Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนทหารของกองทัพบก กรณีศึกษาชุมชนทหารช่าง จ.ราชบุรี,(วปอ.10128)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ธีรพล ศรีเกษม,(วปอ. 10128)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนทหาร ของกองทัพบก กรณีศึกษาชุมชนทหารช่าง จังหวัดราชบุรี ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย พลตรี ธีรพล ศรีเกษม หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน ของชุมชนทหารกองทัพบก กรณีศึกษาชุมชนทหารช่าง จังหวัดราชบุรี เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ สภาพปัญหาและอุปสรรคของการขับเคลื่อนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนทหารช่าง จังหวัดราชบุรี อย่างยั่งยืน และเพื่อเสนอแนวทางขับเคลื่อนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนทหารช่าง จังหวัดราชบุรี จากการลดก๊าซเรือนกระจก การลดของเสียที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ ของเสียปนเปื้อนและของเสียอันตรายในชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งกาหนดระเบียบวิธีวิจัยไว้เป็น 2 รูปแบบ คือ (1) การวิจัยเอกสาร โดยการศึกษาและรวบรวมแนวคิดทฤษฎี จากเอกสาร งานวิจัย ตารา บทความวิจัย และบทความทางวิชาการต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกาหนดกรอบโครงร่างของงานวิจัย (2) การวิจัยภาคสนาม เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกรมการทหารช่าง ฝ่ายเสนาธิการกรมการทหารช่าง ผู้บังคับหน่วยทหารช่าง กรมการทหารช่าง และผู้นาชุมชนรอบชุมชนทหารช่าง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนทหาร ของกองทัพบก กรณีศึกษาชุมชนทหารช่าง จ.ราชบุรี ซึ่งข้อมูลที่ได้หลังจากการสอบสัมภาษณ์เชิงลึก จะรวบรวมนามาวิเคราะห์และสรุปผลตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย และผลการวิจัยพบว่า แนวทางการขับเคลื่อนการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนทหารช่าง จ.ราชบุรี ประกอบด้วยแนวทางดังต่อไปนี้ คือ (1) การจัดการขยะมูลฝอย โดยมีคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมคือกาลังพลเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนในการลดปริมาณขยะจากแหล่งกาเนิด การคัดแยกขยะ และการนาขยะไปใช้ประโยชน์สูงสุดก่อนจะนาไปทิ้ง (2) การจัดการน้าเสีย มีการตั้งคณะกรรมการและอาสาสมัครจากกาลังพลในชุมชนเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนมีวิธีการเก็บขยะที่ตกค้างในน้า และการใช้น้าหมักชีวภาพในการปรับสภาพน้า และ (3) การจัดการเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยกาลังพลในชุมชนเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการจัดตั้งโครงการขยะแลกต้นไม้ และธนาคารต้นไม้ ภายใต้หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Model) ซึ่งประกอบไปด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio economy) โดยการบริหารจัดการคัดแยกขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพและการจัดการน้าเสีย ทาน้าหมักชีวภาพนาไปต่อยอดทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างมูลค่า เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่คานึงถึงการนาวัสดุและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วกลับมารีไซเคิลหรือกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เป็นการรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล เช่นการปลูกต้นไม้บริเวณ ที่พักอาศัย เพิ่มพื้นที่สีเขียวรอบชุมชน เพื่อช่วยลดปัญหาโลกร้อนที่มีสาเหตุมาจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มมากขึ้น

abstract:

Abstract Title Environmental Management Guidelines for Military Communities: A Case Study of the Royal Thai Army's Engineering Community in Ratchaburi Province Field Science Technology Name Major General Terapon Srikasem Course NDC Class 66 This research aims to investigate the guidelines for implementing environmental management within the Royal Thai Army Community, focusing on the Engineering Soldier Community in Ratchaburi Province. The study analyzes the challenges and obstacles in achieving sustainable environmental management in this community. Additionally, it proposes strategies to drive environmental management by reducing greenhouse gases, minimizing packaging waste, and managing contaminated and hazardous waste sustainably. The research methodology comprises two main approaches: (1) Documentary Research, which involves studying and collecting theoretical concepts from documents, research papers, textbooks, and academic articles to inform the research framework. (2) Field Research involves collecting data through questionnaires and in-depth interviews with senior commanders, Engineering Soldier Department staff, Engineering Soldier Unit commanders, and community leaders around the Engineering Soldier Community. The data collection includes an in-depth interview form focusing on the guidelines for driving environmental management in the Royal Thai Army’s military community, specifically the Engineering Soldier Community in Ratchaburi Province. The data from in-depth interviews will be analyzed to develop actionable recommendations for sustainable environmental management. The researcher collected data to analyze and summarize the results according to the research objectives. The findings revealed that the guidelines for driving environmental management in the Engineering Military Community, Ratchaburi Province, consisted of the following: (1) Waste management, with the environmental committee, composed of personnel, serving as the primary mechanism to drive waste reduction at the source, waste separation, and maximum utilization of waste before disposal. (2) Wastewater management, with the establishment of a committee and volunteers from the community personnel as the primary mechanism to manage residual waste collection in water and use bio-fermented water to improve water conditions. (3) Green space management, with