Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: ศึกษาปัญหาการบังคับให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทำผิดละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่หน่วยงานของรัฐ,(วปอ.10124)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการเมือง/Politics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย ธานินทร์ ประดิษฐ,(วปอ. 10124)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง ศึกษาปัญหาการบังคับให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่หน่วยงานของรัฐ ลักษณะวิชา การเมือง ผู้วิจัย นายธานินทร์ ประดิษฐ หลักสตูร วปอ. รุ่นที่ ๖๖ งานวิจัยมีวัตถุประสงค์คือ ๑. เพ่ือศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาในการ ดำเนินการบังคับกับเจ้าหน้าที่อันเนื่องมาจากการกระทำละเมิด ไม่ว่าจะเป็นกรณีกระทำละเมิดต่อ บุคคลภายนอกหรือหน่วยงานโดยศึกษาถึงหลักการ แนวคิด ทฤษฎี หลักกฎหมาย กฎ ระเบียบต่างๆ รวมถึงมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ๒. เพ่ือศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับ การพิจารณาทางปกครองในการดำเนินงานเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการ บังคับให้เป็นไปตามกฎหมายได้แก่ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ๓. เพ่ือ เสนอแนะแนวทางการปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณา เพ่ือออก คำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์ การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ตลอดจนมาตรการในการบังคับ ให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยมีระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการ สูงสุดที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งก็คือสำนักวินัยและระบบคุณธรรม ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักวินัยและระบบคุณธรรม นิติกรที่เป็นหัวหน้างาน และนิติกรผู้ปฏิบัติงาน โดยการ สัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินการด้านความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และการ บังคับให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการทำละเมิด รวมถึงแนวทางหรือข้อเสนอแนะในการ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานดังกล่าว และการเก็บข้อมูลผ่าน Google Form จากกลุ่มข้าราชการ ทั่วไปในสำนักงานอัยการสูงสุด จำนวน ๒๐ ตัวอย่าง ตามที่ได้มีพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ออกใช้บังคับ โดยกำหนดให้หน่วยงานของรัฐตามความหมายของพระราชบัญญัติและ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว จะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไปนั้น ผลการวิจัยพบว่า ยังคงมีหน่วยงานของรัฐหลายแห่งไม่ได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์ การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐที่ เป็นราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา รวมทั้ง ข หน่วยงานของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ กล่าวคือ เมื่อเกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐก็มิได้ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด หรือเมื่อสอบสวนเสร็จแล้วก็มิได้ส่ง สำนวนการสอบสวนไปให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ ทำให้ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และระเบียบดังกล่าว นอกจากนี้ยังพบปัญหาในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในแต่ละข้ันตอน ไม่ว่าจะ เป็นขั้นตอนการดำเนินการก่อนออกคำสั่งทางปกครอง รวมไปถึงขั้นตอนการใช้สิทธิเรียกร้องของ หน่วยงานรัฐในการดำเนินการเพื่อให้ได้รับค่าสินไหมทดแทน ซึ่งแม้ว่าพระราชบัญญัติความรับผิดทาง ละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติ เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ จะใช้บังคับมานานแล้ว แต่หน่วยงานของ รัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐจำนวนมากยังไม่เข้าใจถึงหลักการของกฎหมายดังกล่าวอย่างถ่องแท้ เป็นเหตุ ให้มีการฟ้องคดีปกครองในเรื่องความรับผิดทางละเมิดมาอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐจะต้องศึกษาความรู้ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้เพ่ือลดความ ผิดพลาดที่อาจเกิดข้ึนจากการปฏิบัติหน้าที่ การวิจัยเรื่องศึกษาปัญหาการบังคับให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่หน่วยงานของรัฐนี้ ทำให้ทราบถึงมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการทางกฎหมายใน เรื่องความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพิจารณาทางปกครองใน ขั้นตอนการเตรียมการของเจ้าหน้าที่เพ่ือออกคำสั่งทางปกครอง เพ่ือนำมาปรับใช้กับการปฏิบัติงาน เรื่องดังกล่าว ทำให้หน่วยงานของรัฐมีคู่มือในการปฏิบัติงานด้านความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ส่งผลทำให้สามารถดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้รวดเร็ว และได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากการ กระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีผลทำให้สังคม ชุมชน และประเทศชาติได้รับประโยชน์ทางอ้อมจาก การที่มีเงินเพ่ิมเข้ามาในระบบการเงินการคลังของประเทศ ทำให้มีรายได้ไปพัฒนาในด้านอ่ืนๆ ต่อไป

abstract:

