เรื่อง: แนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มอุตสาหกรรมอลูมิเนียมแผ่นและเส้นหน้าตัดในประเทศไทยต่อมาตรการ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) ของสหภาพยุโรป,(วปอ.10129)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย ธีรพันธุ์ พิมพ์ทอง,(วปอ. 10129)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มอุตสาหกรรม
อลูมิเนียมแผ่นและเส้นหน้าตัดในประเทศไทยต่อมาตรการ Carbon Border
Adjustment Mechanism (CBAM) ของสหภาพยุโรป
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายธีรพันธุ์ พิมพ์ทอง หลักสูตร วปอ. รุ่นท่ี 66
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. ศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบในทางเศรษฐกิจของประเทศ
จากการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันเพื่อการส่งออกของอุตสาหกรรมอลูมิเนียมไปยังสหภาพ
ยุโรปเนื่องจากมาตรการ CBAM 2. การจัดท าข้อมูลค่ากลางในการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
จากกระบวนการผลิตโดยตรง (Embedded Emission) ของประเทศไทยตามข้อก าหนด CBAM ส าหรับ
กลุ่มอุตสาหกรรมอลูมิเนียมแผ่นและเส้นหน้าตัด ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
3. ข้อเสนอแนะในการเพิ่ มขีดความสามารถในการแข่งขันส าหรับอุตสาหกรรมอลูมิ เนียม
เพื่อการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ในอนาคต ขอบเขตของการวิจัย
ด้านเนื้อหา 1.ศึกษาแนวโน้มผลกระทบทางเศรษฐกิจซึ่งมีต่อกลุ่มอุตสาหกรรมอลูมิเนียมแผ่นและ
เส้นหน้าตัดในสังกัดสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถในการ
แข่งขันเพื่อการส่งออกไปสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย 2. ศึกษาค่าการปลดปล่อยก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตโดยตรง(Embedded emission) ส าหรับอลูมิเนียมแผ่นและ
เส้นหน้าตัด ตามแนวทาง CBAM ร่วมกับทางศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) เพื่อใช้เป็น
ค่ากลางของประเทศไทย 3. ค่าการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตโดยตรง
(Embedded Emission) จะแสดงเฉพาะค่ากลางของผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมแผ่นและเส้นหน้าตัดตาม
แนวทาง CBAM โดยไม่แยกเป็นรายบริษัท ส่วนขอบเขตด้านข้อมูล คือ 1.เฉพาะผู้ประกอบการ
อลูมิเนียมแผ่นท่ีเข้าร่วมโครงการ “การจัดท าฐานข้อมูลด้านส่ิงแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมอลูมิเนียม
เพื่อรองรับมาตรการ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM)” มีจ านวนท้ังส้ิน 4 บริษัท
ซึ่งมีก าลังการผลิตมากกว่า 90 เปอร์เซนต์ของการผลิตโดยรวมท้ังประเทศ และ 2. เฉพาะผู้ประกอบการ
อลูมิเนียมเส้นหน้าตัดท่ีเข้าร่วมโครงการ “การจัดท าฐานข้อมูลด้านส่ิงแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรม
อลูมิเนียมเพื่อรองรับมาตรการ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM)” มีจ านวนท้ังส้ิน
7 บริษัท ซึ่งมีก าลังการผลิตมากกว่า 55 เปอร์เซนต์ของการผลิตโดยรวมท้ังประเทศ วิธีด าเนินการวิจัย
เป็นการออกแบบสอบถามในเชิงลึกผ่าน google form เพื่อให้ได้ความคิดเห็นท่ีหลากหลายจากผู้ถูก
สัมภาษณ์ท้ังภาคเอกชนท่ีได้รับผลกระทบโดยตรงตลอดจนหน่วยงาน หรือภาครัฐท่ีเกี่ยวข้องซึ่งเป็น
ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) และรวมไปถึงข่าวสาร บทความ หนังสือ ส่ิงพิมพ์ และบทสัมภาษณ์ผ่าน
ส่ือท่ีเกี่ยวข้องซึ่งเป็นข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) นอกจากนี้ยังมีการสัมภาษณ์ ภาคเอกชน
ในกลุ่มอุตสาหกรรมอลูมิเนียมท่ีได้รับผลกระทบโดยตรงเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์ของงานวิจัยอีกด้วย
ซึ่งข้อมูลท่ีได้ถูกน ามาประมวลผลโดยใช้ ทฤษฎีการวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) และการวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมและศักยภาพ (SWOT Analysis) ซึ่งน ามาซึ่งการก าหนดกลยุทธ์โดยใช้ TOWS Matrix
ข
ส าหรับผลการวิจัยท าให้ทราบกลุ่มผลิตภัณฑ์เฉพาะและมูลค่าท่ีได้รับผลกระทบ สามารถประเมิน
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านทางใบแสดงสิทธิในการปล่อยก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ (CBAM Certificates) สามารถปรับเปล่ียนกลยุทธ์ด้านการตลาดล่วงหน้าได้
นอกจากนี้ยังทราบแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอีกด้วย ส่วนข้อเสนอแนะ
ในการศึกษาในครั้งต่อไป 1. ควรมีการเพิ่มเติมเรื่องประเภทของอัลลอยด์ให้หลากหลายมากขึ้นและ
เพิ่มจ านวนสมาชิกในการท าข้อมูลกลางเพื่อให้มีน้ าหนักมากขึ้นในส่วนของผลิตภัณฑ์บิลเลต เป็นต้น
2. ควรติดตามขอบเขตการค านวณค่าการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามมาตรการ CBAM ซึ่งมี
การเปล่ียนแปลงค่อนข้างบ่อยรวมทั้งการคิดค่าพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น 3. ขยายขอบเขตไปยังผลิตภัณฑ์
