Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: มาตรการทางกฎหมายไทยในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายประเทศญี่ปุ่น,(วปอ.10141)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการเมือง/Politics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย นิติธร วงศ์ยืน,(วปอ. 10141)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง มาตรการทางกฎหมายไทยในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุศึกษาเปรียบเทียบ กฎหมายประเทศญี่ปุ่น ลักษณะวิชา การเมือง ผู้วิจัย นายนิติธร วงศ์ยืน หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66 โดยที่ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แต่ยังไม่มีกฎหมายที่ชัดเจน สำหรับการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาหลายประการสำหรับนายจ้างและลูกจ้าง อาทิ ปัญหาการขาดแคลนประชากรที่อยู่ในวัยทำงาน ปัญหางบประมาณของรัฐบาลในการจ่ายเงินบำนาญ ผู้สูงอายุ หรืองบประมาณด้านการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่สูงเกินไป เป็นต้น ขณะเดียวกัน การที่ ไม่มีมาตรการในการจ้างงานต่อหลังเกษียณอายุภาคบังคับ ยังก่อปัญหาและความยากลำบากแก่ ลูกจ้างผู้สูงอายุที่ยังมีสภาพร่างกายพร้อมทำงานแต่ต้องเกษียณอายุตามข้อบังคับของบริษัทหรือตาม กฎหมาย โดยเป็นการยากที่แรงงานผู้สูงอายุจะหางานทำได้หลังจากพ้นกำหนดเกษียณแล้ว เนื่องจาก แรงงานกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีค่าจ้างค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานหนุ่มสาว นอกจากนี้ การที่ไม่มี กฎหมายหรือมาตรการเฉพาะทางด้านแรงงานในการคุ้มครองแรงงานสูงอายุ ส่งผลให้แรงงานผู้สูงอายุ ซึ ่งมีสภาพร่างกายที่อาจไม่สมบูรณ์แข็งแรงเท่าแรงงานทั่วไป คงต้องทำงานภายใต้เงื ่อนไขหรือ ความคุ้มครองเช่นเดียวกันกับแรงงานทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระยะเวลาการทำงาน ระยะเวลาพัก ลักษณะหรือประเภทของงานที่แรงงานสูงอายุห้ามทำ รวมถึงสภาพแวดล้อมความปลอดภัยและ อาชีวอนามัยในที่ทำงาน ดังนั้น งานวิจัยฉบับนี้จึงทำการเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับ การจ้างแรงงานผู้สูงอายุของประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการบัญญัติ กฎหมายและกำหนดมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยเฉพาะในประเด็นเกี ่ยวกับ อายุเกษียณภาคบังคับที ่เหมาะสม มาตรการในการจ้างงานต่อ หลังเกษียณอายุ และมาตรการเฉพาะทางด้านแรงงานในการคุ้มครองแรงงานผู้สงอายุในด้านอื่นๆ ที่เก่ียวข้อง

abstract:

ข Abstract Title Thai legal measures for hiring elderly workers, comparative study Japanese law Field Politics Name MR.Nitithorn Wongyuen Course NDC Class 66 Although Thailand is rapidly aging, there is no specific legal framework for the employment of older employees, this has created a number of legal problems for Thai employers and employees. For examples, workforce shortage, pension insolvency and too high healthcare budget for the elderly. Without any clear legal provisions, many older employees are difficult to find any job after reaching a company’s mandatory retirement age. In addition, they shall comply with the same legal protections as the general employees in terms of work hours, rest periods, prohibited kinds of work, and occupational safety and health in the workplace is unsuitable for many older people. Therefore, developing and implementing a legal framework to specifically deal with the employment of older employees is importance to minimize these problems. For these reasons, this research conducts a comparative analysis of Japanese laws in order to find potential legal frameworks for Thailand’s older employees and examine suitable retirement ages, secure re-employment measures, and special protection for older employees. Finally, this research proposes a model legal framework for Thailand’s older employees, which includes the types of legislations needed and implementation strategies.