ค Abstract Title Study the issues of law enforcement against officials who have committed wrongful acts to compensate the state agencies. Field Politics Name Mr. Tanin Pradit Course NDC Class 66 The objectives of the research are: 1) To study the background and significance of issues related to the enforcement against officials due to wrongful acts, whether these acts are against third parties or organizations. This includes examining principles, concepts, theories, laws, regulations, and legal measures related to these issues. 2) To study and analyze the problems associated with administrative considerations in handling the liability for wrongful acts of officials. This includes ensuring compliance with relevant laws such as the Act on Liability for Wrongful Act of Officials, B.E. 2539 (1996), the Administrative Procedure Act, B.E. 2539 (1996), and the Regulations of the Office of the Prime Minister on the Criteria for Handling the liability for wrongful act of officials, B.E. 2539 (1996). 3) To propose guidelines for improving and amending laws and criteria related to administrative considerations for issuing orders requiring officials to pay compensation, in accordance with the Regulations of the Office of the Prime Minister on the Criteria for Handling the liability for wrongful act of officials, B.E. 2539 (1996), as well as measures of law enforcement through quality research regulation, studying relevant documents and research, as well as conducting in-depth interviews from representative sample of practitioners in the Office of the Attorney General who are involved with liability for wrongful act; namely, the Office of Discipline and Merit System Administration. This includes interviews with the Director of the Office of Discipline and Merit System Administration, legal officers in charge, and practicing legal officers. The interviews focus on opinions regarding issues in handling the liability for wrongful acts of officials and enforcing compensation from such acts, as well as suggestions for resolving issues arising from such practices. Additionally, data is collected through Google Forms from a sample group of 20 civil servants within the Office of the Attorney General. According to the Act on Liability for Wrongful Act of Officials, B.E. 2539 (1996), and the Regulations of the Office of the Prime Minister on the Criteria for Handling the liability for wrongful act of officials, B.E. 2539 (1996), state agencies are required to comply with these laws from the day following their publication in the Royal Gazette. However, research findings indicate that many state agencies still do ง not adhere to these laws, particularly local government agencies and state enterprises established by an act or royal decree, as well as state agencies designated by royal decree under the Act on Liability for Wrongful Act of Officials, B.E. 2539 (1996). When damage occurs to a state agency, they often fail to appoint a fact-finding committee to investigate the liability for wrongful act or upon completion of the investigation, they do not forward the investigation report to the Ministry of Finance for a review. This non-compliance undermines the intendment of the law and regulations. Additionally, issues have been found in the implementation by officials at various stages, from the administrative process prior to issuing administrative orders to the assertion of the state agency’s right to claim compensation. Despite the long-standing enforcement of the Act on Liability for Wrongful Act of Officials, B.E. 2539 (1996), and the associated regulations, many state agencies and officials still do not fully understand the principles of these laws, leading to continuous administrative lawsuits regarding liability for wrongful act. It is therefore essential for officials in state agencies to thoroughly study and understand these laws to minimize errors in their duties. The research on the issues related to enforcing compensation from officials who commit wrongful act reveals the legal measures involved in handling such liabilities, which is a part of the administrative process in preparing officials to issue administrative orders. This can be applied to improve the performance in these matters, providing state agencies with guidelines for handling the liability for wrongful acts of officials. Consequently, this enables quicker resolution and receipt of compensation from officials' wrongful act resulting in society, communities, and the nation indirectly benefit by increasing funds in the national financial system, which can subsequently be utilized for further development in other areas.