Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพสำหรับธุรกิจข้าวในประเทศไทย,(วปอ.10122)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาง ธัญญา รุ่งชาญชัย,(วปอ. 10122)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง แนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธภิาพสำหรับธุรกิจข้าว ในประเทศไทย ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นางธัญญา รุ่งชาญชัย หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66 การศึกษาเรื่อง แนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพสำหรับธุรกิจข้าว ในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพ่ือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบเกี่ยวกับการจัดการห่วงโซ่ อุปทานสำหรับธุรกิจข้าวในประเทศไทย 2) วิเคราะห์โซ่คุณค่าของผู้เกี่ยวข้องในโซ่อุปทานสำหรับ ธุรกิจข้าวในประเทศไทย และ 3) เสนอแนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ สำหรับธุรกิจข้าวในประเทศไทย โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากงานวิจัย เอกสารทางวิชาการและ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่ เป็นเอกสารจากประมวลกฎหมาย และบทความของผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ผลิต โรงสีข้าว และผู้จัดจำหน่าย ภาคราชการที่เกี่ยวข้องกับข้าว และสอบถามผู้บริโภคข้าวทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การวิเคราะห์เปรียบเทียบ สังเคราะห์ข้อมูล ทฤษฎี หลักการต่างๆ และวิเคราะห์ทางสถิติ สรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการห่วงโซ่อุปทานสำหรับธุรกิจข้าวในประเทศ ไทยประกอบด้วย 1) อุปทานข้าวสูงเกินไปในตลาดจากโครงการต่างๆ ของภาครัฐ 2) การขาดแคลน นวัตกรรมในห่วงโซอุปทาน 3) ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของสมาชิกในห่วงโซ่อุปทาน 4) ทัศนคติ ที่มีต่อรัฐบาล 5) ปัญหาด้านการผลิต 6) ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ 7) ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน 8) ปัญหาด้านการสร้างเครือข่ายระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการ 9) ปัญหาด้านการจัดการ 10) ปัญหา ด้านการตลาด 11) ปัญหาด้านการเงินและแหล่งเงินทุนต่ำ และ 12) ปัญหาด้านเทคโนโลยี ส่วนการ ไหลเวียนของข้าวและทรัพยากรตลอดห่วงโซ่อุปทานประกอบด้วย 1) เกษตรกร ถือเป็นสมาชิกต้นน้ำ ของห่วงโซ่อุปทานโดยเกษตรกรจะมีบทบาทในการผลิตข้าวเปลือก 2) โรงสีถือเป็นสมาชิกถัดมาที่มี บทบาทสำคัญในการแปรรูปข้าวเปลือกให้กลายเป็นผลิตผลข้าวเปลือก (ข้าวสาร รำ และแกลบ) 3) อุตสาหกรรม เป็นสมาชิกที่มีบทบาทในการแปรรูปและเพ่ิมมูลค่าให้แก่ผลิตผลข้าวเปลือก (ข้าวสาร ผลิตภัณฑ์จากข้าวสาร และวัตถุคงเหลือจากการสีข้าว) และ 4) การจัดจำหน่าย เกี่ยวข้องกับการ เคลื่อนย้ายผลผลิตข้าวเปลือกให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก สำหรับแนวทางการบริหาร จัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพสำหรับธุรกิจข้าวในประเทศไทยมีดังนี้ 1) สร้างการไหลเวียน ของข้อมูลในห่วงโซ่อุปทาน 2) ยกระดับประสิทธิภาพภายในห่วงโซ่อุปทาน 3) การรวมกลุ่มเกษตรกร ผู้ผลิตข้าว 4) การพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5) บทบาทของภาครัฐ 6) ด้านการจัดการโลจิสติกส์ 7) การ พัฒนาสินค้าเกษตรทางเลือก และ 8) การพัฒนากลุ่มเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการหรือนักแปรรูป ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1) รัฐบาลควรพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่เอ้ือต่อการ พัฒนาธุรกิจข้าว เพ่ือป้องกันการค้าข้าวที่ไม่เป็นธรรม และส่งเสริมการแข่งขันในธุรกิจข้าว และ 2) รัฐบาลควรมีการบูรณาการความร่วมมือโดยมีการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ข และภาคประชาชน พัฒนาเครือข่ายธุรกิจข้าวและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง ผู้ประกอบการธุรกิจข้าว

abstract:

ค Abstract Title Guidelines for Effective Supply Chain Management for Rice Businesses in Thailand Field Economics Name Mrs. Thanya Rungchanchai Couse NDC Class 66 The study of guidelines for effective supply chain management for rice businesses in Thailand aimed to 1) study the problems and impacts of supply chain management for the rice business in Thailand, 2 ) analyze the value chain of those involved in the supply chain for the rice business in Thailand and 3) propose effective supply chain management guidelines for the rice business in Thailand. Secondary data were collected from research, academic documents, and related literature. Even though it was a document from the legal code and articles by related experts and primary data were collected from interviews with farmers, rice mill operators, rice distributors, government sectors related to rice and general rice consumers in Bangkok. Data were analyzed using content analysis and comparative analysis including synthesized theoretical information, various principles, and perform statistical analysis. The results of the study could be summarized as follows: The research found that problems with supply chain management for the rice business in Thailand included: 1 ) the oversupply of rice in the market due to various government projects, 2) lack of innovation in the supply chain, 3) conflicts of interest among members in the supply chain, 4 ) attitudes towards the government, 5) production problems, 6) falling rice prices, 7) labor shortage problems, 8) problems in creating networks between groups of entrepreneurs, 9) management problems, 10) marketing problems, 11) financial problems and low funding, and 12) technology problems. The flow of rice and resources throughout the supply chain consisted of 1) farmer who was considered upstream members of the supply chain, playing a role in the production of paddy, 2) the rice mill operator was the next member that played an important role in processing paddy rice into rice products (rice, bran, and rice husks), 3) industry entrepreneur was member who played a role in processing and adding value to paddy products. (rice, products from rice and materials remaining from rice milling) and 4) distribution, it involved moving the paddy produce so that consumers could easily access it. Guidelines for effective supply chain management for the rice business in Thailand were as follows: 1 ) create information flow in the supply chain, 2 ) raise efficiency within the supply chain, 3 ) unite farmers who ง produce rice, 4) development of technology systems, 5) the role of the government sector, 6) logistics management, 7) development of alternative agricultural products, and 8) development of farmer groups to become entrepreneurs or processors. Policy recommendations: 1 ) the government should develop laws and regulations that facilitate the development of the rice business to prevent unfair rice trade and promote competition in the rice business and 2) the government should integrate cooperation by promoting cooperation between the governmental, private and public sectors and develop rice business networks and promote the exchange of knowledge among rice business operators as well.