการการท่องเที่ยวเชิงอาหาร 10) การ
ขาดการส่งเสริมการตลาด ไม่มีสื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารที่เพียงพอ และ 11) การขาดการพัฒนา
ความยั่งยืน ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สำหรับแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารของ
ประเทศไทยมีดังนี้ 1) พัฒนาด้านศักยภาพการท่องเที่ยว (Potential) 2) จัดทำยุทธศาสตร์การ
ท่องเที่ยวเชิงอาหาร 3) การกำหนดหรือวางแผนยุทธศาสตร์ 4) การสร้างเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว
ข
เชิงอาหารกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน 5) การพัฒนาสินค้าและบริการ 6) การส่งเสริมการตลาด
แบรนด์ PR การขาย 7) การสร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหาร 8) การพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐาน
คมนาคม แหล่งท่องเที่ยว แหล่งผลิต บุคลากร 9) การสร้างเครือข่ายภาครัฐ เอกชน ชุมชน ธุรกิจ
นักท่องเที่ยว สื่อ และ 10) การพัฒนาที่ยั่งยืนส่งเสริมท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม ชุมชน
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย รัฐบาลควรมีการสนับสนุนเผยแพร่วัฒนธรรมอาหารไทยเพ่ือ
ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร และสร้างเครือข่ายพันธมิตรการท่องเที่ยวเชิงอาหารกับประเทศ
ในภูมิภาคอาเซียน
abstract:
ค
Abstract
Title Guidelines for Developing the Potential of Food Tourism in Thailand
Field Economics
Name Mrs. Nitta Ratchaiyaboon Nuntakwang Course NDC Class 66
The objectives of study of guidelines for developing the potential of food
tourism in Thailand were to 1) study the food tourism situation in Thailand, 2)
analyze the problems and impacts of food tourism in Thailand, and 3) suggest
guidelines for developing the potential of food tourism in Thailand. Secondary data
was collected from research, academic documents, related literature, and
documents from a collection of articles by relevant experts and primary data was
collected from interviews with tourism operators, food entrepreneurs, tourist, Food
and Drug Administration and the Tourism Authority of Thailand, then analyzed the
data using content analysis, comparative analysis, synthesis of theoretical information
and various principles, and perform statistical analysis. The results of the study could
be summarized as follows:
The research found that the situation of food tourism in Thailand, Thai
food tourism “Travel to eat” was the main objective of tourists. The food and food
culture that was different in each region would attract tourists. The global food
tourism market was growing at an annual average of 1 6 .8 % and was expected to
reach a market value of 1 ,796.5 billion USD by 2027. The main factors that tourists
chose to travel to Thailand were for eating Thai food 91.81%, a variety of tourist
attractions 54.98%, food and drinks 50.61%, and the hospitality of local people
37.45%. The problems and impacts of food tourism in Thailand were as follows: 1)
personnel providing tourism services in Thailand (Language limitations, professional
skills, public consciousness), 2) physical environment (Physical evidence), food
hygiene and quality issues, 3) Thai food service process, 4) lack of policy planning for
commercial tourism food, no concrete goals and policies setting, 5) lack of
continuous integration of the government, private sector, and communities, 6)
increased competition in the tourism industry in the ASEAN region, 7) protracted
political problems within the country, 8) lack of Information about the food tourist
market, 9) lack of standards of food tourism products and services, 10) lack of
marketing promotion, lack of adequate food tourism media and 11) lack of
sustainable development, no the environment considering. Guidelines for developing
the potential of food tourism in Thailand were as follows: 1) developing tourism
ง
potential, 2) creating a food tourism strategy, 3) defining or plan a strategy, 4) creating
a food tourism network with countries in the ASEAN region, 5) developing products
and services, 6) brand and sales promotion, 7) creating a food tourism image, 8)
developing infrastructure, transportation, tourist attractions, production sites,
personnel, 9) creating a sector network of government, private sector, community,
business, tourists, media and 10) sustainable development, locality, environment and
community promotion.
Policy recommendations, the government should support the
dissemination of Thai food culture to promote food tourism and create a network of
food tourism alliances with countries in the ASEAN region.