ปลายน้ า เช่น เครื่องยนต์ แอร์รถยนต์ แอร์บ้าน หรือ เครื่องด่ืมบรรจุภัณฑ์ท่ีใช้อลูมิเนียม เป็นต้น จะท า
ให้ประเทศมีข้อมูลค่ากลางท่ีสามารถน าไปอ้างอิงในระดับสากลได้ส าหรับผลิตภัณฑ์ท่ีท าจากอลูมิเนียม
abstract:
ค
Abstract
Title Guidelines For Increasing The Competitiveness Of Industrial Group Of
Aluminum Sheet And Extrusion In Thailand To The Carbon Border
Adjustment Mechanism (CBAM) By European Union's
Field Economics
Name Mr. Teerapun Pimtong Course NDC Class 66
The Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) are part of the
European Green Deal in order to achieve Net Zero within 2050 and this measure will
impact to Thai aluminium industry that export to European Union. This study aims to
study and analyze the Thai economic impact from the loss of competitiveness for
export of the aluminum products to the EU due to the CBAM measure, prepare the
average value of carbon dioxide emissions from the direct production process
(Embedded Emission) of Thailand according to the CBAM requirements for the
aluminum sheet and extrusion industry by collaborating with the National Metal and
Materials Technology Center (MTEC) and recommend how to increase the
competitiveness of the Thai aluminum industry for export to the European Union, the
United States, and Australia in the future. The scope of the research are studying the
trend of economic impacts on the aluminum sheet and extrusion industry under the
Federation of Thai Industries and guidelines for increasing competitiveness for export to
the European Union, the United States, and Australia, studying the carbon dioxide
emissions from the direct production process (Embedded emission) for aluminum
sheet and extrusion according to the CBAM guidelines by collaborating with the
National Metal and Materials Technology Center (MTEC) in order to be the base line of
Thailand. The scope of the data are the aluminum sheet manufacturers who
participated in the project "Establishment of an environmental database of the
aluminum industry group to support the Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM)
measure", 4 companies in total, with a production capacity of more than 90 percent of
the total production in Thailand and aluminum extrusion manufacturers who
participated in the project "Establishment of an environmental database of the
ง
aluminum industry group to support the Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM)
measure", 7 companies in total, with a production capacity of more than 55 percent of
the total production in Thailand. The research method was to design an in-depth
questionnaire via Google Form to obtain diverse opinions from interviewees, both
private sectors directly affected, as well as related agencies or government agencies,
which is primary data, including news, articles, books, publications, and interviews
through related media, which is secondary data. In addition, private sectors in the
aluminum industry group that were directly affected were interviewed for the
completeness of the research. The data were processed using Gap analysis theory and
SWOT analysis, which lead to create the strategy by using TOWS Matrix. The research
results can identify the specific product groups that will get impact from this measure
in term of value, evaluate the cost of carbon dioxide emission fees through carbon
dioxide emission certificates (CBAM certificates) and adjust marketing strategies in
advance. In addition, there are guidelines how to increase competitiveness also. In case
of future studies, should be more types of alloys and increase the number of
members in the central data to gain more weight in the billet product segment, the
calculation scope of carbon dioxide emission values according to the CBAM measure,
which changes quite frequently, including the calculation of electricity costs and
expanding the scope to downstream products such as engines, car air conditioners,
home air conditioners, or beverages packaged that are made of aluminum. This study
will let Thailand to have the base line data that can be used as a reference at the
international level for aluminum products.