เรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการเงินเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Transition Finance) โดยระบบธนาคารไทย,(วปอ.10125)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย ธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์,(วปอ. 10125)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการส่งเสริมการเงินเพื ่อการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ
(Transition Finance) โดยระบบธนาคารไทย
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
เอกสารวิจัยฉบับนี้มุ่งหวังที่จะวิเคราะห์บทบาทที่เหมาะสมของภาคการเงิน รวมถึง
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ
เพ่ือนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการวางกรอบนโยบายที่มีประสิทธิผลที่สุดภายใต้ข้อจำกัดปัจจุบัน
ขอบเขตด้านเนื้อหาของบทวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์ภาวะแวดล้อมและข้อจำกัดของ
ประเทศไทย โดยทำการวิเคราะห์ทางเลือกที่เป็นไปได้และเสนอแนะทางเลือกนโยบายที่เหมาะสม
ที่สุดจากการเปรียบเทียบประโยชน์ ต้นทุน และความเสี่ยงในภาวะแวดล้อมปัจจุบัน สำหรับขอบเขต
ด้านประชากรเพื่อการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ได้แก่ ผู้บริหารจากหน่วยงาน
ราชการ ธนาคารพาณิชย์ และ ธปท. ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อนำมาสู่ข้อสรุปข้อเสนอแนวทางการ
ส่งเสริม transition finance ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีความชัดเจน มีความคุ้มค่าและ
สามารถนำไปปฏิบัติเห็นผลได้จริงในบริบทประเทศไทย
จากการวิเคราะห์ทางเลือกนโยบายในการส่งเสริม transition finance โดยคำนึงถึง
ประโยชน์ ต้นทุน และความเสี่ยงในภาวะแวดล้อมปัจจุบัน พบว่า สำหรับการกำหนดเป้าหมายให้
สถาบันการเงินร่วมผลักดัน transition finance ควรเริ่มจากภาคเศรษฐกิจที่มีนัยสำคัญต่อความเสี่ยง
ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) โดยต้องเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีความพรอ้ม
และมีความสำคัญต่อพอร์ทโฟลิโอของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ดีในระยะยาว ธปท. ควรมีกรอบและ
ทิศทางนโยบายที่ชัดเจน เพื่อส่งเสริมให้สถาบันการเงินทำ transition plan ครบทุกภาคเศรษฐกิจ
และผลักดันให้สถาบันการเงินเสนอผลิตภัณฑ์ด้าน transition finance ได้อย่างตรงจุดและเป็น
รูปธรรม ในขณะที่การสร้างระบบนิเวศน์เพ่ือให้เอ้ือต่อการสนับสนุน transition finance ในช่วงเปลี่ยน
ผ่านนี้ ควรประกอบด้วย 1. การพัฒนาระบบข้อมูล การคำนวณ และการรายงานค่าคาร์บอนหรือก๊าซ
เรือนกระจก รวมถึงการกำกับดูแล platform จากทางหน่วยงานกลางหรือภาครัฐที่เกี ่ยวข้อง เช่น
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) เพื่อลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูล ส่วน
ภาคเอกชนและภาคการเงินสามารถร่วมกับ อบก. เพื่อพัฒนาต่อยอดตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการเพ่ือ
ส่งเสริมการแข่งขันในตลาดซึ่งจะนำไปสู่บริการที่ดีขึ้นและราคาที่ถูกลง 2. การพิจารณาปรับปรุงขยาย
ขอบเขตธุรกิจของสถาบันการเงินให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อสนับสนุนการปรับตัวของ
ภาคธุรกิจและส่งเสริมการพัฒนาตลาด transition finance ควบคู่ไปกับการกำกับดูแลความเสี่ยง
อย่างเหมาะสม โดยขอบเขตท่ีขยายอาจรวมถึงธุรกิจให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำผู้ขาย และการประเมิน
ค่าก๊าซเรือนกระจก 3. การกำหนดนโยบายธนาคารกลางในการสร้างแรงจูงใจที่เอื้อต่อการสนับสนุน
transition finance ผ่านเครื่องมือต่าง ๆ เช่น การกำหนดนโยบายที่กำหนดให้สถาบันการเงินต้อง
คำนึงถึงโอกาสและความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ประกอบการจัดทำ transition
ข
plan รวมถึงร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการสร้างระบบพื้นฐาน เช่น Thailand Taxonomy และ
ระบบการวัดและรายงานคาร์บอน/ก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนเป็นตัวกลางเชื่อมโยงภาคธุรกิจกับ
หน่วยงานที่มีบทบาทในการให้มาตรการจูงใจ เช่น บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
(บสย.) และองค์กรการเงินระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ การผลักดันให้ประเทศไทยเข้าสู ่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน และภาคธุรกิจ
สามารถปรับตัวได้อย่างทันการณ์ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังได้นั้น ต้องอาศัยวิสัยทัศน์ร่วมและความ
ร่วมมือบูรณาการจากทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคการเงิน
abstract:
ค
Abstract
Title Policy framework on promoting transitions to low-carbon
economy (transition finance) by Thailand’s banking system.
Field Economics
Name Mr.Tharith Panpiemras Course NDC Class 66
This research aims to analyse the appropriate role of Thailand’s banking
sector, including the Bank of Thailand (BOT), as the main regulator, in driving
Thailand's transition toward the low-carbon ecomomy. It provides recommendations
on the most effective policy framework under current constraints.
The scope of the paper includes an analysis of Thailand's environment
and its limitations. It analyses possible policy options and recommends the most
appropriate policy options based on the comparison of benefits, costs and risks. This
paper is a qualitative research that gathers in -dept views from executives of
government agencies, commercial banks, and the BOT.
Based on the analysis, it recommends that financial institutions should
start from promoting economic sectors that are under significant threats from climate
changes. They must also be economic sectors that are ready for transitions, in term
of resources and capabilities and must be significant in size relative to portfolios of
banks. However, in the long run, the BOT should put in place a clear policy direction
to encourage banks to create transition plans for all economic sectors and to
encourage banks to offer transition finance products. The BOT must also create a
supportive ecosystem in order to foster transition finance by putting in place
necessary infrastructures as follows. 1. Enhancing capabilities of the national platform
for collecting, measuring and reporting greenhouse gas data (currently developped by
the Thailand Greenhouse Gas Management Organization,TGO). The private sector and
the financial sector can work with the TGO to further enhance the current features to
fit their needs. In addition, they can also develop or use third-party platforms in order
to promote competitions in the market, which will lead to better services at lower
prices. 2. Expanding the business scope of banks to facilitate the access of transition
finance by the real sector. The potential new services may include ESG advisory,
vendor referral and GHG data collection and reporting. 3. Creating incentives to
support transition through various tools such as requiring financial institutions to
integrate opportunities and risks arising from ESG issues into their corporate strategies.
The BOT can also collaborate with various agencies in developping infrastructures
ง
such as the Thailand’s green taxonomy and the greenhouse gas measurement and
reporting system, as well as acting as an intermediary to connect the real sector with
agencies that play key roles in providing incentives, such as the Thai Credit Guarantee
Corporation (TCG) and major international finance organizations.
In order for Thailand to transition toward a sustainable low-carbon
economy in a timely manner while leaving no one behind, it requires that all relevant
parties, including government agencies. real sector and financial sector have common
visions and work closely with each other.