Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การนำกระบวนการไต่สวนสาธารณะมาใช้ในการดำเนินคดีเพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการเมือง,(วปอ.10142)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการเมือง/Politics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย นิติพันธุ์ ประจวบเหมาะ,(วปอ. 10142)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การน ากระบวนการไต่สวนสาธารณะมาใช้ในการด าเนินคดีเพื่อเพิ่มความ โปร่งใสในการเมือง ลักษณะวิชา การเมือง ผู้วิจัย นายนิติพันธุ์ ประจวบเหมาะ หลักสูตร วปอ. รุ่นท่ี 66 ปัจจุบันการทุจริตมีแนวโน้มท่ีจะทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกรณีท่ีเกี่ยวข้องกับโครงการของรัฐขนาดใหญ่ท่ีมีผลกระทบต่อประชาชนหรือสาธารณชน เป็นวงกว้างและอาจเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพลหรือนักการเมือง การไต่สวนเพื่อหาข้อเท็จจริงหรือ หาพยานหลักฐานจึงจ าเป็นต้องมีวิธีการพิเศษท่ีเพิ่มขึ้นจากการไต่สวนในรูปแบบท่ัวไป เ พื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการตรวจสอบ การด าเนินคดี และเพิ่มความเช่ือมั่นต่อกระบวนการ ยุติธรรมในการด าเนินคดีกับผู้กระท าความผิด รวมถึงเพิ่มความโปร่งใสในการเมือง ดังนั้น นานา ประเทศได้น ากระบวนการไต่สวนสาธารณะ (Public Inquiry/Public Hearing) มาปรับใช้กับการ ไต่สวนในกรณีเหตุพิเศษอันหนึ่งอันใดเป็นการเฉพาะ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การน าหลักการไต่สวนสาธารณะ มาปรับใช้กับกระบวนการไต่สวนคดีทุจริตของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และเสนอแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุงพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 หรือกฎหมายท่ีเกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มเติมกระบวนการไต่สวนสาธารณะในการด าเนินคดีทุจริต วิธีการศึกษาเป็นจการศึกษาเอกสาร โดยศึกษา รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล จากเอกสาร บทความ กฎหมาย ผลงานวิจัยท้ังจากไทยและต่างประเทศท่ีเกี่ยวข้องกับการไต่ สวนสาธารณะ ตลอดจนศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษาการไต่สวนสาธารณะของต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่าการไต่สวนสาธารณะได้ถูกน ามาใ ช้ในหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และแคนาดา โดยเฉพาะในคดีท่ีเป็นอาชญากรรมร้ายแรงท่ีได้ส่งผล กระทบต่อสาธารณะ และประชาชนให้ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีทุจริต เนื่องจากเห็นว่า การไต่สวนสาธารณะถือเป็นกลไกส าคัญในการด าเนินคดีทุจริตเพื่อส่งเสริมความโปร่ งใสในการ ด าเนินงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการสืบสวนสอบสวน ตลอดจนลดทอนอ านาจของผู้มีอิทธิพล งานวิจัยช้ินนี้ เห็นว่าประเทศไทยควรมีการปรับปรุงแก้ไขหน้าท่ีและอ านาจของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 อาจก าหนดให้มีการไต่สวนสาธารณะในคดีเรื่องใด เรื่องหนึ่งในการไต่สวนข้อเท็จจริงท้ังหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใด โดยพิจารณาถึงเหตุผลและความ จ าเป็นดังนี้ ความร้ายแรงของลักษณะความผิดและผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ประโยชน์ของ การเปิดเผยสู่สาธารณะ และการคุ้มครองสิทธิของบุคคลและผลกระทบต่อรูปคดี

abstract:

ข Abstract Title The use of public inquiry processes in legal proceedings to enhance transparency in politics. Field Politic Name Mr. Nitiphan Prachuabmoh Course NDC Class 66 In recent years, corruption trends have intensified and become more complex, particularly in cases involving large government projects that have a significant impact on the public or politics. The inquiry to find facts and evidence necessitates the use of specialized techniques beyond the general inquiry in order to improve efficiency and transparency in inquiries and prosecutions, increase confidence in the justice system in prosecuting offenders, and also increase political transparency. As a result, many countries have implemented the public inquiry to adapt inquiries in specific special circumstances. The objective of this study is to study and analyses the principle of the public inquiry and proposed guidelines for amending and enhancing the Organic Act on Anti-Corruption B.E. 2561 (2018), or related regulations to incorporate public inquiry into corruption case inquiry. The methodology is document research, including studying, information gathering, articles, regulations, and research that relates to the public inquiry. Additionally, the methodology involves the study and analysis of case studies related to public inquiries. The study has indicated that the Australia, the United Kingdom, and Canada use public inquiry, particularly in serious crimes that have a public impact and people's interest, especially in corruption cases. This is due to the fact that the public inquiry appears to be a crucial mechanism in prosecuting corruption cases, as it enhances the efficiency of the inquiry, promotes transparency, and diminishes the influence of influential persons. This research suggests that Thailand should revise the duties and powers of the NACC under the Organic Act on Anti-Corruption, B.E. 2561 (2018). A public inquiry should be conducted in a specific case or a subset of cases, considering factors such as the severity of the offense, its impact on the public, the benefits of public disclosure, the protection of individual rights, and the impact on the case.