เรื่อง: อนาคตภาพองค์กรภาครัฐอัจฉริยะสมรรถนะสูงด้วยปัญญาประดิษฐ์รังสรรค์เพื่อให้คำแนะนำประชาชนรายบุคคล,(วปอ.10146)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย นิพพิชน์ นริญปพันธุ์,(วปอ. 10146)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง อนาคตภาพองค์กรภาครัฐอัจฉริยะ สมรรถนะสูง ด้วยปัญญาประดิษฐ์รังสรรค์
(Generative AI) เพื่อให้คำแนะนำประชาชนรายบุคคล
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นายนิพพิชน์ นริญปพันธุ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นท่ี ๖๖
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สังเคราะห์กรอบแนวคิด ศึกษาความต้องการการให้บริการ
ศีกษาความต้องการเชิงนโยบาย เพื่อสร้าง และพัฒนาข้อเสนอแนะอนาคตภาพองค์กรภาครัฐอัจฉริยะ
สมรรถนะสูง ด้วยปัญญาประดิษฐ์รังสรรค์เพื่อให้คำแนะนำประชาชนรายบุคคล ภายใต้การให้บริการ
การจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ ของศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็น
การวิจัยโดยศึกษาแนวคิดหรือหลักในการให้บริการข้อมูลโดยลงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการใช้งานด้วย
ระบบเทคโน โลยีสารสนเทศ จนถึงระบบปัญญาประดิษฐ์ในการจัดการข้อมูลการให้บริการการจัดการ
เรื ่องราวร้องทุกข์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารและจัดการองค์กรภาครัฐให้เป็นองค์กรภาครัฐ
อัจฉริยะสมรรถนะสูง และเสริมการพัฒนาของประเทศไทยอย่างยั่งยืนตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
(พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) โดยยึดถือประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยให้เกิด
ความมั่นคงและความมั่งค่ังของชาติในทุกมิติ โดยดำเนินการวิจัยเชิงนโยบาย (Policy Research) โดย
แบ่งเป็น ๕ ระยะดังนี้คือระยะการสังเคราะห์กรอบแนวคิด ระยะการศึกษาความต้องการการให้บริการ
ระยะการศึกษาความต้องการเชิงนโยบาย ระยะการพัฒนาอนาคตภาพฯ และระยะการพัฒนา
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายอนาคตภาพองค์กรภาครัฐอัจฉริยสมรรถนะสูงด้วยปัญญาประดิษฐ์รังสรรค์
เพื่อการให้บริการคำแนะนำประชาชนรายบุคคล
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า กรอบแนวคิดในการศึกษาความต้องการการและความต้องการ
เชิงนโยบาย แบ่งออกเป็น ๒ ด้าน คือ ด้านแนวคิดที่มุ่งเน้นการพัฒนาองค์กรภาครัฐให้เป็นอัจฉริยะ
และมีสมรรถนะสูงโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์รังสรรค์ (Generative AI) และด้านแนวคิดขององค์กรภาครัฐ
อัจฉริยะสมรรถนะสูงที่ใช้ Generative AI เพื่อให้คำแนะนำประชาชนรายบุคคล โดยอ้างอิงจาก
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ความต้องการของ
ประชาชน พบว่า ประชาชนมีความต้องการและความคาดหวังสูงในการใช้ AI ในการให้คำแนะนำ
โดยเฉพาะในด้านความเร็วในการตอบสนอง ความแม่นยำของคำแนะนำ และการรักษาความปลอดภัย
ของข้อมูล ความต้องการเชิงนโยบาย พบว่า รัฐบาลควรเพิ่มงบประมาณสำหรับการวิจัยและพัฒนา
สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน สถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนา AI ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งให้
ความสำคัญกับการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะบุคลากร การสร้างภาพอนาคต รัฐบาลต้องจัดให้มีการ
รักษาความปลอดภัยของข้อมูลและคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของประชาชนอย่างเข้มงวด และการ
พัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย รัฐบาลต้องมีการปรับปรุงบริการอย่างต่อเนื่องตามคำประเมินของ
ประชาชน พร้อมท้ังรัฐบาลต้องให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และความปลอดภัยของการใช้ AI และต้อง
เร่งสร้างความเช่ือมั่นในเทคโนโลยี AI ผ่านการแสดงผลการใช้งานท่ีเป็นรูปธรรม
abstract:
ข
Abstract
Title The Scenario of High-Performance Intelligent Government
Organizations with Generative Artificial Intelligence to provide
Personalized Citizen Guidance
Feild Science and Technology
Name Mr. Nipphich Narrinpaphandhu Course NDC Class 66
This research aims to synthesize the conceptual framework, study the
service needs, study the policy needs, to create and develop recommendations for the
future image of a high-performance intelligent government organization with generative
artificial intelligence to provide advice to individuals under the service of complaint
management of the Public Service Center, Office of the Permanent Secretary to the
Prime Minister. It is a research by studying the concept or principle of providing
information by detailing the method of use of the information technology system to
the artificial intelligence system in managing the information of complaint management
services to increase the potential of the administration and management of
government organizations to become high-performance intelligent government
organizations and to enhance the sustainable development of Thailand according to
the 20-year national strategic plan (2018-2037) by adhering to the highest benefits of
the country and the people as the main principle, which will help create national
security and prosperity in all dimensions. The policy research is divided into 5 phases
as follows: the conceptual framework synthesis phase, the service needs study phase,
the policy needs study phase, the future image development phase, and the policy
recommendations development phase for the future image of a high-performance
intelligent government organization with artificial intelligence to provide advice to
individuals.
The results of the research revealed that Researcher has synthesized the
conceptual framework into 2 frameworks: the conceptual framework that focuses on
developing government organizations to be intelligent and high-performance by using
Generative AI as the main principle in providing services; and the conceptual framework
ค
of intelligent high-performance government organizations that use Generative AI to
provide individual advice to citizens, referring to the National Strategy (2018-2037), the
strategy for balancing and developing the government management system. The study
of public needs found that citizens have high demands and expectations for the use
of Generative AI to provide individual advice from government organizations, especially
in terms of response speed, advice accuracy, and data security. The policy study found
that the government should increase the budget for AI technology research and
development and create collaboration with the private sector and educational
institutions to develop effective AI. The government should focus on training and
developing personnel skills, by providing training on the use of AI for government
officials and creating a team of AI experts to support operations and service
development. The government must develop a clear regulatory framework for the use
of AI. It must strictly maintain data security and protect citizens’ privacy. The
government must create a system to measure the efficiency and satisfaction of AI users,
with continuous service improvements based on public feedback. The government
must also prioritize communication and education about the benefits and safety of
using AI and must accelerate the creation of confidence in AI technology through
tangible results of use.