Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาประสิทธิภาพภารกิจการอพยพคนไทยออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยในต่างประเทศ,(วปอ.10138)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย นฤชัย นินนาท,(วปอ. 10138)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง การพัฒนาประสิทธิภาพภารกิจการอพยพคนไทยออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย ในต่างประเทศ ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นายนฤชัย นินนาท หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๖ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อ ความสำเร็จของภารกิจการอพยพคนไทยออกจากพื้นที่เสี ่ยงภัยในต่างประเทศ เพื่อเสนอแนวทาง ในการพัฒนาประสิทธิภาพของภารกิจอพยพคนไทยออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยในต่างประเทศและบริหาร จัดการความเสี่ยงจากปัญาและอุปสรรคที่ผ่านมา และเพื่อให้เกิดการบูรณาของภารกิจการอพยพ คนไทยออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยในต่างประเทศระหว่างกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานไทย ที่เกี ่ยวข้อง โดยกำหนดเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายและข้อเสนอทางปฏิบัติ ขอบเขตของการวิจัย จะครอบคลุมการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ รวมทั ้งกระบวนการปฏิบั ต ิงานที ่ส ่งผลต่อความสำเร็จ ในการให้ความช่วยเหลือคนไทย โดยมีระยะเวลาเริ่มการศึกษาวิจัยตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ (รวมระยะเวลา ๘ เดือน) กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหาร ระดับสูง กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน และกลุ่มประชาชนที่เคยได้รับความช่วยเหลือ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลมีการออกแบบแบบสัมภาษณ์เพื ่อใช้ในการศึกษาภาคสนาม (Field Study) และ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล (In – Depth Interview) การวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล ประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุปในการวิจัยเชิงคุณภาพและ การวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) ผลการวิจัย พบว่า คณะทำงานศูนย์ประสานงานฉุกเฉิน (Rapid Response Center) ภายใต้ศูนย์ประสานงานฉุกเฉิน Rapid Response Center (RRC) มีบทบาทหน้าที่ในการติดตาม ประเมิน และวิเคราะห์สถานการณ์ฉุกเฉินหรือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ กระบวนการปฏิบัติงาน ในภารกิจอพยพคนไทยออกจากพื ้นที ่เส ี ่ยงภัยในต่างประเทศ และการบริหารจัดการความเส ี ่ยง สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ได้จัดทำแบบสอบถาม แจ้งความประสงค์เดินทางกลับไทยของ แรงงานไทยในอิสราเอล เปิดศูนย์พักพิงรองรับคนไทย รวมทั้งได้ส่งเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวไปช่วยปฏิบัติภารกิจอพยพคนไทยออกจากอิสราเอล การบูรณาการภารกิจอพยพ คนไทยออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยในต่างประเทศระหว่างกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานไทย ที่เกี่ยวข้องในช่วงปฏิบัติภารกิจการอพยพคนไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดประชุมเตรียมการและ หารือในประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจเป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และ ผ ู ้ม ีอำนาจในการตัดสินใจและสั ่งการทั ้งฝ ่ายการเม ืองและผู ้บร ิหารกระทรวงต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับภารกิจการอพยพคนไทยออกจากอิสราเอล ข้อเสนอแนะการจัดทำและซักซ้อม แผนอพยพ โดยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องซักซ้อมแผนอพยพร่วมกันและให้มีการปรับปรุงให้แผน เป็นปัจจุบันทุกปี และควรมีการประชุมศูนย์ประสานงานฉุกเฉิน (Rapid Response Center -RRC) เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

abstract:

ข Abstract Title Improving the efficiency of missions to evacuate Thai citizens from high-risk areas abroad. Field Social – Psychology Name Mr. Naruchai Ninnad Couse NDC Class 66 This research aims to study the problems and obstacles affecting the success of evacuating Thai citizens from high-risk areas abroad. It seeks to propose strategies for improving the efficiency of these evacuation missions and managing risks from past issues. The study will involve factors influencing the success of assisting Thai nationals, with a timeline from October 2023 to May 2024. Target groups include senior executives, operational staff, and citizens who have received assistance. Data will be collected through interviews and field studies, with qualitative analysis and document analysis. Findings indicate that the Rapid Response Center (RRC) plays a critical role in monitoring and assessing emergency situations abroad. The Royal Thai Embassy in Tel Aviv has initiated surveys and set up shelters for Thai workers wishing to return, emphasizing collaboration among relevant agencies to ensure effective evacuation operations. It is recommended that all agencies regularly practice and update evacuation plans and hold ongoing meetings at the Rapid Response Center.