เรื่อง: บทบาทของสื่อสังคมต่อเสถียรภาพความมั่นคง,(วปอ.10121)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ธวัชชัย ตั้งพิทักษ์กุล,(วปอ. 10121)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง บทบาทของสื่อสังคมต่อเสถียรภาพความมั่นคงของชาติ
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย พลโท ธวัชชัย ตั้งพิทักษ์กุล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
งานวิจัยเรื่อง บทบาทของสื่อสังคมต่อเสถียรภาพความมั่นคงของชาติ มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาอิทธิพลสื่อสังคมต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมในประเด็นที่เกี ่ยวเนื่องกับความมั ่นคง
และศักยภาพความมั่นคงของประเทศ ศึกษาเหตุและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการขยายตัวของอิทธิพล
สื่อสังคมต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม และพัฒนากรอบแนวคิดในการใช้สื่อสังคม เพื่อขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) โดยมีขอบเขตของการวิจัยในการกำหนดขอบเขตของ
การศึกษาสำหรับสื่อสังคมไว้ 4 แพลตฟอร์ม ได้แก่ Facebook, YouTube, TikTok และ X (Twitter)
เพ่ือพัฒนาแนวคิดการใช้สื่อสังคมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีการนำเสนอแนวคิดในภาพรวม
วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารงานวิจัย และการสัมภาษณ์ผู้ที่มี
ส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องสื่อสังคม
ผลการวิจัยพบว่า สื่อสังคมมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทั้งในระดับมหภาค
และจุลภาค ด้วยเหตุปัจจัยภายในที่เป็นลักษณะจำเพาะของสื่อสังคม และปัจจัยภายนอกที่สื่อสังคม
ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนความคิดและทัศนคติ อีกทั้งประชาชนในประเทศยังขาดทักษะ
ในการคิดวิพากษ์ ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในการแยกแยะชุดข้อมูลในสื่อสังคม
สำหรับข้อเสนอแนะของการวิจัยในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ
ในห้วงต่อไป (ห้วงที่ 2 : พ.ศ.2566 - 2570) ควรยกระดับความสำคัญของสื่อสังคม ตั้งแต่ขั้นการประเมิน
สภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ไปจนถึงแผนการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ
ในขณะเดียวกันภาครัฐจำต้องเร่งปฏิรูปองค์กรเข้าสู่ระบบดิจิทัล เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงาน
และรับฟังเสียงสะท้อนจากประชาชน อีกทั้งต้องสร้างความเชื่อมั่นและเป็นที่พึ ่งหลักให้กับสังคม
โดยอาศัยกระบวนการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันของสังคมเป็นจุดเริ่มต้น เพื่อผสานความต่างด้วย
พลังเชิงบวก รวมทั้งภาครัฐต้องดำเนินการปฏิรูปองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสื่อสังคม เพื่อให้มีหน่วยงาน
ที่รับผิดชอบในการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมอย่างชัดเจน ควบคู่ไปกับการพิจารณากำหนดมาตรการ
ทางกฎหมายและมาตรการทางการปกครอง เพื ่อให้การกำกับดูแลสื ่อส ังคมเป็นไปอย ่างมี
ประสิทธิภาพ และทันต่อการปรับเปลี่ยนที่รวดเร็วของสื่อสังคม
abstract:
ข
Abstract
Title The Impacts of Social Media on National Stability
Field Social - Psychology
Name Lt. Gen. Thawatchai Tangphithakkun Course NDC Class 2023
The research titled “The Impacts of Social Media on National Stability”
aims to investigate how social media influences social changes affecting state stability.
It explores factors contributing to the growing dominance of social media in these
changes and presents social media utilization for the public sector to p romote
Thailand’s 20-year National Strategy (2018-2037).
This qualitative study focuses on four major social media platforms:
Facebook, YouTube, TikTok, and X (formerly known as Twitter). It examines current
events and proposes a governmental model for utilizing social media to advance the
20-year National Strategy. Data were gathered from published sources and interviews
with developers of the National Strategy and social media experts.
According to the study, social media significantly shapes both macro- and
micro-level social changes today due to its unique characteristics and external
influences, such as users using it to alter perceptions of others. This influence of
social media is particularly noticed in Southeast Asia, as most residents in the area
lack advanced critical thinking skills, crucial for identifying disinformation and
misinformation.
In the light of this, the Thai government must concentrate on how to
harness the potential of social media to generate positive changes to the Thai
community. Social media should be considered a critical component of the 20 -year
National Strategy. Meanwhile, Thailand’s public sector is required to adopt digital
transformation to enhance organizational performance, strengthen connections with
citizens, and promote social cohesion among diversity. Furthermore, Thailand should
reconsider the roles and responsibilities of governmental units in relation to social
media and reform digital laws to more effectively govern the virtual community on
social media while grappling with rapid social development.