เรื่อง: แนวทางการบริหารกลยุทธ์การรับซื้ออ้อยของโรงงานน้ำตาลเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับประเทศไทย,(วปอ.10133)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย นพพร ว่องวัฒนะสิน,(วปอ. 10133)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เร่ือง แนวทางการบริหารกลยุทธ์การรับซื้ออ้อยของโรงงานน้ำตาลเพื่อสร้าง
สิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับประเทศไทย
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นายนพพร ว่องวัฒนะสิน หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
การศึกษาเรื่อง แนวทางการบริหารกลยุทธ์การรับซื้ออ้อยของโรงงานน้ำตาลเพ่ือสร้าง
สิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพ่ือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์การผลิตอ้อยของ
ประเทศไทยและกลยุทธ์การรับซื้ออ้อยของโรงงานน้ำตาล 2) วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคและผลกระทบ
ที่เกิดขึ้นจากการรับซื้ออ้อยของโรงงานน้ำตาล และ 3) เสนอแนะแนวทางการบริหารกลยุทธ์การรับ
ซื้ออ้อยของโรงงานน้ำตาลเพ่ือสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับประเทศไทย โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ
จากงานวิจัย เอกสารทางวิชาการและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นเอกสารจากประมวลกฎหมาย
และบทความของผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกเกษตรกรผู้ผลิตอ้อย
โรงงานน้ำตาล และภาคราชการที่เกี่ยวข้องกับอ้อยโรงงาน และจากการสอบถามเกษตรกรผู้ผลิตอ้อย
โรงงานน้ำตาล และภาคราชการที่เกี่ยวข้องกับอ้อยโรงงาน จำนวน 200 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์เปรียบเทียบ และสังเคราะห์ข้อมูลทฤษฎี
หลักการต่างๆ และวิเคราะห์ทางสถิติ
ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์การผลิตอ้อยของประเทศไทยมีการผลิตอ้อยโรงงาน
ปี 2566/67 คาดว่าจะมีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 8.99 ล้านไร่ ผลผลิต 79.85 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 8.88 ตัน
เกษตรกรมีการเก็บเกี่ยวอ้อยโดยการใช้คนตัด ใช้รถตัด และการเผา ในปี 2565/66 มีต้นทุนรวม
12,140.47 บาทต่อไร่ ต้นทุนต่อตัน 1,052.03 บาท และผลผลิต เฉลี่ย 11.54 ตันต่อไร่ และกลยุทธ์
การรับซื้ออ้อยของโรงงานน้ำตาลพบว่า มีขั้นตอนการรับซื้ออ้อยของโรงงานน้ำตาลมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริม
ตามจุดส่งเสริมต่างๆ เจ้าหน้าที่ของโรงงานน้ำตาลจะดูแลตั้งแต่การจดแจ้งพ้ืนที่เข้าโครงการของ
โรงงาน การเข้าไปสำรวจในไร่อ้อย และการดูแลของเจ้าหน้าที่ในช่วงเวลาการปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว
สำหรับการขายอ้อยตามกลยุทธ์พันธสัญญาคิดเป็น 62.5% และกลยุทธ์ใบซื้อขายอ้อย 37.5%
2) ปัญหาอุปสรรคและผลกระทบที่เกิดข้ึนจากการรับซื้ออ้อยของโรงงานน้ำตาลมีดังนี้ (1) การควบคุม
ปริมาณการส่งอ้อยเข้าโรงงาน (2) การควบคุมคุณภาพอ้อยที่เข้าโรงงาน (3) การบริหารคิวรถส่งอ้อย
ระบบการจัดส่งอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาล (4) การขาดแคลนแรงงานในการตัดอ้อย (5) การลดลงของ
พ้ืนที่เพาะปลูกอ้อย (6) ระบบการจัดสรรการใช้รถบรรทุกและเที่ยวการส่งอ้อย และ (7) ปัญหาทาง
กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับระบบการผลิตอ้อย และ 3) แนวทางการบริหารกลยุทธ์
การรับซื้ออ้อยของโรงงานน้ำตาลเพ่ือสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับประเทศไทยมีดังนี้ 1) การแก้ไขปัญหา
คุณภาพอ้อยที่เข้าโรงงาน 2) การแก้ไขปัญหาปริมาณอ้อยเข้าโรงงาน 3) การบริหารคิวรถส่งอ้อย
4) การเพ่ิมช่องทางแปรรูปอ้อย 5) การเพ่ิมผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ 6) การกำหนดมาตรฐานการ
ผลิต 7) การแก้ไขปัญหาการรับซื้ออ้อยโรงงาน และ 8) การแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการผลิต
อ้อย สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและนํ้าตาลทราย (สอน.) ต้อง
ข
ส่งเสริมการเลิกเผาอ้อยและใบอ้อยอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการใช้เครื่องจักรการเกษตรแทนการใช้
แรงงานตัดอ้อย และส่งเสริมการปลูกอ้อยให้ได้มาตรฐานความยั่งยืน
abstract:
ค
Abstract
