Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ของชาติด้วยกำลังพลสำรองชำนาญเฉพาะทาง,(วปอ.10123)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ธาดา กะราลัย,(วปอ. 10123)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ เร่ือง การเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ของชาติด้วยกำลังพลสำรองชำนาญเฉพาะทาง ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลตรี ธาดา กะราลัย หลกัสูตร วปอ. รุ่นที่ 66 การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษานโยบาย ยุทธศาสตร์ และกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง รวมทั้งศึกษาลักษณะงานและหน่วยงานและนำมากำหนดแนวทางการเพ่ิมศักยภาพของกำลัง พลสำรองชำนาญเฉพาะทางให้มีขีดความสามารถในการประกอบอาชีพของตนเอง และสามารถทำหน้าที่ กำลังพลสำรองอย่างมีประสิทธิภาพ มีขอบเขตการศึกษาหน่วยกำลังพลสำรองของสำนักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม โดยมีกลุ่มประชากร จำนวน 3 หน่วยงาน ได้แก่ กรมเทคโนโลยีสารสนเทศ และอวกาศกลาโหม ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ และสำนักงานแพทย์ วิธีดำเนินการเป็นการศึกษาเชิง คุณภาพ (Qualitative Research) ผลการวิจัยพบว่า ตามกรอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในปัจจุบัน ทำให้สามารถนำบุคคลมาเป็นกำลังพลสำรองด้วยวิธีสมัครใจ และการสร้างแรงจูงใจด้านสิทธิ ประโยชน์และสามารถแต่งตั้งยศสูงขี้นได้ การวิจัยพบว่าลักษณะงานและหน่วยงานที่สามารถบรรจุ กำลังพลสำรอง ควรเป็นงานทางด้านวิชาการและสายวิทยาการที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดกลุ่มงาน 5 กลุ่มตามลักษณะงานมีงานสำคัญ คือ งานวิเคราะห์นโยบายและแผน งานด้านกฎหมาย งานด้านการ วิจัยพัฒนาอาวุธ งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและด้านไซเบอร์ และงานด้านการแพทย์ สำหรับ แนวทางการเพิ ่มศักยภาพทุนมนุษย์ของชาติด้วยกำลังพลสำรองชำนาญเฉพาะทาง ได้กำหนด แนวทางในการปฏิบัติเป็น 4 ขั้นตอน คือ การกำหนดความต้องการ การสรรหาและคัดเลือก การใช้ กำล้งพลสำรอง และการดำรงการติดต่อสื่อสารและสร้างเครือข่าย สิ่งจูงใจทีสำคัญ คือการได้รับการ แต่งตั้งยศทหาร และได้รับการดำรงตำแหน่งที่สร้างความภาคภูมใจ และการเพิ่มศักยภาพของกำลัง พลสำรอง เน้นการเร ียนรู ้โดยการปฏิบัต ิงานจริง ( (Work – based Learning ) และมีการจัด นายทหารพี่เลี้ยง รวมทั้งปลูกฝังอุดมการณ์ เสริมสร้างวิชาความรู้ด้านวิชาชีพเฉพาะและวิชาทหาร ด้านทักษะ เน้นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารภายในองค์กร และทักษะการใช้อาวุธประจำ กายและยุทโธปกรณ์ทางทหาร เสริมสร้างลักษณะทหารที่ดี ได้แก่ การรักษาวินัยและความเป็นผู้นำ การมีอุดมการณ์ทหาร ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ควรส่งเสริมบทบาทของคณะกรรมการกำลังพล สำรอง เพื่อผลักดันให้มีการดำเนินการพัฒนากิจการกำลังพลสำรองมุ่งไปสู่การเป็นกำลังพลสำรอง สมัครใจ และเร่งรัดการพิจารณาปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมสิทธิประโยชน์และการยกย่องเชิดชูเกียรติ ของกำลังพลสำรองและนายจ้างให้มีผลเป็นรูปธรรม ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษา พลทหารกองประจำการที่ปลดประจำการแล้วที่มีความรู้ ความสามารถจะมีวิธีการส่งเสริมให้สมัครใจ มาเป็นกำลังพลสำรองชำนาญเฉพาะทางให้ตรงตามความต้องการของตนเองและได้รับการเลื่อนฐานะ ตามชั้นยศท่ีเหมาะสม

abstract:

Abstract Title Increasing the potential of the nation's human capital with specialized reserve personnel. Field Military Name Maj.Gen. Thada Karalaya Course NDC Class 66 This research study has the objective of studying related policies, strategies, and laws. Including studying the nature of work and units and using them to determine guidelines for increasing the potential of reserve personnel with specialized expertise to have the ability to carry out their own careers and be able to perform the duties of reserve personnel effectively. The scope of this study is for reserve personnel units of the Office of the Permanent Secretary for Defense. There are three departments in the population, including the Defense Information and Space Technology Department, the Weapon Production Centre, and the Office of Medical Services. The method used was qualitative research, and the results showed that, according to the current legal framework, people can be recruited as reserve personnel through voluntary means, creating incentives for benefits and being able to appoint higher ranks. Research has found that the nature of the work and the units that can employ reserve personnel should be academic and related to science work. By defining five work groups according to the nature of work, there are important tasks: Policy and plan analysis, legal, weapon research, information technology and cyber, and medical fields. As for the guidelines for increasing the potential of the nation's human capital with specialized reserve personnel, the guidelines for implementation are four steps: requirement, recruit and selection, enlistment and deployment, and maintaining networks. Important incentives include being appointed to a military rank and receiving a position that makes us proud and increases the potential of reserve personnel. The emphasis is placed on learning by doing actual work (Work-based Learning), and military mentors are arranged. In addition, cultivating ideals strengthens knowledge in specific vocational and military subjects and skills, emphasizing information technology, internal communication, and skills in using personal weapons and military equipment. Strengthen good military characteristics, including maintaining discipline, leadership, and military ideology. Policy recommendations should promote the role of the Reserve Personnel Committee in pushing for the development of reserve personnel activities towards becoming voluntary reserve personnel and expediting consideration of improvements, amendments, and additional benefits. and honoring the reserve personnel and their employers to have concrete results. Suggestions for future research You should study retired military personnel who have knowledge. Ability will have a method for promoting volunteers to become reserve personnel with specialized expertise to meet their own needs and be promoted according to the appropriate rank.