Title Strategic Management Guidelines of Sugarcane Purchasing by Sugar
Factories to Create a Good Environment for Thailand
Field Science and Technology
Name Mr. Nopporn Wongwattanasin Couse NDC Class 66
The study on the strategic management guidelines of sugarcane
purchasing by sugar factories to create a good environment for Thailand had the
following objectives: 1) to analyze the sugarcane production situation in Thailand and
the sugarcane purchasing strategies of sugar factories; 2) to analyze the problems,
obstacles, and impacts arising from sugarcane purchasing by sugar factories; and 3) to
suggest strategic management guidelines of sugarcane purchasing by sugar factories
to create a good environment for Thailand. Secondary data were collected from
research, academic documents and related literature, both from legal codes and
articles by related experts, and primary data from In-depth interviews with sugarcane
farmers, sugar factories and government sectors related to sugarcane factories, and
from interviews with 200 sugarcane farmers, sugar factories and government sectors
related to sugarcane factories, data were analyzed using content analysis and
comparative analysis, and data was synthesized using various theories, principles and
statistical analysis.
The research found that: 1) the sugarcane production situation in Thailand
was that in 2023 - 2024, expected that the harvested area would be 8.99 million rai,
with a yield of 79.85 million tons and a yield per rai of 8.88 tons. Farmers harvested
sugarcane by labors, using cutting machines, and burning in 2022 - 2023, with a total
cost of 12,140.47 baht per rai, a cost per ton of 1,052.03 baht, and an average yield
of 11 .54 tons per rai. The sugarcane purchasing strategy of the sugar factory found
that there was a process for purchasing sugarcane from the sugar factory with
promotion officers at various promotion points. The sugar factory officers would take
care of everything from the notification of the factory's project area, entering the
sugarcane field survey, and taking care during the planting period until harvest. For
the sale of sugarcane according to the contract strategy, it was 6 2 .5 % and the
sugarcane purchase order strategy was 3 7 .5 ; 2) problems, obstacles and impacts
arising from sugarcane purchasing by sugar factories were as follows: (1) controlling
the quantity of sugarcane delivered to the factory, (2) controlling the quality of
sugarcane entering the factory, (3) management of sugarcane delivery queues and
ง
sugarcane delivery systems to the sugar factory, (4) labor shortages for sugarcane
cutting, (5) reduction of sugarcane cultivation areas, (6) system for allocating the use
of trucks and sugarcane delivery trips and (7) legal problems and law enforcement
regarding the sugarcane production system and; 3 ) the strategic management
guidelines of sugarcane purchasing by sugar factories to create a good environment
for Thailand were as follows: 1) solving the problem of sugarcane quality entering the
factory, 2 ) solving the problem of sugarcane quantity entering the factory, 3 )
managing the sugarcane delivery queue, 4) increasing sugarcane processing channels,
5 ) increasing productivity efficiently, 6 ) setting production standards, 7 ) solving the
problem of sugarcane purchasing and 8 ) solving legal problems regarding sugarcane
production. For policy recommendations, the Office of the Cane and Sugar Board
(OCSB) must promote the sustainable cessation of sugarcane and sugarcane leaf
burning, promote the use of agricultural machinery instead of using labor to cut
sugarcane, and promote sugarcane planting to meet sustainable standards.